ครัวประหยัดและปลอดภัย เราทำได้
เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวต้องใช้ให้เหมาะสม
ตู้เย็น
ควรเลือกขนาดที่เหมาะกับปริมาณคนในบ้าน เลือกที่มีความแข็งแรงของโครงสร้างภายใน เช่นชั้นวางของ ช่องใส่น้ำ ไม่นำของร้อนหรืออุ่นเข้าตู้เย็น อย่าใส่ของจนแน่นเกินไป และควรติดตั้งระบบสายดินเพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่ว หากไม่อยู่บ้านนานหลายวันควรดึงปลั๊กตู้เย็นออกและเปิดประตูตู้เย็นทิ้งไว้เพื่อให้อากาศถ่ายเท
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า จำนวนคน ขนาดหม้อหุงข้าว(ลิตร) 1-3 4-5 6-8 8-10 10-12 1 1.5 2 2.8 3 ข้อแนะนำการใช้หม้อหุงข้าวไฟฟ้า
ควรเลือกขนาดให้เหมาะกับจำนวนคนในบ้าน ดังนี้
1.ใส่น้ำในปริมาณพอเหมาะกับปริมาณข้าว
2.เต้าเสียบหม้อหุงข้าวควรมีสายดิน
3.ไม่ควรเก็บหม้อข้าวในที่ชื้นหรือใกล้อ่างล้างจานที่อาจมีน้ำกระเซ็นโดน
4.ระวังไม่ให้มีรอยขีดข่วนที่หม้อชั้นใน
5.ก่อนวางหม้อชั้นในลงในหม้อชั้นนอกควรเช็ดน้ำให้แห้งสนิท
กระติกน้ำร้อน
จะมีอัตราการใช้กำลังไฟฟ้า ตั้งแต่ 500 – 2,000 วัตต์ ซึ่งจำเป็นต้องคำนึงเรื่องการประหยัดไฟฟ้าไม่แพ้อุปกรณ์อื่น
ข้อแนะนำ
1.ใส่น้ำในปริมาณที่พอเหมาะกับความต้องการใช้
2.ถ้าต้มน้ำต่อเนื่องต้องใส่ใจเรื่องปริมาณน้ำไม่ให้แห้ง
3.ถ้าไม่จำเป็น ไม่ควรเสียบปลั๊กทิ้งไว้ตลอดวันเพราะเปลืองไฟมาก และอาจเกิดอันตรายถ้าน้ำแห้ง
4.อย่าใส่น้ำจนเต็ม เพราะถ้าน้ำเดือดน้ำจะล้นออกมาทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรได้
5.เมื่อไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานาน ควรเทน้ำออกและทำให้แห้ง
พัดลมดูดอากาศ
ครัวที่แคบและมีทางระบายอากาศไม่ดี จำเป็นต้องมีพัดลมดูดอากาศเพราะจะช่วยระบายกลิ่นอาหารออกไปนอกบ้านได้อย่างรวดเร็ว ควรเลือกที่แข็งแรงและทนทาน รวมทั้งสามารถทำความสะอาดได้ง่าย การติดตั้งควรกะระยะห่างจากบริเวณเตาไฟอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องแนวสายไฟ จะต้องระวังไม่ให้โดนเปลวไฟจากเตาลามเลียถึงได้ หมั่นทำความสะอาดใบพัดเพื่อให้ใช้งานได้นานด้วย
ข้อมูลจาก วารสารฉลาดซื้อ ฉบับที่ 58
บ้านนี้ฉันรัก : พ่อน้องนิด