มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดสัมมนาสรุปบทเรียนโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนที่ปลอดภัยและเป็นธรรม เพื่อพัฒนาระบบขนส่งมวลชน

LINE ALBUM 21 22 เม.ย. 65 สรุปบทเรียน รถโดยสาร ๒๒๐๔๒๓

        มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) จัดสัมมนาสรุปบทเรียนโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนที่ปลอดภัยและเป็นธรรม ในวันที่ 21-22 เมษายน 2565 ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพฯ โดยมีเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคกรุงเทพมหานคร และกลไกองค์กรผู้บริโภค ทั้ง 6 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าร่วมการสรุปบทเรียนการทำงานขับเคลื่อนระบบขนส่งมวลชน และบทเรียนการขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียน การขยายผลต้นแบบรถรับส่งนักเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนว่าบทเรียนที่ผ่านมากลไกภาคพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในแต่ละพื้นที่ของแต่ละภาคมีผลงานความเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดบ้าง ซึ่งนอกจากนี้ทางมพบ.และกลไกทั้ง 6 ภาค ยังได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและกำหนดทิศทางการทำงานในอนาคตประเด็นการทำงานขับเคลื่อนระบบขนส่งมวลชน และประเด็นการทำงานขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียน การขยายผลต้นแบบรถรับส่งนักเรียน เพื่อผลักดันให้มีทิศทางการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนที่ปลอดภัยและเป็นธรรมมีอย่างต่อเนื่อง

       จากการแลกเปลี่ยนและสรุปความคิดเห็น บทเรียนการทำงานการขับเคลื่อนระบบขนส่งมวลชนที่ผ่านมา มีดังนี้ 1. ต้องประสานเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการ ร่วมมือกันตั้งแต่ทำเครื่องมือ ออกแบบสำรวจ และประสานกับหน่วยงานทำให้ขับเคลื่อนการทำงานได้ 2. งานข้อมูลที่เชื่อมโยงจะช่วยขับเคลื่อนได้ดี สร้างปฏิบัติการเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบ 3. ผลักดันพลังในพื้นที่เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนระบบขนส่ง เปิดรับฟังภาคประชาชน 4. ควรเปลี่ยนทัศนคติของหน่วยงานรัฐให้คำนึงถึงความสำคัญของสิทธิผู้บริโภคทั่วถึง 5. การทำงานกับภาคีหลายส่วน ช่วยผลักดันงานร่วมกันได้ เช่น เครือข่ายวิชาการ กลไกทำงาน 6. ค้นหาคนรุ่นใหม่ พัฒนาศักยภาพ และใช้เทคโนโลยีช่วยขับเคลื่อนการทำงาน

       ส่วนทิศทางการทำงานการขับเคลื่อนระบบขนส่งมวลชนในอนาคต มีการแลกเปลี่ยนและสรุปความคิดเห็น ดังนี้ 1. ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ในส่วนของข้อมูลระบบขนส่งมวลชนทั้งระบบและการดำเนินงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งติดตามการแก้ไขปัญหาและข้อเสนอนโยบาย 2. สร้างพื้นที่ความร่วมมือการมีส่วนร่วมดำเนินงานกับภาคีและหน่วยงานต่างๆ ทั้งระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล ทำแผนพัฒนาระบบขนส่งจังหวัดในการรับฟังความคิดเห็นมากขึ้น 3. การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ โดยมีเครือข่ายร่วมกำหนดการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่ 4. การพัฒนาระบบข้อมูลความรู้ (การสำรวจและฐานข้อมูล) ให้เชื่อมโยงกับงานข้อมูลระบบขนส่งของหน่วยงาน รวมถึงข้อมูลระบบขนส่งในระดับภาคและเครือข่ายให้เชื่อมโยงกัน 5. การสื่อสารให้สร้างความตระหนัก และปรับเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจและทัศนคติในเรื่องระบบขนส่งมวลชน และรณรงค์อย่างต่อเนื่อง

       ทั้งนี้ ในส่วนของทิศทางในอนาคตการทำงานขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียน การขยายผลต้นแบบรถรับส่งนักเรียน มีการแลกเปลี่ยนและสรุปความคิดเห็น ดังนี้ 1. ร่วมมือกับหน่วยงานเพื่อขยายผลโรงเรียนต้นแบบ โดยร่วมกันคัดเลือกและดำเนินการจากโรงเรียนที่สมัครใจและผลักดันนโยบาย 2. ร่วมมือกับโรงเรียนเพื่อขยายโรงเรียนต้นแบบคลุมทั้งจังหวัด และขยายผลไปยังศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 3. พัฒนาโรงเรียนต้นแบบเป็นแหล่งเรียนรู้ พัฒนางานข้อมูลให้เป็นระบบ เพื่อสร้างความร่วมมือพัฒนาต่อเนื่อง โดยใช้ 9 องค์ประกอบเป็นแนวทางการพัฒนา 4. ผลักดันให้เป็นแผนยุทธศาสตร์จังหวัดและงาน ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) 4.ทำให้บทบาทองค์กรผู้บริโภคเป็นที่ยอมรับ เครือข่ายมีบทบาทในคณะทำงานจังหวัดและอำเภอของ ศปถ. 5.สนับสนุนการทำงานผ่านสภาองค์กรของผู้บริโภคแต่ละจังหวัด

21 22 01 2

Tags: มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, รถรับส่งนักเรียน, เครือข่ายผู้บริโภค 7 ภาค, ขนส่งมวลชน, ขนส่งมวลชนเพื่อคนท้องถิ่น

พิมพ์ อีเมล