แม้ว่าในฉลากยา จะระบุให้ผู้ใช้ยาได้ทราบถึงวิธีใช้ยาและความถี่ของการใช้แล้วก็ตาม ผู้ใช้ยาควรทราบถึงความหมายของคำ
ต่าง ๆ ที่พบเสมอในฉลากยา นอกจากนี้ยังมียาอีกหลายรูปแบบที่ ผู้ใช้ยาควรทราบวิธีใช้ยาเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว
ข้างต้น ดังนี้
ภาพจาก Web Site
http://www.photohobby.net/webboard/post_photo/7139a15.jpg
http://www.yenta4.com/webboard/upload_images/1076784_4298011.jpg
ได้ดี หากรับประทานพร้อมหรือหลังอาหารทันทีจะทำให้การดูดซึมของยาลดลงมาก หากลืมรับประทานก่อนอาหารให้รับประทาน
หลังอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง สำหรับยาที่ออกฤทธิ์ไปเพิ่มการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ซึ่งใช้รักษาอาการคลื่นไส้
อาเจียน ให้รับประทานก่อนอาหารเพื่อที่จะได้ออกฤทธิ์ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เมื่อรับประทานอาหารลงไปได้ทัน
รับประทานหลังอาหาร โดยทั่วไปหมายความว่าหลังอาหารอย่างน้อย 15 นาที ยาที่ให้รับประทานหลังอาหารนี้ ส่วนมากเป็น
ยาทั่ว ๆ ไป ซึ่งไม่รบกวนต่อการดูดซึมของยาและอาจเพิ่มการดูดซึมของยาบางชนิดได้ หรือเป็นยาที่ถึงแม้จะถูกดูดซึมได้ดีในขณะ
ท้องว่าแต่มีฤทธิ์ระคายเคืองกระเพาะอาหารมาก
รับประทานพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที ยาที่มีฤทธิ์เป็นกรดทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหารมัก
ทำให้คลื่นไส้ อาเจียนเมื่อรับประทานขณะท้องว่าง หากรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เป็นผลหรือจนถึงขั้นเป็นแผล
ทะลุได้ ดังนั้นจึงต้องมีอาหารหรือน้ำช่วยทำให้เจือจาง ยาดังกล่าวได้แก่ ยาแก้ปวดข้อต่าง ๆ ยาแอสไพริน และยาสเตียรอยด์ เป็นต้น
รับประทานก่อนนอน หมายความว่าให้รับประทานก่อนนอนตอนกลางคืนวันละ 1 ครั้ง เท่านั้น
วิธีละลายยาผงแห้งปฏิชีวนะ
1. หากต้องใช้ยามากกว่า 1 ขวด ให้ละลายยาทีละขวด 2. เคาะผงยาในขวดให้ร่วน 3. ใช้น้ำต้มสุกที่เย็นแล้วหรือน้ำดื่มที่สะอาดละลายยา ห้ามให้น้ำร้อนหรือน้ำอุ่น 4. เปิดฝาขวดยา เติมน้ำลงในขวดยาประมาณครึ่งขวด ปิดฝาขวด เขย่าให้ผงยาเปียกทั่วและกระจาย ไม่จับเป็นก้อน 5. เปิดฝาขวดยาอีกครั้ง เติมน้ำลงในขวดจนถึงขีดที่กำหนดไว้บนขวดยาหรือขีดบอกบนฉลากยา 6. ปิดฝาขวดยา เขย่าให้ยากระจายเข้ากันดี 7. ก่อนรินยา ต้องเขย่าขวดก่อนทุกครั้ง ยาที่ผสมแล้วมีอายุการใช้ไม่เกิน 7 วัน และเก็บยาไว้ในที่เย็นหรือในตู้เย็น ช่องธรรมดา |
วิธีใช้ยาเม็ดสำหรับอมใต้ลิ้นรักษาอาการปวดแน่นอก
1. อมยาใต้ลิ้นทันทีเมื่อมีอาการปวดแน่นอก 2. ไม่ควรเคี้ยวยา กลืนยา หรือกลืนน้ำลายขณะอมยา 3. เมื่ออมยาเม็ดแรกแล้วอาการไม่ดีขึ้น ให้อมยาเม็ดที่ 2 และ 3 ห่างกัน 5 นาที เมื่อครบ 3 เม็ดแล้ว ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ให้รีบพบแพทย์ 4. สามารถอมยาป้องกันล่วงหน้าได้ 5 – 10 นาที ก่อนประกอบกิจกรรมที่คาดว่าจะทำให้มีอาการปวดแน่นอก |
วิธีใช้ยาชนิดแผ่นปิดผิวหนังรักษาอาการปวดแน่นอก
1. ควรปิดแผ่นยาเวลาเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ อย่ารอให้มีอาการแล้วค่อยปิด เพราะจะได้ผลช้า 2. ล้างมือให้สะอาดและเช็ดให้แห้งก่อนใช้ยา 3. ติดแผ่นยาในบริเวณที่มีขนน้อยและแห้ง เช่น ท้องแขนหรือใต้ราวนม 4. อย่าปิดยาบริเวณที่มีรอยแผลหรือรอยพับ 5. เพื่อป้องกันการดื้อยาในผู้ที่ใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรปิดแผ่นยาเพียงวันละ 12 – 14 ชั่วโมง เช่น ปิดแผ่นยา เวลา 7.00 น. ดึงออกเวลา 19.00 น. เป็นต้น (ควรดึงแผ่นยาออกช่วงเวลากลางคืน) |
วิธีใช้ยาหยอดตา
1. ล้างมือให้สะอาด เขย่าขวดยา 2. นอนหรือนั่งแหงนหน้ามองขึ้นข้างบน ใช้มือดึงหนังตาล่างให้เป็นกระพุ้ง 3. หยอดตาตามจำนวนหยดลงไป ระวังอย่าให้หลอดหยดแตะกับตาหรือเปลือกตา 4. หลับตาพร้อมทั้งใช้มือกดหัวตาไว้ประมาณ 1 – 2 นาที ซับส่วนที่เกินออก 5. หากจำเป็นต้องหยอดยาตาหลายชนิดในช่วงเวลาเดียวกัน ให้เว้นช่วงระยะเวลา 5 นาที เพื่อให้ยาแต่ละชนิดออกฤทธิ์ได้ดี 6. เมื่อเปิดยาใช้แล้ว ควรทิ้งหลังจาก 1 เดือน ห้ามล้างหรือทำความสะอาดหลอดหยดระหว่างใช้ |
วิธีใช้ยาป้ายตา
1. ล้างมือให้สะอาด 2. นอนหรือนั่งแหงนหน้ามองขึ้นข้างบน ใช้มือดึงหนังตาล่างให้เป็นกระพุ้ง 3. บีบยาลงในกระพุ้งตา โดยเริ่มจากหัวตา ระวังอย่าให้ปลายหลอดแตะกันตาหรือเปลือกตา 4. กะพริบตาเบา ๆ ประมาณ 1 – 2 นาที หรือใช้นิ้วมือคลึงเบา ๆ เช็ดยาส่วนเกินออก 5. ถ้าจำเป็นต้องใช้ยาป้ายตาร่วมกับยาหยอดตา ให้ใช้ยาหยอดตาก่อนยาป้ายตาประมาณ 5 นาที |
วิธีใช้ยาหยอดหู
1. ล้างมือและทำความสะอาดใบหูด้วยผ้าชุบน้ำ เช็ดให้แห้ง 2. กำขวดยาไว้ในอุ้งมือ 2 – 3 นาที เพื่อปรับอุณหภูมิให้ใกล้เคียงกับร่างกาย 3. เอียงหู หรือนอนตะแคง ให้หูข้างที่จะหยอดอยู่ด้านบน 4. ดูดยาและหยอดยาตามจำนวนหยด ดึงใบหูบา ๆ เพื่อให้ยาไกลลงหูได้สะดวก 5. เอียงหูข้างนั้นไว้ 2 – 3 นาที หรือใช้สำลีอุดหูไว้ 5 นาที 6. หากต้องการหยอดหูทั้ง 2 ข้าง ให้ทำซ้ำเหมือนเดิม |
วิธีใช้ยาหยอดจมูก
1. สั่งน้ำมูกทิ้งเบา ๆ และใช้กระดาษเช็ดภายในจมูก 2. ล้างมือให้สะอาด 3. แหงนคอไปด้านหลังให้มากที่สุด หรือนอนราบบนเตียง เงยหน้าขึ้น 4. หยอดยาลงในรูจมูก ระวังอย่าให้ปลายหลอดแตะจมูก 5. ก้มศีรษะมาทางด้านหน้า และหมุนซ้ายขวาไปมาช้า ๆ ประมาณ 2 – 3 นาที 6. ใช้ผ้าสะอาดเช็ดน้ำยาที่เกินออก |
วิธีใช้ยาพ่นจมูก
1. สั่งน้ำมูกทิ้งเบา ๆ และใช้กระดาษเช็ดภายในจมูก 2. ล้างมือให้สะอาด 3. แหงนหน้าเพียงเล็กน้อย 4. กดหลอดยาพ่นโดยให้หลอดพ่นสัมผัสปลายจมูกได้ 5. ใช้ผ้าสะอาดเช็ดน้ำยาที่เกินออก |
วิธีใช้ยาสูดพ่นทางปาก
1. เปิดฝาขวดแล้วเขย่าขวดยา 2. หายใจออกทางจมูกให้มากที่สุด 3. อมปลายกระบอกยา และหุบปากให้สนิท 4. ใช้นิ้วกดก้นหลอดยาลงให้สุด พร้อมกับหายใจเข้าลึก ๆ อย่างช้า ๆ 5. ดึงกระบอกพ่นออกจากปาก หุบปากกลั้นหายใจให้นานที่สุด อย่างน้อย 10 วินาที 6. ถ้าต้องการพ่นอีกครั้ง ให้เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 นาที |
วิธีใช้ยาเหน็บทวารหนัก
1. ล้างมือให้สะอาด แกะกระดาษห่อยาออก 2. นอนตะแคง เหยียดขาข้างที่นอนทับออก และงอเข่าข้างที่อยู่ข้างบน 3. ค่อย ๆ สอดยาเข้าทวารหนักให้ลึกจนสุดเม็ดยาที่สอด 4. นอนในท่าเดิมประมาณ 15 นาที เพื่อให้ยาละลายหมด และไม่หลุดออกมา 5. หากยาเหน็บนิ่มหรือไม่คงรูป ควรแช่ยาในตู้เย็นช่องธรรมดา เพื่อให้ยาคงรูปแข็ง 6. ควรเก็บยาเหน็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา |
วิธีใช้ยาเหน็บช่องคลอด
1. ล้างมือให้สะอาด แกะกระดาษห่อยาออก 2. ปัสสาวะก่อนให้เรียบร้อย 3. จุ่มยาลงในน้ำสะอาดให้พอเปียกหมาด ๆ 4. นอนหงายชันเข่า และค่อย ๆ สอดยาเข้าช่องคลอดให้ลึกที่สุด 5. นอนพักสักครู่ เพื่อให้ยาละลายหมด 6. ยาอาจเปื้อนกางเกงในได้ |
เอกสารอ้างอิง
...................................................................................................................................................................................................................................................
1. เรวดี ธรรมอุปกรณ์ , สาริณีย์ กฤติยานันต์ . ใช้ยา – ต้องรู้ 2544 ; 6 – 14.