ปัญหาการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะนับเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทุกวันกับผู้บริโภคที่ต้องใช้บริการ แต่ก็มีบางส่วนยอมที่ทนความยากลำบากเพื่อให้ถึงจุดหมายปลายทางที่รวดเร็วและตรงเวลาทำงาน ซึ่งก็ส่งผลกระทบการสภาพจิตใจในการทำงาน เช่น มีความหงุดหงิด มีความตื่นกลัว หรือ หดหู่กับสิ่งที่พบเจอ
ศูนย์ข้อมูล มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายผู้บริโภค 7 ภาค เปิดเผยข้อมูลร้องเรียนจากผู้บริโภคกรณีการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ โดยข้อมูลตั้งแต่ 2560 จนถึงเดือนกรกฎาคม 2561 มีผู้บริโภคร้องเรียนด้านรถโดยสารสาธารณะ ทั้งหมด 729 ราย
ทั้งนี้ปัญหาพฤติกรรมรถจักรยานยนต์รับจ้าง ถูกร้องเรียนดังนี้ 1. ถูกเรียกเก็บค่าโดยสารเกินอัตรา / เก็บแพงกว่าป้ายที่ระบุ 2. ขับรถเร็ว หวาดเสียว เกิดอุบัติเหตุ 3. ใช้วาจาไม่สุภาพกับผู้โดยสาร ซึ่งปัญหาผู้บริโภคด้านการใช้บริการรถจักรยานยนต์รับจ้างเริ่มเพิ่มมากขึ้นทุกปี เกิดจากผู้บริโภคไม่รู้สิทธิตนเอง หรือไม่สนใจสิทธิของตนเอง รวมถึงการไม่มีเวลาที่จะจัดการเรื่องร้องเรียน จึงทำให้ปัญหาถูกละเมิดสิทธิมีเพิ่มมากขึ้น
ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนได้ใช้กระบวนจัดการเรื่องร้องเรียนโดยการประสานไปยังสำนักงานเขต และกรมการขนส่งเพื่อให้ตรวจสอบ ยังพบปัญหาผู้บริโภคที่ร้องเรียนไม่ได้จดจำเลขทะเบียน หรือเบอร์เสื้อวินรถจักรยานยนต์รับจ้าง การแก้ไขปัญหาจึงมีความล่าช้า
ดังนั้นหากผู้บริโภคพบว่ามีจักรยานยนต์รับจ้างที่ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ สามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนได้ โดยให้ผู้บริโภคดำเนินการดังนี้
- จดจำวันเวลาที่เกิดเหตุ
- จำชื่อ-สกุลที่ติดตรงเสื้อวิน หรือจำเลขเสื้อวิน
- จดทะเบียนรถจักรยานยนต์
- จดสถานที่เกิดเหตุ
- ร้องเรียนได้ที่ กรมการขนส่งทางบก สายด่วน 1584 , มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค 02-2483737
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง