ไม่เห็นด้วย! ต่อสัญญา BTS 30 ปี

news 14122020 bts30yearsมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดเสวนา “ต่อสัญญา BTS 30 ปี ได้หรือเสีย” เพื่อถกข้อดี - เสียของการต่อสัมปทานฯ องค์กรผู้บริโภค นักวิชาการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องชี้ ไม่เห็นด้วยกับการต่อสัมปทานฯ ครั้งนี้

อ่านต่อ

พิมพ์ อีเมล

มพบ. จี้ คปภ. เร่งลดความเหลื่อมล้ำ ย้ำผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถทัวร์ชนรถไฟต้องได้รับสิทธิคุ้มครองเต็มวงเงินประกันภัย

bus law

จากกรณีอุบัติเหตุรถไฟขนส่งสินค้าชนกับรถบัสคณะกฐินของพนักงานโรงงานเพอร์เฟค จังหวัดสมุทรปราการ บริเวณจุดตัดทางข้าม (จุดลักผ่าน) สถานีรถไฟคลองแขวงกลั่นที่ไม่มีเครื่องกั้นถนนข้ามทาง ตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2563 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 18 ศพ และบาดเจ็บอีกจำนวนมาก

ปัญหาอุบัติเหตุรถไฟชนรถบัสบริเวณแบบนี้ไม่ใช่เกิดขึ้นครั้งแรก เป็นบทเรียนซ้ำซากบนความสูญเสียที่ควรต้องป้องกันได้ ทั้งที่เป็นบริการขนส่งมวลชนที่รัฐต้องกำกับดูแลเรื่องคุณภาพบริการและมาตรฐานความปลอดภัยให้กับผู้บริโภคที่ใช้บริการ สะท้อนถึงความรับผิดชอบในระบบการจัดการและการป้องกันที่ขาดประสิทธิภาพจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นกรมการขนส่งทางราง การรถไฟแห่งประเทศไทย กรมการขนส่งทางบก ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ ที่มีจุดตัดทางข้ามหรือทางลักผ่านในพื้นที่ รวมถึงพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ให้บริการรถโดยสารสาธารณะที่ประมาทเลินเล่อ ขาดความคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคที่ใช้บริการ

นอกจากนี้ผลจากอุบัติเหตุยังพบปัญหาการชดเชยค่าสินไหมทดแทนที่ไม่เป็นธรรม แม้ว่ารถโดยสารไม่ประจำทางคันเกิดเหตุจะทำ พ.ร.บ.รถ หรือประกันภัยภาคบังคับและประกันภัยภาคสมัครใจ ที่มีวงเงินคุ้มครองของทั้งสองกรมธรรม์ กรณีผู้เสียชีวิตไว้กรมธรรม์ละ 500,000 บาทต่อราย (ค่าเสียหายรวมกันไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อครั้ง) แต่เมื่อเหตุการณ์ครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ทำให้วงเงินความคุ้มครองประกันภัยทั้งภาคบังคับและภาคสมัครใจตามสิทธิต่อรายต่อครั้งไม่เพียงพอ จึงต้องใช้หลักเฉลี่ยจ่ายค่าสินไหมทดแทน ทำให้ผู้เสียชีวิตได้รับเงินชดเชยจาก พ.ร.บ.รถ หรือประกันภัยภาคบังคับเพียง 311,551.72 บาท และประกันภัยภาคสมัครใจเพียง 361,551.72 บาท รวมทั้งสองกรมธรรม์เป็นเงิน 673,103.44 บาท เท่านั้น แทนที่ควรต้องได้รับสิทธิกรณีเสียชีวิตอย่างน้อยจากทั้งสองกรมธรรม์เป็นเงินจำนวนรวม 1,000,000 บาท ซึ่งสะท้อนถึงปัญหาระบบการชดเชยเยียวยาความเสียหายที่ไม่เป็นธรรมตามสิทธิที่ผู้บริโภคควรได้รับตามกฎหมาย
จากปัญหาที่เกิดขึ้น มูลนิธิเพื่อบริโภคจึงมีข้อเสนอที่สำคัญต่อการแก้ไขปัญหาเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนได้อย่างปลอดภัย และยกระดับมาตรฐานการชดเชยเยียวยาที่เหมาะสมเป็นธรรม ดังนี้

1. คปภ. และ กรมการขนส่งทางบก ควรต้องพิจารณาแนวทางปรับเพิ่มวงเงินความคุ้มครองประกันภัยสำหรับรถโดยสารขนาดใหญ่ให้สอดคล้องกับหลักการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามเกณฑ์การจ่ายของประกันภัยภาคบังคับและภาคสมัครใจในปัจจุบัน ที่มีเกณฑ์จ่ายกรณีเสียชีวิตรายละ 500,000 บาท โดยเพิ่มความคุ้มครองจาก 10 ล้านบาทต่อครั้ง เป็น 20 ล้านบาทต่อครั้ง เพื่อเป็นหลักประกันความเสี่ยง และให้ความคุ้มครองให้กับผู้บริโภคที่ใช้บริการเต็มตามสิทธิโดยไม่ต้องถูกละเมิดสิทธิซ้ำจากการถูกเฉลี่ยค่าสินไหมทดแทนที่ไม่เป็นธรรม
2. กรณีชดเชยเยียวยาตามสิทธิจากประกันภัยภาคบังคับและภาคสมัครใจ ควรจ่ายให้ผู้บาดเจ็บและทายาทผู้เสียชีวิตเต็มวงเงินความคุ้มครองกรณีค่ารักษาพยาบาลและค่าสินไหมทดแทน ก่อนที่จะแบ่งส่วนจ่ายค่าเสียหายอื่น ๆ เช่น ค่าซ่อมรถคันเกิดเหตุ เนื่องจากผู้โดยสารเป็นบุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายและไม่ได้มีส่วนกระทำความผิดจึงสมควรต้องได้รับการชดเชยเยียวยาเป็นลำดับแรก

พิมพ์ อีเมล

มพบ. รถไฟ และรถไฟฟ้า ร่วมกับกรมขนส่งทางราง ยกระดับเกณฑ์มาตรฐานบริการสถานีดีพร้อม

bus26.8.63

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2563 ณ ห้องประชุมมนังคศิลา ชั้น 2 อาคาร ณ ถลาง กรมการขนส่งทางราง โดยมีนายสรพงศ์ ไพฑูรยพงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เป็นประธานประชุมคณะทำงานด้านการประเมินระดับคุณภาพสถานีขนส่งทางราง ครั้งที่ 2/2563 โดยมีผู้แทนจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม สำนักการจราจรและขนส่งกรุงเทพมหานคร การรถไฟแห่งประเทศไทย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด สมาคมผังเมืองไทย เข้าร่วมประชุม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างเครือข่ายความร่วมมือและยกระดับมาตรฐานการบริการขนส่งทางรางในประเทศไทย

โดยมีการจัดกิจกรรมประเมินระดับคุณภาพสถานีขนส่งทางราง “สถานีดีพร้อม” ที่มุ่งให้เกิดการส่งเสริมการยกระดับมาตรฐานการบริการของผู้ประกอบกิจการขนส่งทางรางของไทย และสร้างขวัญกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่รับผิดชอบ ตลอดจนสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการขับเคลื่อนให้เกิดต้นแบบสถานีคุณภาพเพื่อขยายผลไปยังสถานีอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต ร่วมทั้งพิจารณาการกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกสถานีดีพร้อม แบ่งประเภทการประกวด 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสถานีรถไฟทั่วประเทศ และสถานีรถไฟฟ้า ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยเกณฑ์การคัดเลือกสถานีดีพร้อม แบ่งออกเป็น 5 ปัจจัย ได้แก่

  1. ด้านสุนทรียภาพ อัตลักษณ์ คุณค่า สถาปัตยกรรมและชุมชน
  2. ด้านความปลอดภัยและการเข้าถึง
  3. ด้านการบริหารจัดการที่น่าเชื่อถือหรือมีระบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม
  4. ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาวะที่ดี
  5. ด้านบุคลากรดีพร้อม

นายคงศักดิ์ ชื่นไกรลาศ ผู้แทนมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า เห็นด้วยกับกิจกรรมสถานีดีพร้อมของกรมการขนส่งทางราง เพราะจะเป็นการกระตุ้นผู้ให้บริการรถไฟและรถไฟฟ้าเกิดความตื่นตัวในการปรับปรุงคุณภาพและการให้บริการแก่ประชาชน นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อการพัฒนาและยกระดับคุณภาพบริการสถานีรถไฟและรถไฟฟ้าเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการขนส่งทางรางที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ

bus26.8.63 1

 ขอบคุณเครดิตภาพถ่ายจาก : กรมขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม

พิมพ์ อีเมล

มพบ. ร่วมกับ เครือข่ายผู้บริโภคภาคเหนือ จับมือขนส่งจังหวัดลำปาง ติวเข้มภาคีเครือข่ายรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย

 

School bus124

วานนี้ (18 สิงหาคม 2563) ณ โรงแรมลำปางเวียงทอง จังหวัดลำปาง สำนักงานขนส่งจังหวัดลำปาง ร่วมกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เครือข่ายผู้บริโภคภาคเหนือ และศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดลำปาง จัด “โครงการยกระดับความปลอดภัยของรถรับส่งนักเรียนจังหวัดลำปาง” ขึ้น โดยการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.) เพื่อระดมความคิดเห็นข้อเสนอแนะและทิศทางการขับเคลื่อนงานรถรับส่งนักเรียนปลอดภัยจังหวัดลำปางร่วมกันของทุกภาคส่วน

นายเอนก ชัยพิริยพิทักษ์ ขนส่งจังหวัดลำปาง เปิดเผยว่า แนวทางการแก้ไขปัญหารถรับส่งนักเรียนของกรมการขนส่งทางบกมุ่งเน้นเรื่องความมั่นคงแข็งแรงของตัวรถ และพนักงานขับรถเป็นสำคัญ จึงได้ออกมาตรการต่างๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการนำรถยนต์ส่วนบุคคลมาทำการรับจ้างรับส่งนักเรียน โดยต้องนำรถมาขออนุญาตให้ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของกฎหมาย ตามแนวปฏิบัติในการขออนุญาตใช้รถยนต์รับจ้างรับส่งนักเรียนของกรมการขนส่งทางบก เพื่อความปลอดภัยของการให้บริการและยกระดับพัฒนาผู้ประกอบอาชีพในการรับจ้างรับส่งนักเรียนของจังหวัดลำปางให้มีมาตรฐานความปลอดภัย

นายคงศักดิ์ ชื่นไกรลาศ นักวิชาการรถโดยสารสาธารณะปลอดภัย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า จากกรณีการเสียชีวิตของน้องกองบินในเหตุการณ์ลืมเด็กในรถรับส่งนักเรียนที่จังหวัดนครศรีธรรมราชนั้น สะท้อนถึงปัญหาความเสี่ยงของนักเรียนที่จำเป็นต้องเดินทางด้วยรถรับส่งนักเรียนในแต่ละวัน ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ยังไม่ได้รับการสนใจและแก้ไขจากภาครัฐเท่าที่ควร ขณะที่ยังพบปัญหาอีกหลายอย่างที่เกิดจากการใช้บริการรถรับส่งนักเรียน เช่น ความประมาทและพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ขับขี่ สภาพรถรับส่งนักเรียนดัดแปลงที่ไม่ปลอดภัย การใช้รถที่ไม่ได้ขออนุญาต มาตรการบังคับใช้ของกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับสภาพการใช้งานจริง การขาดองค์ความรู้ในการจัดการความปลอดภัยรถรับส่งนักเรียนของครู สถานศึกษา ตลอดจนการไม่รู้ถึงความเสี่ยงของเด็กนักเรียนและผู้ปกครองในการใช้บริการรถรับส่งนักเรียนที่ไม่ปลอดภัยนั้น ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความสูญเสียซ้ำซากที่เกิดจากอุบัติเหตุรถรับส่งนักเรียน

ซึ่งจากการระดมความคิดเห็นข้อเสนอแนะทิศทางร่วมกันขับเคลื่อนงานรถรับส่งนักเรียนปลอดภัยของผู้เข้าร่วมจากพื้นที่ 13 อำเภอ จังหวัดลำปาง ที่ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สำนักงานขนส่งจังหวัดลำปาง ครู นักเรียน และคนขับรถรับส่งนักเรียนได้ร่วมกันจัดทำข้อเสนอและทิศทางในการขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนที่สำคัญดังนี้

  1. ขอให้รัฐจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการเดินทางของนักเรียนในการเดินทางไปโรงเรียนให้เป็นนโยบายภาคบังคับ เพื่อเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานและความเสมอภาคทางการศึกษาให้กับเด็กนักเรียนทุกคน
  2. โรงเรียนต้องมีการจัดระบบรถรับส่งนักเรียนให้เกิดความปลอดภัย เช่น กำหนดจุดจอดรถรับส่งนักเรียนที่เหมาะสม มีการประชุมให้ความรู้กับผู้ประกอบการอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และมีระบบฐานข้อมูลจำนวนนักเรียน คนขับรถรับส่งนักเรียน โดยระบบฐานข้อมูลสามารถเชื่อมต่อข้อมูลร่วมกับโรงเรียนอื่นและหน่วยงานได้
  3. ผู้ประกอบการหรือคนขับรถรับส่งนักเรียน ต้องได้รับการรับรองจากโรงเรียนและขออนุญาตจากสำนักงานขนส่งจังหวัดทุกคัน มีการปรับปรุงสภาพคุณภาพมาตรฐานรถ มีพี่เลี้ยงท้ายรถ เพื่อความปลอดภัยของเด็กนักเรียนทุกคน
  4. สำนักงานขนส่งจังหวัดควรลงพื้นที่ให้ความรู้เรื่องการใช้รถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัยให้แก่นักเรียนและผู้ประกอบการรถรับส่งนักเรียนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

School bus3  School bus4

พิมพ์ อีเมล

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์เผยผลศึกษา โครงสร้างรายได้ที่เป็นธรรม พนักงานขับรถโดยสารช่วงวิกฤต Covid-19

bus04.08.63 1

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับ สำนักงานวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม (RDI) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์เผยผลการศึกษา “โครงสร้างรายได้ที่เป็นธรรม” ช่วยเหลือพี่น้องพนักงานขับรถโดยสารประจำทางในช่วงวิกฤต Covid

              ดร.ภูมิพัฒณ์ พงศ์พฤฒิกุล ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เผยช่วงโควิดพี่น้องพนักงานขับรถโดยสารประจำทางได้รับผลกระทบหนัก เนื่องจากนโยบายล็อคดาวน์และปิดเมืองในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ปริมาณลดลงกว่าร้อยละ 60-80 ส่งผลให้พนักงานขับรถโดยสารประจำทาง ไม่ว่าจะเป็นพนักงานขสมก. รถร่วมบริการ รถตู้ และรถทัวร์ ได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า

          มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคร่วมกับสำนักงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม (RDI) ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ จึงได้ทำการศึกษา “ความพึงพอใจของพนักงานขับรถโดยสารประจำทางที่มีต่อค่าตอบแทนทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน” เพื่อสร้างเป็นโมเดลต้นแบบการกำหนดค่าตอบแทนที่เป็นธรรม ช่วยบรรเทาผลกระทบวิกฤตโควิด เพิ่มความพึงพอใจของพนักงาน รักษาอัตราการคงอยู่ในอาชีพ เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และเพิ่มความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินผู้โดยสาร ผลการศึกษาพบปัจจัยกำหนดโครงสร้างที่เป็นธรรมประกอบด้วย 4 ปัจจัยที่จำเป็นและขาดไม่ได้ ได้แก่ ปัจจัยหลัก ปัจจัยร่วม ปัจจัยการสร้างแรงจูงใจ และการเพิ่มทักษะและประสิทธิภาพการทำงาน

            1) ปัจจัยหลัก เป็นปัจจัยทั่วไปของพนักงานขับรถและปัจจัยองค์กร เช่น ประสบการณ์ ขีดความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ ประสิทธิภาพการขับขี่ที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อผู้โดยสาร ความเชี่ยวชาญเส้นทาง ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่กำหนดรายได้ของพนักงาน ผนวกกับปัจจัยองค์กรที่จะต้องกำหนดให้สอดคล้องกัน เช่น การกำหนดรายได้ขั้นต่ำที่เพียงงพอและเป็นธรรม การให้ค่าตอบแทนที่ไม่เป็นตัวเงินหรือสวัสดิการ เช่น ค่าชดเชยวันหยุด ค่ารักษาพยาบาล ค่าเทอมบุตร เป็นต้น

bus04.08.63 2

              2) ปัจจัยร่วม นอกจากนี้ผลการศึกษาชี้ว่าปัจจัยร่วมด้วยหรือปัจจัยส่งเสริมอื่น ๆ มีความสำคัญไม่แพ้กัน เช่น เงินรางวัลเมื่อพนักงานขับรถได้ตามเป้าหมาย ค่าตอบแทนเหมาะสมกับงานทีได้รับมอบหมาย การปฏิบัติกับผู้โดยสารด้วยความเป็นมิตร การได้ใช้ความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง การได้รับการยกย่อง ชื่นชมจากผู้โดยสาร จำนวนวันหยุดที่เพียงพอ และเงินรางวัลและสวัดิการเพียงพอและครอบคลุมถึงครอบครัว เป็นต้น

              3) การสร้างแรงจูงใจ (Inspirational Factor) เป็นอีกปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้พนักงานขับรถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การสร้างแรงบันดาลใจในการทำงาน โดยการสร้างแรงบันดาลใจจะมีวิธีการดังนี้คือ 1) มีความพยายามในการพัฒนาวิธีการทำงานของตนเอง 2) เป็นโอกาสในการพัฒนาความรู้ความสามารถ 3) ได้รับความไว้วางใจจากองค์กร และ 4) ได้รับการยอมรับจากผู้โดยสาร

              4) การเพิ่มทักษะและประสิทธิภาพการทำงาน (Skill and Productivity Factor) ผลการศึกษาพบว่าการเปิดโอกาสให้พนักงานพัฒนาทักษะในการทำงานเป็นเรื่องสำคัญและทำให้พนักงานขับรถมีความพึงพอใจและภาคภูมิใจในอาชีพของตนเอง อีกทั้งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพิจารณาสร้างโครงสร้างรายได้ของผู้ขับรถโดยสาร ประกอบด้วย 8 ทักษะที่สำคัญ ดังนี้ 1) มีความรู้ความสามารถในการขับรถ 2) การนำความรู้ไปใช้จริง 3) ใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 4) มีความสามารถในการแก้ไขเฉพาะหน้า 5) มีความรับผิดชอบ 6) มีความอิสระในการแก้ไขปัญหา 7) มีความชำนาญในเส้นทาง และ 8) มีเครือข่ายที่ดีในการทำงาน

              ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เมื่อองค์กรกำหนดโครงสร้างค่าตอบแทนที่เป็นธรรมมีหลายประการ ดร.ภูมิพัฒณ์ กล่าวว่า ไม่ว่าจะเป็นผลที่เกิดกับองค์กรเอง จะทำให้องค์กรประหยัดต้นทุนที่ไม่จำเป็นเพราะพนักงานต่างร่วมด้วยช่วยกันประหยัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ช่วยรักษาอัตราการคงอยู่ในการทำงาน และยังช่วยให้พนักงานเกิดความภาคภูมิใจและรักในองค์กร ส่วนประโยชน์ที่เกิดขึ้นต่อพนักงานขับรถนั้นก็มีมากมาย เช่น ได้รับรายได้ที่เพียงพอและเป็นธรรม มีสวัสดิการครอบคลุมถึงครอบครัว และมีโอกาสในการพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นในอาชีพ และที่สำคัญที่สุดคือเมื่อพนักงานมีความพึงพอใจและรักในอาชีพของตนเอง จะคำนึงถึงผู้โดยสารมากขึ้น ความปลอดภัยในการขับขี่ก็มีมากขึ้นทำให้เกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ร่วมเดินทางบนท้องถนนได้อีกด้วย 

เรียบเรียงโดย วราวุฒิ พุทธรัตน์

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน