กระทรวงพลังงานชงแผนขึ้นแอลพีจีภาคขนส่ง

กระทรวงพลังงานชงแผนขึ้นแอลพีจีภาคขนส่งและอุตสาหกรรมให้นายกรัฐมนตรีเคาะในการประชุม กพช.วันนี้ ขั้นต่ำไม่เกิน 2 บาทต่อ ก.ก.

อ่านต่อ

พิมพ์ อีเมล

รื้อเกณฑ์ใช้ไฟฟรีใหม่! ไม่เกิน 100 หน่วย แต่หม้อไม่เกิน 5 แอมป์

นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ยังยืนยันที่จะคงโครงสร้างราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ออกมาเป็น 2 ราคา ระหว่างภาคครัวเรือนกับขนส่งและอุตสาหกรรม ด้วยการตรึงราคาภาคครัวเรือน ออกไปอีกจากที่ครบกำหนด 6 มาตรการ 6 เดือน ในวันที่ 31 ม.ค. แต่ภาคขนส่งและอุตสาหกรรมต้องปรับราคาขึ้น แต่คงไม่ถึง 6 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) ซึ่งคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) จะสรุปรายละเอียดในวันที่ 16 ม.ค.นี้ 

“การขยายเวลา 6 มาตรการ 6 เดือน ในส่วนการใช้ไฟฟรี ที่ประชุม กพช. จะหารือในรายละเอียดอีกครั้ง หลังจากเบื้องต้นแนวทางหนึ่งที่ได้หารือไว้คือผู้ที่ใช้ไฟไม่เกิน 100 หน่วย ใช้ไฟฟรี คิดเป็น ผู้ที่ได้รับการคิดค่าไฟฟรี 9 ล้านครัวเรือน คิดเป็นเงินที่รัฐบาลต้องอุดหนุนให้กับการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง 8,000 ล้านบาท โดยมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เดิมได้กำหนดว่าการใช้ไฟฟรี กำหนดไว้ 2 แนวทางคือ หากใช้ไม่ถึง 80 หน่วยต่อเดือน ใช้ฟรี แต่หากใช้ตั้งแต่ 80-150 หน่วย จ่ายค่าไฟ 50%” 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับค่าไฟฟรี กระทรวงพลังงานกำลังพิจารณารายละเอียด เนื่องจากเดิม กำหนดฐานใช้ไฟฟรีที่ 80-100 หน่วยต่อเดือน จะจ่ายค่าไฟฟ้าเพียงครึ่งหนึ่ง แต่ถ้าใช้ไม่เกิน 80 หน่วย ได้ใช้ฟรี ปรากฏว่าเดิมผู้ที่ใช้ไฟไม่เกิน 80 หน่วยมี 6.7 ล้านครัวเรือน แต่ล่าสุดเพิ่มเป็น 7 ล้านครัวเรือน จึงบ่งชี้ว่าประชาชนมีการประหยัดเพื่อให้สามารถใช้ไฟฟรีมากขึ้น หากมีการกำหนดใหม่ เป็นใช้ไฟไม่เกิน 100 หน่วย สามารถใช้ไฟฟรีได้ ก็ต้องใช้เงินอุดหนุนมากกว่าเดิม เพราะครัวเรือนที่เคยประหยัดอาจมีการใช้ไฟเพิ่มมากขึ้นอีก เพราะฐานการใช้ขยายไปยัง 100 หน่วยต่อเดือน จึงมีทางเลือกอีกทางหนึ่ง คือกำหนดใช้ฟรีสำหรับผู้ใช้ไม่เกิน 100 หน่วย แต่จะต้องเป็นบ้านที่ติดมิเตอร์ไฟไม่เกิน 5 แอมแปร์

นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า กกพ. มีมติให้ปรับขึ้นค่าไฟตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอฟที) สำหรับเรียกเก็บจากผู้ใช้ เดือน ม.ค.-เม.ย. เพิ่มขึ้น 14.85 สตางค์ (สต.) ต่อหน่วย จากเดิมอยู่ที่ 77.70 สต. ต่อหน่วย รวมเป็น 92.55 สต.ต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟที่เรียกเก็บในบิลรอบนี้เพิ่มขึ้นจาก 3.02 บาทต่อหน่วย เป็น 3.17 บาทต่อหน่วย.

นสพ.ไทยรัฐ 13-01-52

พิมพ์ อีเมล

ค่าไฟขึ้นหน่วยละ14.85สต. กกพ.ปรับสูตรคำนวณเอฟที

นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า การพิจารณาค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (ค่าเอฟที) สำหรับการเรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้าในเดือนมกราคม-เมษายน 2552 เพิ่มขึ้น 14.85 สตางค์ต่อหน่วย จากเดิมในรอบที่ผ่านมา (ต.ค.-ธ.ค.2551) อยู่ที่ 77.70 สตางค์ต่อหน่วย เป็น 92.55 สตางค์ต่อหน่วย ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บจากประชาชนในบิลค่าไฟฟ้ารอบนี้เพิ่มขึ้นจาก 3.02 บาทต่อหน่วย เป็น 3.17 บาทต่อหน่วย หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณร้อยละ 4.91 ทั้งนี้ความจริงจะต้องปรับเพิ่ม 17.22 สตางค์ต่อหน่วย จากราคาเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น โดยราคาก๊าซธรรมชาติปรับเพิ่มขึ้น 22 บาทต่อล้านบีทียู ราคาน้ำมันดีเซลปรับเพิ่มขึ้น 0.56 บาทต่อลิตร แต่ได้มีการปรับการใช้ราคาเชื้อเพลิงปัจจุบัน (ม.ค.-เม.ย.2552) มาใช้คำนวณแทนราคาเชื้อเพลิงอ้างอิง 2 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค 2551-ธ.ค.2552) เพราะราคาเชื้อเพลิงปัจจุบันมีแนวโน้มลดลง

มติชน 13-01-52

พิมพ์ อีเมล

บิ๊กปตท.ประกาศเล็งซื้อหุ้นคืน

บิ๊กปตท.คาดรายได้ปี 52 ลด ลง 10% จากปี 51 ส่วนกำไรรักษาให้ใกล้เคียงปี 51 ประเมินปันผลงวดครึ่งหลังปี 51 ต่ำกว่าครึ่งปีแรกที่ 6 บาท/หุ้น ยอมรับผลการดำเนินงาน ไตรมาส 4/51 มีโอกาสติดลบ หลังกลุ่มโรงกลั่นขาดทุนหนัก เตรียมลดค่าใช้จ่ายชะลอการลงทุน เพื่อรักษารายได้ที่ระดับ 2 ล้านล้านบาท ขณะที่นักวิเคราะห์ มองปตท.มีผลขาดทุนจากซื้อน้ำมันล่วง หน้าส่งผลฉุดกำไรปลายปี 51 ทรุด เพราะตัวเลขรับรู้พอดีในเดือนนี้

นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัด การใหญ่ บมจ.ปตท. (PTT) กล่าวว่า บริษัทคาดว่ารายได้ในปี 2552 ลดลง 10% จากปี 2551 แต่ในส่วนของกำไรบริษัทจะพยายามประคับประคองให้เท่ากับปีก่อน สาเหตุที่มองว่ารายได้ปีนี้จะลดลงนั้น เนื่องจากคาดว่าราคาน้ำมันในปีนี้เฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 50 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ลดลงจากปีก่อนที่ราคาน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ 80-90 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล นอกจากนี้ ยังคาดว่าในส่วนของธุรกิจน้ำมันและปิโตรเคมียังมีโอกาสเห็นจุดต่ำสุดอีก

สำหรับแนวโน้มอัตราการจ่ายเงินปันผลในงวดครึ่งปีหลัง 2551 น่าจะต่ำกว่าครึ่งปีแรกที่มีอัตราการจ่ายเงินปันผลอยู่ที่ 6 บาทต่อหุ้น เนื่อง จากได้รับผลกระทบจากผลประกอบการ ประกอบกับบริษัทต้องดูแผนการ ลงทุนและฐานะทางการเงินประกอบการพิจารณาด้วยทั้งนี้ ปตท.ยังมีภาระที่ต้องแบกรับทั้งในส่วนของ LPG และ NGV แต่ทางบริษัทก็จะนำความคิดเห็นของกระทรวงการคลัง ที่อยากให้บริษัทจ่ายเงินปันผลสูงกว่าครึ่งปีแรกในการพิจารณาด้วย

“ราคาน้ำมันปีที่แล้วเฉลี่ยอยู่ที่ 80-90 เหรียญสหรัฐ แต่ปีนี้แนวโน้มลดลงเฉลี่ยอยู่ที่ 50 เหรียญสหรัฐ รายได้ปีนี้จึงอาจลดลง แต่ว่าเราก็ประคับประคอง กำไรให้เท่ากับปีที่แล้ว ซึ่งยังเห็นจุดต่ำสุดทั้งในส่วนของน้ำมันและปิโตรเคมี ส่วน การจ่ายเงินปันผลครึ่งปีหลังต้องดูผลประกอบการ แผนการลงทุนฐานะทางการ เงินประกอบกัน ซึ่งผู้ถือหุ้นอยากให้จ่ายเงินเยอะๆ แต่ภาระของรัฐเยอะโดยขาดดุลงบประมาณ 4-5 แสนล้านบาท และทางปตท.ย่อมมีภาระต้องดูแล LPG และ NGV ซึ่งผลประกอบการปี 51 ก็แย่กว่าปี 50” นายประเสริฐ กล่าว

ส่วนการลงทุนปี 2552 ปตท.จะมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยจะไม่มีการลงทุนที่ใช้เงินจำนวนมาก แต่เป็น การลงทุนโครงการต่อเนื่องเท่านั้น รวมทั้งปรับระบบภายในองค์กร ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินลงทุนไม่มาก นอกจากนี้ การลงทุน ท่อก๊าซเอ็นจีวี (NGV) ชะลอการลงทุน ขณะที่แผนการขยายสถานีบริการ NGV ก็คงจะมีการทบทวน โดยลดลงเหลือ 350-400 สาขา จากแผนเดิมที่จะขยายมากว่า 400 แห่ง

“ในปี 2552 มองว่า กลุ่มปิโตรเคมีจะมีกำไร แม้ว่าจะอยู่ในช่วงขาลง ส่วนธุรกิจโรงกลั่น ก็จะมีกำไรหลังจากปี 2551 ขาดทุน ธุรกิจขุดเจาะและสำรวจ ก็คงได้รับผลกระทบบ้างจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลง”

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. กล่าวว่า บริษัทเตรียมพิจารณาการเข้าซื้อหุ้นคืนหากดัชนีฯหลุดต่ำกว่า 400 จุด แต่อย่างไรก็ ตาม ปัจจุบันบริษัทชะลอแผนการซื้อหุ้น คืน เนื่องจากราคาหุ้นเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งนี้ ที่ผ่านมาบริษัทได้เข้าซื้อหุ้น บมจ.ไออาร์พีซี (IRPC) ผ่านกระดานซื้อขาย ส่วนหุ้นอื่นๆในเครือได้เข้าซื้อผ่านกองทุนมูลค่ารวม 4 พันล้านบาท จากงบที่ใช้สำหรับซื้อหุ้นคืน 2 หมื่นล้านบาท

ขณะที่โบรกเกอร์หลายแห่ง ได้ออก บทวิเคราะห์หุ้นกลุ่ม ปตท. โดยคาดการณ์ว่า ปตท.ขาดทุนจากการลงทุนซื้อน้ำมันล่วงหน้าในตลาดโลก 6 เดือนก่อน ช่วงที่ระดับราคาสูงสุด 147 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เมื่อเดือนก.ค.51 ซึ่งจะเริ่มมีการรับรู้ในช่วง 1-2 เดือนนี้ เพราะครบกำหนด ส่งมอบจริง

“ช่วงที่น้ำมันโลกพุ่งขึ้นสูงสุด บริษัท น้ำมันหลายแห่งต่างคาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก อาจพุ่งขึ้นแตะระดับ 200 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทำให้มีการเร่งสั่งซื้อน้ำมันเข้ามาในสต็อกเพื่อเก็งกำไรส่วนต่างราคา และฟันส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยน”

ด้านบทวิเคราะห์ บล.ทรีนิตี้ ระบุว่า ผลประกอบการของ ปตท. ไตรมาส 4 ปี 2551 คาดว่าจะออกมาไม่ดี และมีโอกาสรายงานกำไรสุทธิทั้งปีเหลือแค่ 6 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากขาดทุนในบริษัทลูก ได้แก่ TOP ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท PTTAR ประมาณ 1.1-1.2 หมื่นล้านบาท และ IRPC ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท พร้อมคาดการณ์ว่า แนวโน้ม ในปีหน้ายังคงไม่ดีนัก เนื่องจาก บมจ.ปตท.สผ. (PTTEP) ที่เป็นกลจักรสำคัญ อ่อนแรงลงตามราคาน้ำมันโลก ซึ่งมุมมองของ ปตท.คาดการณ์ราคาน้ำมันเฉลี่ยปีหน้าที่เพียง 55 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

สยามธุรกิจ 14-01-52

พิมพ์ อีเมล

โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ อนาคตที่ไทยต้องมี

ควันจากปล่องโรงไฟฟ้าสร้างความหวาดวิตกแก่ผู้พบเห็น กับคนอาศัยอยู่ละแวกใกล้เคียงก็ยิ่งสร้างความกังวลใจจะเป็นควันพิษ... ก่อให้เกิดโรคร้ายได้สารพัด

พลังงานทดแทนจึงเป็นเหมือนพระเอกขี่ม้าขาว เข้ามาช่วยเป็นพลังงานทางเลือก โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ราคาน้ำมันตลาดโลกผันผวน

พลังงานแสงอาทิตย์ คือหนึ่งในนั้น ปัจจุบันกระทรวงพลังงานสนับสนุนผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน ให้หันมาผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในหลายมาตรการ

โดยเฉพาะกำหนดอัตราการให้ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าไว้ที่ หน่วยละ 8 บาท

ในภาพรวม การผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์ในประเทศไทยถือว่าเพิ่มเริ่มต้น ด้วยข้อจำกัดของโซลาร์เซลล์ที่มีต้นทุนสูง ผลิตกระแสไฟฟ้าได้เฉพาะกลางวัน

ถ้าจะใช้กลางคืน ต้องเอาไฟฟ้าไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ แบตเตอรี่ก็มีอายุใช้งานเพียง 1-2 ปี ก็เสื่อมคุณภาพ ทำให้ต้นทุนยิ่งสูงมากขึ้น

ประเด็นสำคัญ โซลาร์เซลล์ไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้จำนวนมาก ระดับโรงไฟฟ้าที่จะแจกจ่ายให้กับบ้านเรือนต่างๆได้เหมือนโรงไฟฟ้าพลังงานแก๊ส ถ่านหิน

หรือถ้าผลิตได้ โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ก็ต้องใช้งบประมาณมหาศาลไม่คุ้มทุน แต่จะคุ้มก็ต่อเมื่อราคารับซื้อไฟฟ้าหน่วยละ 12 บาท

“เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ได้มีเพียงโซลาร์เซลล์ ปัจจุบันยังมี ระบบโซลาเทอร์มอลล์ หรือระบบความร้อนรวมแสงผลิตไฟฟ้าได้เช่นกัน”

กาญจน์ ตระกูลธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามโซลา เอนเนอยี่ จำกัด บอก

ระบบความร้อนรวมแสง นำมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าใช้ในบ้านเรือน อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ไปจนถึงระดับโรงไฟฟ้าได้

กาญจน์ บอกว่า ระบบนี้มีหลายเทคโนโลยี แต่ที่เหมาะกับประเทศไทย คือ ระบบ Parabolic trough หรือที่เรียกง่ายๆว่า ระบบรางความร้อนรวมแสง

หลักการคร่าวๆ คือ การนำความร้อนที่ได้จากรางที่รวมแสงไปปั˜นเทอร์ไบน์ให้ผลิตกระแสไฟฟ้าออกมา ส่วนในเวลากลางคืน ระบบก็จะเอาความร้อนที่ได้ในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งเก็บไว้ในถังเก็บความร้อนค่อยๆปล่อยมาใช้

ภาคการทำงานหลักแบ่งออกเป็น 3 ส่วน...ส่วนแรกเริ่มจาก SOLAR FIELD รับพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อเปลี่ยนมาเป็นพลังงานความร้อน...เป็นส่วนที่ลงทุนสูงที่สุด อยู่ที่ร้อยละ 70

ส่วนที่สอง STORAGE TANK เป็นส่วนการเก็บพลังงานความร้อน เพื่อนำมาใช้ในช่วงเวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์...เป็นส่วนที่ลงทุนร้อยละ 5

ส่วนสุดท้าย POWER CYCLE ผลิตกระแสไฟฟ้า โดยใช้พลังงานความร้อนหมุนกังหันไอน้ำเพื่อไปปั˜นเจนเนอเรเตอร์ผลิตกระแสไฟฟ้า... เป็นส่วนที่ลงทุนรองลงมา อยู่ที่ร้อยละ 25

“ระบบนี้ไม่ใช่ระบบใหม่ เป็นระบบที่คิดค้น...ทำกันมาเกือบ 20 ปีแล้ว แพร่หลายในอเมริกา ยุโรป แถบเอเชียมีน้อยมาก เพราะทำแล้วไม่คุ้มทุน สู้ใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิลไม่ได้” กาญจน์ ว่า

ปัจจุบันเชื้อเพลิงฟอสซิลกำลังจะหมดลง และมีแนวโน้มราคาสูงขึ้น พลังงานแสงอาทิตย์จึงเป็นทางออกของพลังงานทางเลือกสำคัญ

มองในแง่การลงทุน ระบบรางความร้อนรวมแสงถือว่าค่อนข้างสูง ถ้าไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล แทบไม่มีโอกาสเป็นไปได้

โรงไฟฟ้า 1 โรง ขนาด 8 เมกะวัตต์ ต้องใช้เงินลงทุนกว่า 3,000 ล้านบาท

ย้ำจุดแข็งของเทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าระบบรางความร้อนรวมแสง ข้อแรก...เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูง ข้อที่สอง...ไม่มีต้นทุนทางด้านวัตถุดิบและพลังงาน

ข้อที่สาม...ต้นทุนในการบำรุงรักษาต่ำ ข้อที่สี่...สามารถลดปริมาณ คาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาเป็นพลังงานทางเลือกที่สะอาด ไม่มีมลพิษ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ประเทศไทยผลิตกระแสไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติถึงร้อยละ 70... จากลิกไนต์ถ่านหิน ร้อยละ 17...จากพลังงานน้ำ ร้อยละ 5...จากน้ำมันเตา ร้อยละ 4...จากพลังงานอื่นๆ ร้อยละ 4

ข้อมูลปี 2549 เราใช้ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยประมาณ 900 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน...จากพม่าประมาณ 900 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

ถ้าคิดในอัตราการผลิตกระแสไฟฟ้าต่อหน่วยแล้ว ต้นทุนในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติอยู่ที่ 2 บาทต่อหน่วย

คาดการณ์ว่า ถ้ายังใช้ก๊าซผลิตไฟฟ้าไปเรื่อยๆอย่างนี้ ก๊าซจะหมดในอีก 30-40 ปี

สมมติว่า โรงไฟฟ้ากำลังผลิต 10 เมกะวัตต์ ถ้าใช้ก๊าซธรรมชาติทั้งหมด จะมีต้นทุนปีละ 200 ล้านบาท แต่ถ้าผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ จะประหยัดค่าวัตถุดิบปีละ 200 ล้านบาท

ปัญหามีว่า โรงงานผลิตไฟฟ้าด้วยก๊าซธรรมชาติ มีต้นทุนก่อสร้างต่ำกว่าโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ 5 เท่าตัว

ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 20.20 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับพลังงานทดแทนอื่น ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าพลังงานกังหันลม ขยะ หรือชีวมวล

ช่วงเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันปี 2518 การผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์ต้นทุน 60 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อวัตต์...ผ่านไป 15 ปี ต้นทุนลดลงเหลือ 8 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อวัตต์ ลดลงไปกว่า 7 เท่าตัว

ยุคต่อมาปี 2545 ต้นทุนเซลล์แสงอาทิตย์ลดลงอย่างไม่น่าเชื่อ เซลล์ชนิดผลึกมัลติคริสตัล ผลิตไฟฟ้าด้วยต้นทุน 3-3.5 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อวัตต์ ขณะที่มีประสิทธิภาพการผลิตสูงขึ้น สูญเสียพลังงานความร้อนลดลง

ยุคต่อมาปี 2545 ต้นทุนเซลล์แสงอาทิตย์ลดลงอย่างไม่น่าเชื่อ เซลล์ชนิดผลึกมัลติคริสตัล ผลิตไฟฟ้าด้วยต้นทุน 3-3.5 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อวัตต์ ขณะที่มีประสิทธิภาพการผลิตสูงขึ้น สูญเสียพลังงานความร้อนลดลง

คาดกันว่า อีก 2 ปีข้างหน้า ภายในปี 2553 ต้นทุนจะลดลงอีก เหลือแค่ 1.0-1.25 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อวัตต์ หากในอนาคต มีการผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์แพร่หลาย มั่นใจได้ว่าจะทำให้ต้นทุนดำเนินการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ลดลงมากกว่านี้

สหภาพยุโรปรายงานว่า ปี 2553 ทั่วโลกจะมีการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ รวม 14,000 เมกะวัตต์ ก่อนจะก้าวกระโดดเป็น 70,000 เมกะวัตต์ ในปี 2563

ปี 2573 จะขยายไปอีกเท่าตัว เป็น 140,000 เมกะวัตต์

ประเทศญี่ปุ่นได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์มากที่สุด ประมาณร้อยละ 46 ของปริมาณการผลิตทั่วโลก อยู่ที่ 1,656 เมกะวัตต์

รองลงมา ประเทศแถบยุโรป ร้อยละ 28 ส่วนประเทศมหาอำนาจอย่างอเมริกา อยู่อันดับ 3 มีสัดส่วนการผลิตร้อยละ 10

ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในแถบอาเซียนที่บุกเบิกโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ หากยังจำกันได้... โรงไฟฟ้าผาบ่อง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ขนาดกำลังผลิต 500 กิโลวัตต์ ผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ที่สายส่งไฟฟ้าเข้าไม่ถึง

ต้นทุนการผลิต อยู่ที่ 10 บาทต่อหน่วย แต่ก็คุ้มค่าที่จะลงทุน

เทียบกับโรงไฟฟ้าดีเซล โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่สิ่งแวดล้อม... จากการเผาไหม้น้ำมันดีเซลผลิตไฟฟ้ากว่า 5 แสนกิโลกรัมต่อปี

โรงไฟฟ้าผาบ่อง ผลิตกระแสไฟฟ้าเสริมช่วงกลางวัน ช่วยประหยัดการปั˜นไฟจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำ...แถมเก็บไฟเอาไว้ใช้ในช่วงหัวค่ำ ช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด และยังช่วยลดการใช้น้ำมันดีเซล ของโรงไฟฟ้าดีเซลได้ปีละกว่า 2 แสนลิตร มูลค่า 3 ล้านบาท

สภาวะปัจจุบัน...ประเทศไทยมีความพยายามหาพลังงานทดแทนมาผลิตกระแสไฟฟ้าปีละ 5,000 เมกะวัตต์ แต่ภาคเอกชนมีศักยภาพขายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนประเภทต่างๆ ได้เพียง 500 เมกะวัตต์เท่านั้น เหตุผลเก่าก่อน โรงงานไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ลงทุนไม่คุ้ม เทคโนโลยีไม่ทันสมัย ทำไม่ได้...เอามาอ้างในยุคนี้ไม่ได้อีกแล้ว

ที่แน่ๆ แสงอาทิตย์เป็นพลังงานธรรมชาติที่ไม่ต้องลงทุนซื้อหา ไม่ต้องนำเข้า... ไม่มีราคาค่างวดอะไรเลย ประเทศไทยมีศักยภาพเต็มร้อยกับพลังงานแสงอาทิตย์... มีความจำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ เอาไว้เป็นขุมกำลังสำรอง.

นสพ.ไทยรัฐ  14-01-52

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน