คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) จัดการเลือกตั้งเลือกตั้งคณะกรรมการ (คอบช.) ครั้งที่ 2 หลังคณะกรรมการฯ ชุดแรกหมดวาระหลังการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) จัดการเลือกตั้งเลือกตั้งคณะกรรมการ (คอบช.) ครั้งที่ 2 โดยเลือกตั้งผู้เชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองผู้บริโภค 7 ด้าน และผู้แทนองค์กรผู้บริโภคระดับเขต จำนวน 8 เขต ซึ่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองผู้บริโภค 7 ด้าน ประกอบด้วย 1. ด้านการเงินและการธนาคาร มีผู้สมัคร 2 ท่านนั่นคือ นายกมล กมลตระกูลและดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ 2.ด้านบริการสาธารณะ มีผู้สมัคร 1 ท่านนั่นคือ ผศ.ประสาท มีแต้ม 3.ด้านที่อยู่อาศัย มีผู้สมัคร 1 ท่านนั่นคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ 4.ด้านบริการสุขภาพ ผู้สมัคร 2 ท่านนั่นคือ นางสนธยา ทองพันธุ์ และ นางสาวสุภัทรา นาคะผิว 5.ด้านสินค้าและบริการทั่วไป มีผู้สมัคร 1 ท่านนั่นคือ ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง 6.ด้านสื่อสารและโทรคมนาคม มีผู้สมัคร 2 ท่านนั่นคือ ผศ.รุจน์ โกมลบุตร และ นายภาดร ผลาพิบูลย์ 7.ด้านอาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผู้สมัคร 2 ท่านนั่นคือ ภก.ภาณุโชติ ทองยัง และ ผศ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข
ผลการเลือกตั้งผู้เชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองผู้บริโภค 7 ด้านนั่นคือ 1. ด้านการเงินและการธนาคาร ได้แก่ ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ 2.ด้านบริการสาธารณะ ได้แก่ ผศ.ประสาท มีแต้ม 3.ด้านที่อยู่อาศัย ได้แก่ ผศ.จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ 4.ด้านบริการสุขภาพ ได้แก่นางสาวสุภัทรา นาคะผิว 5.ด้านสินค้าและบริการทั่วไป ได้แก่ ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง 6.ด้านสื่อสารและโทรคมนาคม ได้แก่ ผศ.รุจน์ โกมลบุตร 7.ด้านอาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่ ผศ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข
การเลือกตั้งผู้แทนองค์กรผู้บริโภคระดับเขต จำนวน 8 เขต ผลการเลือกตั้งได้ผู้แทนเขตนั่นคือ
เขต 1 ภาคกลาง ได้แก่ นางสาวชลดา บุญเกษม ประกอบด้วย จังหวัดสิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี นครนายก พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ปทุมธานี และสระบุรี
เขต 2 ภาคตะวันออก ได้แก่ น.ส.สุภาวดี วิเวก ประกอบด้วย จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี สระแก้ว และสมุทรปราการ
เขต 3 ภาคอีสานตอนบน ได้แก่ นายปฏิวัติ เฉลิมชาติ ประกอบด้วย จังหวัดอุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย เลยสกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม ชัยภูมิและบึงกาฬ
เขต 4 ภาคอีสานตอนล่าง ได้แก่ นางอาภรณ์ อะทาโส ประกอบด้วย จังหวัดมุกดาหาร ร้อยเอ็ด นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และยโสธร
เขต 5 ภาคเหนือ ได้แก่ นางสุภาพร ถิ่นวัฒนากูล ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน พิษณุโลก ตาก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี กำแพงเพชร ชัยนาทและพิจิตร
เขต 6 ภาคตะวันตก ได้แก่ น.ส.บุญยืน ศิริธรรม ประกอบด้วย จังหวัดนครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
เขต 7 ภาคใต้ ได้แก่ ภญ.ชโลม เกตุจินดา ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานีนครศรีธรรมราช ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง พัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา และสตูลด
เขต 8 กรุงเทพมหานคร ได้แก่ นายสมชาย กระจ่างแสง
อนึ่งวิธีการคัดเลือกผู้แทนจากผู้เชี่ยวชาญ และผู้แทนจากองค์กรผู้บริโภคระดับเขต มีขั้นตอนดังนี้
1. สำนักงานเลขานุการ ตรวจสอบคุณสมบัติองค์กรผู้บริโภค จัดทำบัญชีรายชื่อผู้แทนองค์กรผู้บริโภคเขต และบัญชีรายชื่อผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ
2. ประกาศบัญชีรายชื่อองค์กรผู้บริโภคที่มีสิทธิคัดเลือกกรรมการ และรายชื่อกรรมการที่มีสิทธิเลือกตั้งต่อสาธารณะ
3. จัดประชุมผู้แทนองค์กรผู้บริโภคที่ได้รับการขึ้นทะเบียน เพื่อคัดเลือกกันเองให้ได้คณะกรรมการ เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค 15 คน โดยคำนึงถึงสัดส่วนหญิงชายที่ใกล้เคียงกัน
ผู้แทนจากผู้เชี่ยวชาญ
ก. ให้ผู้แทนองค์กรผู้บริโภคที่มาประชุม ลงคะแนนคัดเลือกจากบัญชีรายชื่อผู้เชี่ยวชาญทั้ง 7 ด้านโดยองค์กรผู้บริโภค มีสิทธิลงคะแนนเลือกผู้เชี่ยวชาญด้านละ 1 คนเท่านั้น
ข. นับคะแนน และจัดทำบัญชีรายชื่อผู้เชี่ยวชาญที่คะแนนสูงสุดพร้อมบัญชีสำรองด้านละ 5 คน
ค. ผู้ได้รับคะแนนสูงสุด เป็นผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นๆ
ผู้แทนจากองค์กรผู้บริโภคระดับเขต
ก. แบ่งกลุ่มผู้แทนองค์กรผู้บริโภคที่มาประชุม 8 กลุ่ม ตามเขตพื้นที่
ข. ให้ที่ประชุมแต่ละกลุ่มคัดเลือกกันเองให้ได้ผู้แทนองค์กรผู้บริโภคในเขตนั้นๆ จำนวน 1 คน และขึ้นบัญชีสำรองไว้ 5 คน
ค. วิธีการคัดเลือก ให้เป็นไปตามที่ประชุมในแต่ละเขตพื้นที่กำหนด