สิทธิของผู้โดยสาร

ทุกครั้งที่เกิดอุบัติเหตุทางถนนสิ่ง ที่ตามมาก็คือ ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สิน ที่แย่กว่านั้นหากเป็นรถโดยสารสาธารณะที่ผู้ประกอบการปฏิเสธความรับผิดชอบ

หรือประวิงเวลาในการแสดงความรับผิดชอบ ปัญหาดังกล่าว จะยิ่งทำให้ผู้ประสบเหตุได้รับความเดือดร้อนมากขึ้น

ทว่า...ปัญหานี้กำลังจะได้รับแก้ไขแล้วครับ โดย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

ทั้ง นี้ จากผลการศึกษาของศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ พบว่า สถิติอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะทั่วประเทศเฉลี่ยแล้วเกิดขึ้น 3-4 พันครั้งต่อปี โดย 1 ใน 3 เกิดขึ้นกับรถโดยสารต่างจังหวัด ที่เหลืออีก 2 ใน 3 จะเกิดขึ้นกับรถโดยสารในกรุงเทพฯ ซึ่งเฉลี่ยแล้วเมื่อเกิดอุบัติ? เหตุกับรถโดยสารสาธารณะ 1 ครั้งจะมีผู้เสียชีวิต 0.42 รายหรือครึ่งคน บาดเจ็บสาหัส 1 คน และบาดเจ็บเล็กน้อย 2.69 ราย มูลค่าความเสียหายมหาศาลถึงปีละ 8-9 พันล้านบาทต่อปี

จากสถิติและความเสียหายดังกล่าว ในช่วงเดือนเมษายน 2550 มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้มอบหมายให้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคทำการศึกษากระบวนการเรียกร้องค่าเสียหายของผู้ประ? สบอุบัติเหตุจากการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ทำการศึกษาจากกรณีตัวอย่าง ผู้ประสบเหตุจากอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะปรับ อากาศเกิดเพลิงลุกไหม้ บนถนนมิตรภาพ อ.มวกเหล็ก สระบุรี เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2550 ผลการศึกษาพบว่า อุบัติเหตุครั้งนี้มีผู้เสียชีวิต 32 ราย บาดเจ็บ 31 ราย ทั้งนี้ กระบวนการเรียกร้องค่าเสียหายของผู้ ประสบอุบัติเหตุและญาติพบปัญหาและอุปสรรคคือ

1. การเยียวยาชดใช้ความเสียหายผู้ ประสบเหตุหรือญาติไม่ได้รับความเป็นธรรมที่เพียงพอค่า สินไหมจากกรมธรรม์ประกันภัย และเงินช่วยเหลือจากหน่วยราชการ เป็นการชดใช้ในเชิงการสงเคราะห์มากกว่าจะเป็นการคุ้มครองตามสิทธิอันพึงมี พึงได้ของผู้ประสบเหตุหรือญาติ

2. ไม่ มีการเยียวยาค่าเสียหายด้านอื่น เช่น ทรัพย์สินที่สูญหายหรือเสียหาย ไม่คุ้มครองการเสีย โอกาสในการเดินทาง ไม่คุ้มครองการเสียโอกาสในการทำงานหารายได้ได้ต่อไปในอนาคต ค่าขาดผู้ อุปการะ ไม่คุ้มครองสภาพจิตใจที่เสียไป เป็นต้น

3. ผู้ ประสบเหตุหรือญาติไม่ได้รับการแจ้งสิทธิหรือรายละเอียดของกรมธรรม์โดยตรง จากกรมการประกันภัย ทำให้ไม่เข้าใจถึงสิทธิความคุ้มครองอย่างชัดเจน ขณะที่ผู้เสียหายส่วนใหญ่ ไม่ทราบว่าจะขอคำปรึกษาได้จากที่ไหน หลายคนต้องยอมรับเงินสินไหมทั้งๆที่เห็นว่าไม่เป็นธรรม หลายคนยอมทำสัญญาประนอมยอมความตามข้อเสนอของบริษัทประกันตั้งแต่เบื้องต้น เพราะอยากให้ปัญหาจบไวๆ

4. การ ทำสัญญาประนอมยอมความเพื่อรับค่าสินไหมในขั้นตอนการเจรจากับบริษัทประกันภัย เป็นการตัดสิทธิทำให้ผู้เสียหายไม่สามารถไปฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเพิ่ม เติมในทางแพ่งได้อีก

5. ค่ารักษาพยาบาลตามความคุ้มรองของกรมธรรม์ประกันภัยไม่เพียงพอต่อผู้ป่วยที่อาการหนัก และใช้เวลารักษาตัวยาวนานทำให้ต้องผลักภาระไปใช้สิทธิรักษาพยาบาลด้านอื่นแทนสิทธิข้าราชการ ประกันสังคม หรือสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

กรณี ศึกษาดังกล่าวทำให้เห็นภาพรวมของการเกิดอุบัติเหตุของรถโดยสารสาธารณะแต่ละ ครั้งว่า มีความเสียหายที่มีมากกว่าด้านชีวิต หรือร่างกาย และเกินกว่ากรมธรรม์ประกันภัยจะให้

ความคุ้มครองได้อีกหลายประการ คือ

1. การ เกิดอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะแต่ละครั้ง หลายครอบครัวต้องสูญเสียเสาหลักของครอบครัวไป บางครอบครัวต้องสูญเสียญาติพี่น้องไปพร้อมกันในอุบัติเหตุครั้งเดียว ส่งผลให้สถาบันครอบครัวอ่อนแอ ขาดแรงงานที่จะช่วยจุนเจือรายได้ และญาติหรือผู้เกี่ยวข้องที่เหลือต้องรับภาระเพิ่มขึ้นในการดูแลลูกหลานที่กำพร้า

2. ผู้รอดชีวิตจากอุบัติเหตุ ต้องสูญเสียความมั่นคงทางด้านจิตใจ หลายรายมีความหวาดระแวง ไม่มั่นใจที่จะเดินทางโดยรถโดยสารสาธารณะต่อไป

3. สำหรับ ผู้บาดเจ็บที่อาการหนักยังต้องรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลก็เป็นภาระหนักแก่ บุคคลในครอบครัวที่จะต้องมีภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลปรนนิบัติและการเดินทาง ซึ่งไม่รู้กำหนดสิ้นสุดฯ


จากผลการศึกษาดังกล่าว ในเวลาต่อมามูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ เครือข่ายลดอุบัติเหตุ ภาคีต่างๆ จึงได้ร่วมกันยกร่างสิทธิผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะขึ้น 10 ประการ คือ

{xtypo_rounded2}1. สิทธิ ที่จะได้รับข้อมูลข่าวสาร รวม ทั้งคำพรรณาคุณภาพเกี่ยวกับบริการรถโดยสาร รวมทั้งความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ถูกต้องเป็นจริง ครบถ้วน

2. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในด้านสัญญา และราคาค่าบริการ

3. สิทธิในการเลือกใช้บริการรถโดยสารด้วยความสมัครใจ และปราศจากการชักจูงอันไม่เป็นธรรม

4. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยในทุกๆด้านจากการใช้บริการรถโดยสาร

5. สิทธิที่จะได้รับการบริการจากรถโดยสารและผู้ให้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน

6. สิทธิ ในการร้องเรียน หรือฟ้องร้องเพื่อให้ผู้ให้บริการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไข ปัญหา เยียวยา หรือชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น

7. สิทธิที่จะได้รับการชดใช้ความเสียหายทั้งทางร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิอื่นๆที่ถูกละเมิด

8. สิทธิที่จะได้รับการชดใช้ความเสียหายจากการประกันภัยโดยไม่มีการประวิงเวลา หรือบังคับให้ประนีประนอมยอมความ

9. สิทธิที่จะได้รับการชดใช้ความเสียหายด้วยหลักแห่งพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด

10. สิทธิที่จะรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์สิทธิของตนและผู้อื่น
{/xtypo_rounded2}


ทั้งหมดนี้คือ ที่มาที่ไปของการยกร่างสิทธิผู้โดยสารรถโดยสารสาธารณะ ซึ่ง สสส.มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กำลังดำเนินการ ผู้ โดยสารรถโดยสารสาธารณะที่ถูกละเมิดสิทธิจากผู้ประกอบการ สามารถร้องเรียนและดำเนินการฟ้องร้องตามกฎหมาย ผ่านมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้ค่ะ 


โทรศัพท์ 022483737
หรือร้องทุกข์ Online ได้ที่นี่ค่ะ


พิมพ์ อีเมล