ฉลาดใช้-เลือกซื้อสินค้าไฟฟ้า

ภาย ใต้ภาวะปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก ทำให้ผู้บริโภคต้องได้รับความเดือดร้อนในค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้น การใช้จ่ายใดๆ ต้องมีความรอบคอบและคุ้มค่า การให้การศึกษาแก่ผู้บริโภคที่จะตระหนักในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้ มาตรฐานเป็นวิธีการหนึ่งเพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานสินค้าที่ผลิตหรือที่ นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศ

กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จึงได้มอบหมายให้สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ดำเนินการ "โครงการเผยแพร่ ความรู้ด้านมาตรฐานสินค้าและการคุ้มครองผู้บริโภค" เพื่อรณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคได้ทราบถึงอันตรายจากการใช้ สินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้มาตรฐาน และวิธีการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้อง

โดยทางสถาบันไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ ได้มีการสุ่มตัวอย่างเพื่อทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่อาจก่อ ให้เกิดความเสียหายหรืออันตรายแก่ผู้บริโภคที่วางจำหน่ายในแหล่งจำหน่ายใน ท้องตลาด

ผลจากการสำรวจตลาด ตามแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ตลาดเปิดท้าย ตลาดนัด ตลาดคลองถม ตลาดบริเวณชายแดน หรือแม้กระทั่ง ตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป จะพบว่ามีสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานจากต่างประเทศ ที่มีราคาถูก แฝงตัวอยู่เยอะ เช่น ถ่านไฟฉาย 4 ก้อน 10 บาท หลอดตะเกียบหลอดละ 20 บาท ที่หนีบผมราคา 90 บาท เครื่องเป่าผม ราคา 100 บาท หรือแม้กระทั่ง กาต้มน้ำราคา 39 บาท


กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จึงรณรงค์ให้ผู้บริโภคได้ทำความเข้าใจและรู้จัก เลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ถูกต้อง และได้ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ซึ่งมีจำนวนผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 17 ผลิตภัณฑ์ โดยจะมีฉลากของ มอก. ซึ่งมีสองแบบด้วยกัน ซึ่งผู้บริโภคสามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเอง คือ

1.เครื่องหมายมาตรฐาน ทั่วไป ซึ่งเป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดจาก ทาง สมอ. ซึ่งเป็นหลักประกันให้กับผู้บริโภคว่า ผลิตภัณฑ์นั้นมีคุณภาพ ปลอดภัย คุ้มค่า และสมราคา

2.เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ เป็นเครื่องหมายที่กฎหมายกำหนดให้เป็นไปตามมาตรการเพื่อคุ้มครองความปลอดภัย ให้กับผู้บริโภค และป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่เศรษฐกิจของประเทศ

3.ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 เครื่องหมายบ่งบอกถึงผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการยอมรับว่าประหยัดไฟฟ้า ที่เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้บริโภค

นอก จากนี้ การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐานเหล่านี้ นอกจากจะเป็นอันตรายต่อชีวิตแล้ว อายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็ค่อนข้างสั้น อีกทั้งยังสิ้นเปลืองค่าไฟฟ้าซึ่งไม่คุ้มค่ากับเงินที่ต้องสูญเสียไป และเป็นการส่งเสริมผู้ประกอบการค้าหรือผู้นำเข้าที่ผิดกฎหมายซึ่งจะส่งผลต่อ ภาครัฐขาดรายได้ ค่าธรรมเนียม ในการยื่นขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์อีกด้วย

สำหรับ ข้อสังเกตในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าเพื่อให้ตรงตามมาตรฐานนั้น ผู้บริโภคสามารถลองเช็กความต้านทานของฉนวน และแรงดันไฟฟ้า เต้า เสียบและเต้ารับไม่หลวมหรือแน่นจนเกินไป ความทนทานของวัสดุฉนวนกันความร้อน ซึ่งสินค้าที่ได้มาตรฐานเช่น ปลั๊กไฟ หากเกิดการไฟลุกไหม้จะสามารถดับด้วยตัวเองภายใน 30 นาที แต่ถ้าเป็นสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน จะเกิดการชอร์ตและลุกลามไปอย่างรวดเร็ว

ใส่ใจกับการบริโภคสินค้าเหล่านี้อีกสักเล็กน้อย ก็สามารถใช้สินค้าที่มีมาตรฐาน คุ้มกันทั้งชีวิตและเงินในกระเป๋าอีกด้วย

นสพ.ข่าวสด 16-3-52

พิมพ์ อีเมล

สมอ.ร่างเกณฑ์สินค้าไฟฟ้า ดักสารต้องห้ามก่อนส่งอียู

สมอ.จับมือเอ็มเทคร่างมาตรฐานจำกัดสารต้องห้าม ในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ กลั่นกรองผลิตภัณฑ์ก่อนส่งออกอียู เล็งประกาศใช้ปี 53 ด้านกรรมาธิการยุโรปแนะไทยรอดูร่าง RoHS ฉบับทบทวนก่อนการบังคับใช้

นายหทัย อู่ไทย รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวถึงการจัดทำระเบียบ RoHS ของประเทศไทย (ThaiRoHS)ว่า สมอ.จะจัดทำแผนหลักว่าด้วยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่จะบังคับตามระเบียบดังกล่าว โดยในเดือนเม.ย.จะประชุมระดมความคิดเห็น จากกลุ่มผู้ประกอบการ ภาคนโยบายและนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อสรุปและออกเป็นคู่มือสำหรับผู้ประกอบการเตรียมตัวรับระเบียบ ใหม่ ก่อนที่จะประกาศเป็นระเบียบบังคับใช้เฟสแรกในอีก 2 ปีถัดไป

RoHS หรือระเบียบการว่าด้วยการจำกัดสารที่เป็นอันตรายบางประเภทในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ สหภาพยุโรปบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ก.ค.2549 ระบุห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ปนเปื้อนสารอันตราย 6 ชนิดคือ ตะกั่ว, ปรอท, แคดเมียม, เฮกซาวาเลนต์, โครเมียม พอลิโบรมิเนต ไบฟีนิลส์ (PBB) และพอลิโบรมิเนต ไดฟีนิลส์ อีเทอร์ (PBDE) ขณะที่ไทยส่งออกผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปอียูกว่าปีละ 1.5 ล้านล้านบาท จึงจำเป็นต้องเดินตามกฎข้อบังคับเพื่อเพิ่มหรือคงปริมาณการส่งออกสินค้า

"เราจำเป็นต้องกำหนดกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่าย บังคับใช้ RoHS ให้ชัดเจน เพราะผลิตภัณฑ์บางชนิดอย่างอุปกรณ์การแพทย์และเครื่องควบคุม รวมถึงผลิตภัณฑ์กลุ่มส่องสว่าง สำหรับระเบียบของไทยแล้วไม่รวมอยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์" นายหทัย กล่าว

นายคริส สมิธ หัวหน้าทีม U.K. RoHS Enforcement และประธานเครือข่ายเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย RoHS ของสหภาพยุโรป กล่าวว่า การบังคับใช้ RoHS ของสหราชอาณาจักร จะพิจารณาจากเอกสารการรับรอง ระบบข้อมูลย้อนหลังและประวัติบริษัท หากพบผลิตภัณฑ์ไม่ผ่าน ก็จะนำเสนอเรื่องสู่สาธารณะ เพื่อเป็นตัวอย่างให้ผู้ประกอบการรายอื่นได้เรียนรู้ และไม่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก

สหราชอาณาจักรยังมีข้อยกเว้นเฉพาะกรณีตรวจพบสาร อันตรายในผลิตภัณฑ์ โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการพิสูจน์แก้ข้อกล่าวหา อย่างไรก็ตาม กลไกลักษณะนี้มีใช้ในบางประเทศสมาชิกเท่านั้น เนื่องจากข้อจำกัดทางกฎหมาย ฉะนั้น ผู้ส่งออกจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลของประเทศคู่ค้าให้ชัดเจน

น.ส.มาดาลินา คาปรูซู เจ้าหน้าที่นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม คณะกรรมาธิการยุโรป กล่าวว่า แม้ว่า RoHS ได้รับการตอบรับที่ดีจากประเทศต่างๆ แต่ยังต้องทบทวนกฎหมายโดยคณะกรรมาธิการสภาพยุโรป ที่อาจจะเพิ่มชนิดสารต้องห้ามรวมถึงปรับปรุงรายการข้อยกเว้น ด้วยเหตุนี้ การประกาศใช้ ThaiRoHS ควรจะรอผลการทบทวนดังกล่าวก่อน

กรุงเทพธุรกิจ - 11 / 3 / 52

พิมพ์ อีเมล

ฟ้องสัมพันธ์ประกันภัย เป็นคดีผู้บริโภค

บุญยืน ศิริธรรม เป็นอีกหนึ่งผู้บริโภค ที่ยื่นฟ้องบริษัท สัมพันธ์ประกันภัย จำกัด และคณะผู้บริหาร ฐานผิดสัญญาไม่จ่ายค่าสินไหมทดแทน เป็นคดีผู้บริโภคเรียกค่าเสียหายด้วยตนเอง ตามพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค

อ่านต่อ

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน