ดัดหลังปั๊มก๊าซ โกงหัวจ่ายมิเตอร์-ปัดเศษเงินทอน

ปั๊มก๊าซโกงปีละ80ล้าน

“พาณิชย์” ดัดหลังปั๊มก๊าซ โกงหัวจ่ายมิเตอร์-ปัดเศษเงินทอน เตรียมกำหนดเกณฑ์ปัดเศษมิเตอร์ เกิน 34 สตางค์ให้ปัดลง

 

นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยภายหลังตรวจสอบสถานีบริการก๊าซแอลพีจีว่า ได้รับร้องเรียนจากผู้บริโภค ผ่านสายด่วน 1569 ว่า มีสถานีบริการเติมก๊าซเชื้อเพลิงแอลพีจีและเอ็นจีวีให้บริการไม่เป็นธรรม โกงหัวจ่ายมิเตอร์เติมก๊าซไม่เต็มจำนวน และปัดเศษเงินมิเตอร์เกินจริงอีกด้วย เช่น เติมก๊าซแอลพีจี 80.30 บาท แต่ถูกเก็บเงิน 80.75 บาท หรือ 81 บาททันที

“ในช่วงนี้มีประชาชนแห่เติมก๊าซแอลพีจีและเอ็นจีวีเป็นจำนวนมาก เพื่อทดแทนการเติมน้ำมัน หลังจากที่ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศแพงขึ้น ซึ่งการโกงหัวจ่ายมิเตอร์ถือว่าเอาเปรียบประชาชน” นายยรรยง กล่าว

เบื้องต้นกรมได้ประเมินความเสียหายจากการฉวยโอกาสปัดเศษเงินค่าก๊าซขึ้นไปเป็นระยะเวลา 1 ปี จะทำให้ประชาชนเสียหายมากกว่า 80 ล้านบาท แยกเป็นการเสียหายจากผู้ใช้รถที่ใช้แอลพีจีกว่า 5.5 แสนคัน มีการใช้ปริมาณวันละ 21 ล้านลิตร เสียหายถึงวันละ 2.07 แสนบาท เสียหายตลอดทั้งปี 70 ล้านบาท

ขณะที่รถใช้เอ็นจีวีประมาณ 1.14 แสนคัน ปริมาณการใช้ 30 ล้านกิโลกรัมต่อวัน จะเสียหายวันละ 2.9 หมื่นบาท ทั้งปีเท่ากับ 10 ล้านบาท

แนวทางแก้ไขปัญหากรมจะกำหนดสูตรการปัดเศษหัวมิเตอร์ให้กับปั๊มก๊าซทั่วประเทศ หากเศษ หัวมิเตอร์ไม่ถึง 34 สตางค์ จะให้ปั๊มปัดเศษลง เช่น 190.33 บาทจะ ลดเหลือ 190 บาท แต่หากเกิน 34 สตางค์ จะปัดมาอยู่ที่ 50 สตางค์

กรณีเกิน 80 สตางค์ ถึงจะปัดให้เป็น 1 บาท และจะส่งสายตรวจสำรวจหัวมิเตอร์จ่ายก๊าซทั่วประเทศ โดยมีสถานีบริการแอลพีจี 560 สถานี หัวจ่าย 2,916 หัวจ่าย ส่วนเอ็นจีวี มี 300 สถานี หัวจ่าย 1,174 หัวจ่าย

นอกจากนี้ จะส่งหนังสือชี้แจงและกำชับให้สถานีบริการดำเนินการอย่างเข้มงวด หากมีพฤติกรรมเอาเปรียบให้ถือว่าเข้าข่ายกระทำผิดต่อกฎหมายว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ มีโทษจำคุก 7 ปี ปรับ 1.4 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ขณะเดียวกัน หากหัวจ่ายไม่ถูกต้องและจงใจแก้ไขจะถูกดำเนินคดีเช่นกัน มีโทษจำคุก 6 เดือน ปรับ 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-31 พ.ค. ที่ผ่านมา กรมได้ออกตรวจสอบสถานีบริการแอลพีจีแล้ว 239 สถานี มีหัวจ่ายผิดปกติ 50 หัวจ่าย ได้สั่งให้แก้ไขไปแล้ว

นสพ.โพสต์ทูเดย์ 17/6/52

พิมพ์ อีเมล

ปั้นค่าผ่านท่อก๊าซ มหากาพย์แอลพีจี

ปมคาใจ...กรณีคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติอนุมัติปรับขึ้นอัตราค่าผ่านท่อก๊าซให้กับ ปตท. จากเดิมเก็บที่ 19.75 บาทต่อล้านบีทียู เป็น 21.76 บาทต่อล้านบีทียู

อ่านต่อ

พิมพ์ อีเมล

ใช้แอลพีจีพุ่ง

เมื่อวันที่  25  พ.ค.กรมธุรกิจพลังงาน  (ธพ.)  เปิดเผยปริมาณการใช้ก๊าซหุงต้มในเดือน   เม.ย.อยู่ที่  3.66  แสนตัน  แม้ลดลงเมื่อเทียบกับเดือน  มี.ค.อยู่ที่  3.87  แสนตันก็ตาม  แต่ในเดือน  เม.ย.มีวันหยุดจำนวนมากและมีเหตุการณ์การชุมนุมทำให้มีปริมาณการใช้เชื้อเพลิงทั้งน้ำมันและก๊าซฯ  ลดลงด้วย  แต่สิ่งที่ต้องติดตามคือปริมาณการใช้ก๊าซหุงต้มในภาคปิโตรเคมีเพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปีเฉลี่ยเดือนละ  1  แสนตัน  และการใช้ในภาคขนส่งที่จะปรับเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมัน  ซึ่งอาจทำให้การใช้ก๊าซหุงต้มในเดือน  พ.ค.น่าจะอยู่ในระดับ  4  แสนตัน

     สำหรับการใช้ก๊าซหุงต้มในเดือน  เม.ย.แยกเป็นการใช้ภาคครัวเรือน  1.71  แสนตัน  ภาคอุตสาหกรรม   3.81  หมื่นตัน  ปั๊มก๊าซหุงต้ม  5.45  หมื่นตัน  และปิโตรเคมี  1.02  แสนตัน  โดยกลุ่มที่ขยายตัวชัดเจน  คือ  ภาคอุตสาหกรรมและปิโตรเคมี  เนื่องจากเศรษฐกิจมีสัญญาณดีขึ้นจากออเดอร์สินค้าทำให้โรงงานอุตสาหกรรมกลับมาเดินเครื่องผลิตสินค้าบางส่วน  นอกจากนี้ปัจจัยราคาน้ำมันที่มีทิศทางสูงขึ้นตามตลาดโลกและการขึ้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันทำให้แอลพีจีภาคขนส่งกลับมาขยายตัวเหมือนปีที่ผ่านมา  คาดว่าการนำเข้าในระยะถัดไปจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกันเฉลี่ยเดือนละ  6-8  หมื่นตัน  จากช่วงต้นปีอยู่ที่  2-4  หมื่นตันเท่านั้น  และบางเดือนอาจต้องนำเข้าถึง  1  แสนตัน

นายเมตตา  บันเทิงสุข  อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน  ยอมรับว่า  การใช้ก๊าซหุงต้มมีโอกาสเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจและราคาน้ำมันที่สูงขึ้นใกล้ระดับ  30  บาทต่อลิตร  โดยเฉพาะเบนซิน  95  ที่ใกล้ระดับ  40  บาทต่อลิตร

อย่างไรก็ตาม  กรมธุรกิจพลังงานจะช่วย  ปตท.บริหารจัดการการเก็บสำรองก๊าซหุงต้มให้เพียงพอ  เพราะความสามารถของคลังก๊าซฯ  ที่เขาบ่อยามีข้อจำกัด  ซึ่งในระยะสั้นอาจต้องใช้คลังก๊าซฯ  ของภาคเอกชนช่วยจัดเก็บก่อน  แต่ในอนาคต  ปตท.ต้องขยายคลังเพื่อรองรับการนำเข้า.

นสพ.ไทยโพสต์ 25/5/52

พิมพ์ อีเมล

กลุ่มปตท.อวดไตรมาส 2 กำไรแจ่ม

กลุ่มปตท.อวดไตรมาส 2 กำไรแจ่ม ได้สต๊อก 7,000 ล้านบาท ราคาน้ำมันขึ้นมาช่วย ส่วน PTTAR สเปรดเบนซีนพลิกเป็นบวก

อ่านต่อ

พิมพ์ อีเมล

ราคาน้ำมันที่เหมาะสม

เวลาเราพูดถึงราคาน้ำมันที่เหมาะสม จะมีคำถามถามมาตลอดว่าเหมาะสมกับอะไร และเหมาะสมกับใคร

เหมาะสมกับอะไร หมายถึง เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจอย่างไร ซึ่งแตกต่างกันไปตามนโยบายเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ และตามสภาพของทรัพยากรธรรมชาติทางด้านพลังงานของประเทศนั้นๆ หรือสังคมนั้นๆ

สำหรับประเทศที่ร่ำรวยทรัพยากรพลังงาน อย่างเช่นประเทศผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติรายใหญ่อย่างเช่นประเทศในกลุ่มโอเปกหรือนอกโอเปก ก็ตั้งราคาพลังงานให้เหมาะสมกับความร่ำรวยด้านพลังงานของตน เพื่อให้ประชาชนพอใจ ได้ใช้พลังงานในราคาถูกๆ อย่างเช่น เวเนซุเอลาตั้งราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินในประเทศถูกที่สุดในโลก ในราคาเพียง 1 บาทต่อลิตรเป็นต้น

ส่วนคำถามที่ว่าเหมาะกับใคร ก็หมายความว่าราคาน้ำมันที่เหมาะสมกับผู้ผลิตและผู้บริโภคย่อมต่างกัน ผู้ผลิตต้องการราคาน้ำมันสูงๆ เพราะเป็นรายได้ของตน ยิ่งสูงก็ยิ่งมีรายได้มากขึ้น ส่วนผู้บริโภคต้องการราคาน้ำมันต่ำๆ เพื่อลดรายจ่ายของตน นอกจากนั้นราคาน้ำมันยังมีผลต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ เพราะน้ำมันคือต้นทุนตัวหนึ่งในการผลิตและขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นประเทศที่กำลังพัฒนาหรือประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) จึงพยายามกดราคาน้ำมันให้ต่ำกว่าความเป็นจริง เพื่อบรรเทาภาระของประชาชนและเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัวมากๆ

ดังนั้นราคาน้ำมันที่เหมาะสมจึงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมาโดยตลอด ซึ่งปัจจุบันราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับลดลงอย่างถล่มทลายมาอยู่ที่ 40-50 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ชาติตะวันตกซึ่งเป็นผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่บอกว่าเหมาะสมกับปัจจัยพื้นฐานในขณะนี้แล้ว โดยให้เหตุผลว่าเศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะถดถอย ความต้องการน้ำมันมีแต่จะลดลง

แต่ประเทศผู้ผลิตก็โต้แย้งว่า ราคาที่ 40-50 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรลนั้นต่ำเกินไป เพราะไม่คุ้มกับการพัฒนาแหล่งผลิตน้ำมันใหม่ๆ ที่มีต้นทุนการผลิตสูง และจะทำให้โครงการขุดเจาะและสำรวจแหล่งพลังงานใหม่ๆ ต้องสะดุดหยุดลงหรือเลิกล้มโครงการกันไป และในอนาคตเมื่อเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวก็จะเข้าสู่วังวนหรือวัฏจักรเดิมๆ ที่ราคาน้ำมันจะแพงขึ้น เพราะปริมาณน้ำมันที่มีอยู่จะตึงตัว เนื่องจากความต้องการน้ำมันจะเพิ่มมากขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ดังนั้นจึงพอจะวางใจได้ว่าราคาน้ำมันในปีนี้น่าจะไม่สูงกว่า 60 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล และราคาปีหน้าน่าจะอยู่ที่ 70-75 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ถ้าเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวจริงในปี 2010 อย่างที่คาดการณ์กัน

ส่วนราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศไทยก็เช่นกัน เริ่มมีเสียงตำหนิติติงกันออกมาแล้วทั้งจากผู้บริโภคและสื่อว่าราคาสูงเกินไป เพราะผู้ค้าน้ำมันเอาเปรียบ ตั้งค่าการตลาดสูงเกินไป ดังนั้นประเด็นที่ควรหยิบยกขึ้นมาถกเถียงหาข้อสรุปกันโดยเร็วที่สุด คือค่าการตลาดที่เหมาะสมควรจะเป็นเท่าไร 1.50 บาทต่อลิตร หรือ 1.80 บาทต่อลิตร เพราะราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศที่เหมาะสมก็ขึ้นอยู่กับค่าการตลาดที่เหมาะสมด้วยเช่นกัน

ในส่วนของบริษัทน้ำมันนั้นผมใคร่ขอเสนอแนะว่า บริษัทน้ำมันควรเปลี่ยนแนวทางในการปรับราคาขายปลีกน้ำมันให้เป็นแบบ "ขึ้นเร็ว ลงเร็ว" เพื่อตอบสนองราคาน้ำมันในตลาดโลกอย่างทันท่วงที ไม่สร้างความสับสนให้กับผู้บริโภค เพราะข่าวสารเดี๋ยวนี้รวดเร็วและมีข้อมูลด้านน้ำมันเสนอกันทุกวัน เวลาราคาตลาดโลกลดลง ผู้บริโภคก็คาดหวังว่าราคาในประเทศต้องลดตามทันที

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2428 21 พ.ค. - 23 พ.ค. 2552

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน