กกพ.อนุมัติ ปตท.ขึ้นค่าผ่านท่อก๊าซ2บาท

กกพ.อนุมัติค่าผ่านท่อ 2.0218 บาทต่อล้านบีทียู มีผล 1 เม.ย.นี้ ส่งผล ปตท.มีรายได้เพิ่มปีละ 1,800 ล้านบาท ย้ำคำนวณจากภาระการลงทุนท่อก๊าซเส้นที่ 3 กว่า 1.65 แสนล้านบาท ยันไม่กระทบค่าเอฟทีงวดเม.ย. เตือนหากไม่มีการลงทุนตามแผนที่กำหนด พร้อมเรียกเงินคืน นำลดค่าผ่านท่อ

อ่านต่อ

พิมพ์ อีเมล

"พลังงาน" เร่งแจงคุณภาพแก๊สโซฮอลล์ ยันไม่เกี่ยวสารพิษเพิ่มในกรุง

กระทรวงพลังงาน โต้ข่าวน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ก่อมลพิษสูงในกรุงเทพฯ หลังกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม พบสารสารคอร์บอนิลในอากาศเกินเกณฑ์มาตรฐาน และอาจทำให้คนกรุงเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น "บางจาก" วอนอย่าด่วนสรุป หวั่นประชาชนตื่นตระหนก

อ่านต่อ

พิมพ์ อีเมล

กฟผ.อ้อนอย่าลดเอฟทีหวังล้างหนี้อุ้มค่าไฟ3หมื่นล.

กฟผ. ลุ้นรัฐบาล ไม่ลดหรือตรึงค่าเอฟที รอบหน้าเดือน พ.ค. หวังทยอยล้างหนี้อุ้มค่าไฟ 1.9 หมื่นล้าน
นายสมบัติ ศานติจารี ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยถึงแนวโน้มอัตราค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) รอบเดือนพ.ค.-ส.ค. 2552 ว่า มีโอกาสปรับลดตามราคาก๊าซธรรมชาติที่ลง แต่ในหลักการต้องพิจารณาภาระของกฟผ. จากการตรึงค่าไฟฟ้าในช่วงที่ผ่านมา ที่ยังมียอดสะสมอยู่ 1.9 หมื่นล้านบาท ประกอบกับ
ต้องติดตามความเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในการคำนวณราคาเชื้อเพลิงในช่วงเดือน เม.ย.นี้ด้วย

ทั้งนี้ ได้รายงานไปยังคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรกูเลเตอร์) ถึงภาระการตรึงค่าไฟฟ้าทราบแล้ว เพื่อนำไปใช้ในการพิจารณากำหนดค่าเอฟทีในแต่ละงวด ซึ่งหากราคาก๊าซมีแนวโน้มที่ลดลง และไม่มีการปรับลดค่าเอฟทีหรือใช้วิธีตรึงค่าเอฟทีต่อเนื่อง คาด ว่าจะใช้เวลาภายใน 2 ปี จะชดเชยภาระค่าเอฟทีได้ทั้งหมด โดยคำนวณเบื้องต้นค่าเอฟที 1 สตางค์ คิดเป็น ต้นทุนการผลิตไฟฟ้า 400 ล้านบาท

“ค่าเอฟทีในงวดหน้าหากดูจากราคาก๊าซที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงหลักในการ ผลิตไฟฟ้าปรับลดลงจาก 250 บาท/ล้านบีทียู มาอยู่ที่ 230 บาท/ล้านบีทียู ดังนั้นค่าเอฟทีมีโอกาสปรับลดลงได้ แต่อยากให้มองถึงภาระของกฟผ. ที่ได้เข้าไปอุ้มค่าเอฟทีในงวดก่อนๆ ที่ต้นทุนเชื้อเพลิงสูง โดยพยายามปรับค่าเอฟทีแต่ละงวดไม่ให้ผู้ใช้ไฟฟ้าได้รับผลกระทบมากเกินไป ซึ่งคงต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของกระทรวงพลังงานและเรกูเลเตอร์ที่จะดูแล แต่ถ้าไม่ลดค่าเอฟทีก็จะสามารถลดภาระหนี้ให้กับกฟผ. ลงได้บ้าง” นายสมบัติ กล่าว

อย่างไรก็ตาม แม้กฟผ. จะมีภาระหนี้จากการตรึงค่าไฟฟ้า แต่ในภาพรวมไม่มีปัญหาในเรื่องสภาพคล่องทางการเงิน โดยสามารถบริหารจัดการได้ โดยในปี 2552 มีแผนออกพันธบัตรเพื่อนำมาใช้เสริมสภาพคล่องและการลงทุนวงเงินรวม 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งขณะนี้ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว 1 หมื่นล้านบาท และออกพันธบัตรไปแล้ว 6,000 ล้านบาท โดยเตรียมจะออกจำหน่ายเพิ่มเติมในช่วงปลายเดือนมี.ค. จำนวน 4,000 ล้านบาท ขณะเดียวกันในสัปดาห์หน้าจะเสนอเข้าครม. เพื่อออกพันธบัตรเพิ่มเติมอีก 2 หมื่นล้านบาท

สำหรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าในช่วงนี้ เริ่มมีการขยายตัวหลังจากเดือนม.ค. การใช้ไฟฟ้าติดลบ ถึง 13% เดือนก.พ. ติดลบ 0.5% และช่วง 13 วันเดือนมี.ค. การใช้บวก 2% สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจเริ่มมีการเคลื่อนไหว

- โพสต์ทูเดย์  20/3/52

พิมพ์ อีเมล

ตลก.ศาลวัดความกว้างซ.ร่วมฤดีก่อนสั่งระงับ

ตุลาการศาลฯลงพื้นที่สืบความกว้างซอยร่วมฤดี หลัง"นพ.สงคราม-แพทย์หลวง-ขวัญแก้ว-ผู้พักอาศัย"ฟ้อง"อภิรักษ์-ผอ.เขต ปทุมวัน"ก่อสร้างเกินกม.กำหนด

ที่ซอยร่วมฤดี เขตปทุมวัน-นายไพศาล บุญเกิด และนายพินิจ มั่นสัมฤทธิ์ องค์คณะตุลาการศาลปกครองกลาง ลงพื้นที่เผชิญสืบตรวจสอบสถานที่ความกว้างของซอยร่วมฤดี บริเวณที่ตั้งอาคารสูงว่ากว้างเกิน 10 เมตรหรือไม่ เพื่อนำข้อเท็จจริงมาพิจารณาคดีหมายเลขดำที่ 1475/2551 ที่ นพ.สงคราม ทรัพย์เจริญ แพทย์หลวง , นายขวัญแก้ว วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวัง , อาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประชาชนที่อยู่อาศัยในซอยร่วมฤดี รวมทั้งสิ้น 24 ราย ได้มอบอำนาจให้นายเฉลิมพงษ์ กลับดี หัวหน้าศูนย์ทนายความอาสาเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

ยื่นฟ้อง นายสุรเกียรติ์ ลิ้มเจริญ ผู้อำนวยการเขตปุทมวัน (ขณะดำรงตำแหน่ง ปี 2551) และ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ขณะดำรงตำแหน่งปี 2551) ต่อศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 17 ก.ย.51 ที่ผ่านมา เรื่องละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า และไม่ชอบด้วยกฎหมาย

กรณีออกเอกสารรับรองความกว้างของถนนซอยร่วมฤดีเกินกว่าความเป็นจริง โดยระบุว่า มีความกว้างต่อเนื่อง 10 เมตร ให้กับบริษัท ลาภประทาน จำกัด และบริษัททับทิมทร จำกัด เพื่อนำไปยื่น แบบก่อสร้างอาคารสูง โดยไม่ต้องยื่นคำขอรับอนุญาต ตามมาตรา 39 ของ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ทั้งที่ความจริง ความกว้างของถนน ไม่ได้กว้าง 10 เมตรต่อเนื่องกัน จึงเป็นเหตุให้มีการก่อสร้างอาคารสูงเกินกว่ากฎหมายกำหนด ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนที่พักอาศัยในซอยร่วมฤดี และกระทบต่อสาธารณะประโยชน์ของประชาชนทุกครัวเรือนที่ต้องเสี่ยงภยันตราย ทั้งด้านอัคคีภัย และการจราจรที่แออัด


ทั้งนี้ ผู้ฟ้อง ขอให้ศาลออกไปเผชิญสืบตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อหาข้อยุติเขตทาง ซ.ร่วมฤดี และขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องทั้งสอง สั่งระงับหรือรื้อถอนการก่อสร้างในส่วนที่ผิดกฎหมายทั้งหมด ภายในเวลาที่ศาลปกครองกำหนด

นายเฉลิมพงษ์ หัวหน้าศูนย์ทนายความอาสาเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า หลังจากที่ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลางแล้ว เขาได้ให้มีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงว่า ซ.ร่วมฤดี มีความกว้าง 10 เมตรยาวต่อเนื่องกันหรือไม่ ตามที่กฎหมายห้ามสร้างอาคารสูงเกิน 23 เมตรหรือมีเนื้อที่ใช้สอยเกิน 10,000 ตารางเมตร ในพื้นที่ซอยกว้างไม่ถึง 10 เมตรยาวต่อเนื่องกัน โดยศาลได้มีคำสั่งให้คณะผู้ฟ้องคดี , ผู้ถูกฟ้องคดี และเจ้าพนักงานของกรมที่ดินผู้ได้ทำการรังวัด มาชี้แจงข้อเท็จจริงและแสดงพยานหลักฐานที่ ซ.ร่วมฤดีบริเวณก่อสร้าง ในวันนี้(18มี.ค.)

"สำนักงานเขตปทุมวัน ได้อ้างว่า ต้องทำการรังวัดที่ดินตลอดซอย เพื่อหาข้อเท็จจริงมาเป็นเวลา 3 ปีเศษ แต่รังวัดไม่เสร็จ ซึ่งซอยนี้ยาวประมาณ 1,200 เมตร รังวัดซอยได้ยาวเพียงประมาณ 600 เมตร ผลการรังวัดปรากฏว่า ความกว้างซอยร่วมฤดีส่วนใหญ่กว้างไม่ถึง 10 เมตร แต่ก็เปิดโอกาสให้บริษัททำการก่อสร้างมา 3 ปี โดยไม่ต้องรับใบอนุญาต โดยผู้อำนวยการเขตปทุมวัน อ้างว่า เป็นผู้ดูแลที่สาธารณะตามกฎหมาย จึงมีอำนาจออกหลักฐานทางราชการเอง เป็นที่ทราบกันในหมู่ชาวบ้านซอยร่วมฤดีว่า ซอยร่วมฤดีไม่เคยกว้างถึง 10 เมตรตลอดแนว ตั้งแต่มีซอยร่วมฤดีเป็นถนนสาธารณะ ซึ่งตรงกับหลักฐานที่เก็บรักษาไว้ที่กรุงเทพมหานคร" นายเฉลิมพงษ์ กล่าว

เขาระบุว่า ที่ผ่านมา ประชาชนผู้ที่อาศัยอยู่ในซอยร่วมฤดี และเป็นเจ้าของที่ดินติดกับซอยร่วมฤดี ต่างออกมาร้องเรียน ผอ.เขตปทุมวัน และผู้ว่า ฯ กทม. ตั้งแต่ต้นปีพ.ศ.2549 และร้องเรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่ปีพ.ศ.2550 สำนักงานเขตปทุมวันก็ไม่ดำเนินการ การทักท้วงการก่อสร้าง เนื่องจาก ผอ.ขตปทุมวันได้ออกใบรับรองความกว้างของซอย 10 เมตร ให้กับผู้ก่อสร้าง จึงไม่ยอมเปลี่ยนแปลงหนังสือรับรองดังกล่าว และเปิดโอกาสให้มีการก่อสร้างอาคารสูงได้ต่อเนื่อง เหตุการณ์แบบนี้ อาจจะคล้ายกับอาคารซานติก้าผับที่ไฟไหม้ ซึ่งเป็นอดีต ผอ.เขตวัฒนา ผู้นี้ย้ายมาเป็น ผอ.เขตปทุมวัน และกำลังถูกพิจารณาลงโทษ

นายเฉลิมพงษ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาสำนักงานเขตปทุมวัน ได้ทำการรังวัด ซ.ร่วมฤดีเมื่อวันที่ 21 ส.ค.50 และวันที่ 9 พ.ย.50 โดยกำหนดให้เจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่แสดงแนวเขตทาง ซ.ร่วมฤดีกว้าง 10 เมตร จากถนนเพลินจิตถึงบริเวณก่อสร้างอาคารสูง 24 ชั้น และ 18 ชั้น เพื่อเอาแผนที่นี้แสดงต่อสาธารณะชนว่า ซ.ร่วมฤดีกว้าง 10 เมตร ทั้งที่กรมที่ดินก็ได้ปฏิเสธการออกหนังสือสำคัญ สำหรับที่หลวงให้แก่ ซ.ร่วมฤดี

ด้วยเหตุนี้ การแสดงหลักฐานของโฉนดที่ดินของเอกชน ที่อยู่ติดกับซอย และการวัดความกว้างของ ซ.ร่วมฤดีประกอบคำชี้แจงต่อศาลในวันเผชิญสืบในวันนี้ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ที่ศาลจะนำข้อมูลหลักฐานไปพิจารณาว่า ผอ.เขตปทุมวัน และผู้ว่าฯ กทม.ละเลยต่อหน้าที่หรือไม่

ขณะที่ ศ.ไขแสง ศุขะวัฒนะ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ้าของที่ดิน และอยู่ในซ.ร่วมฤดี มานาน 78 ปี กล่าวว่า เป็นเจ้าของที่ดินติดกับ ซ.ร่วมฤดี อยู่ตรงกันข้ามกับอาคารชุด แอนธินี่ เรสซิเด้นท์ รั้วบ้านบ้านเดิมก็ตรงกับแนวหลักเขต เป็นไปไม่ได้ที่กำแพงรั้วของตนและของผู้อื่น ที่อยู่ในแนวเดียวกันจะรุกล้ำที่สาธารณะตามที่สำนักงานเขตปทุมวันอ้างต่อ ศาล

"แปลกใจมาก ที่ได้เห็นแผนที่รังวัดโดยสำนักงานเขตปทุมวัน ชี้ให้กรมที่ดินทำแผนที่รังวัดเมื่อวันที่ 9 พ.ย.50 กำหนดตำแหน่งตะปู แสดงเขตทาง ซ.ร่วมฤดีในแผนที่ ซึ่งล้ำเข้ามาในที่ดินลึกเข้ามา 40 กว่าเมตร โดยไม่ได้ทราบเรื่องมาก่อน" ศ.ไขแสง กล่าว

เขาบอกว่า กำแพงรั้วที่บ้าน ก็เป็นแนวเส้นตรง ต่อเนื่องจากรั้วข้างเคียง ติดต่อกันยาวประมาณ 600 เมตรจากปาก ซ.ร่วมฤดี ด้านถนนเพลินจิต จนถึงกำแพงรั้วของที่ก่อสร้าง และยังมีเสาไฟฟ้าเดิม ปักอยู่ห่างรั้วห่างจากขอบทางตามระยะ ตามที่ระบุไว้ในทะเบียนตลอดแนวตั้งแต่ปากซอย

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 19-3-52

พิมพ์ อีเมล

รื้อPDP (จับกระแสพลังงาน)

 9 มีนาคม ที่ผ่านมา มีการประชุม "คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ" หรือ กพช. วาระสำคัญอยู่ที่การปรับปรุง "แผนพัฒนาผลิตไฟฟ้าในระยะยาว" ครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ ระหว่างปี 2551-2564

ข้อสรุปที่ได้ คือ กพช.ได้ลดงบลงทุนตามแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศลง 4.68 แสนล้านบาท เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง จนทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าลดลง โดยงบลงทุนที่หายไปมาจากการ "เลื่อน" โครงการโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ต้องลงทุนปี 2552-2558 ออกไป 1 ปี นอกจากนี้ยังปรับแผน "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์" จากเดิมปี 2563-2564 จะสร้าง 2 โรง ปีละ 2,000 เมกะวัตต์ เหลือปีละ 1,000 เมกะวัตต์ และให้เลื่อนออกไป 1 โครงการเป็นเวลา 1 ปี

อย่างไรก็ดี แม้แผน PDP ฉบับปรังปรุงใหม่ จะมีการเลื่อนโครงการสร้างโรงไฟฟ้า และปรับลดกำลังการผลิตลงไป แต่กลับมี "ข่าวดี" มาถึงหมู่บ้านต่างๆที่ไฟฟ้ายัง "เข้าไม่ถึง" เพราะในการประชุม กพช.ครั้งนี้ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" นายกรัฐมนตรี ที่นั่งหัวโต๊ะเป็นประธานการประชุม ประกาศออกมาว่าทุกหมู่บ้านทั่วประเทศต้องมีไฟฟ้าใช้

เบื้องต้นรัฐบาลจะพิจารณาว่าจะเป็นผู้ดำเนินการเรื่องการจัดหาไฟฟ้า หรืออาจให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยปัจจุบันยังเหลืออีกเพียง 1-2% ของหมู่บ้านในประเทศไทยที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ และไม่มีการดำเนินการจากภาครัฐมากว่า 10 ปีแล้ว

ก็ต้องดูกันไปว่าหมู่บ้าน "ไกลปืนเที่ยง" ที่เหลืออยู่จะมีไฟฟ้าใช้ใน "รัฐบาลมาร์ค" หรือไม่ ยังงัยๆก็อย่าให้ชาวบ้านต้องรอเก้อแล้วกันนะ "โอบามาร์ค"

- แนวหน้า  10 มี.ค. 2552

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน