ยกเครื่อง กฏหมายขายตรง

นายนิโรธ เจริญประกอบ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยว่า สคบ. จะเชิญผู้ประกอบการสมาคมอุตสาหกรรมขายตรงและสมาคมขายตรง พร้อมคณะกรรมการทั้ง 2 สมาคม มาระดมสมองเพื่อหาแนวทางปรับปรุงกฎหมายขายตรงฉบับใหม่ให้คุ้มครองทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการได้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เพราะร่างกฎหมายที่แก้ไขอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งควรทบทวนให้รอบคอบชัดเจนมากยิ่งขึ้น 


“ยอมรับว่ากฎหมายขายตรงนั้นมีช่องโหว่มาก แม้จะมีการแก้ไขไปแล้วโดยเฉพาะเรื่องการจ่ายผลตอบแทนให้กับนักขาย หรือ นักธุรกิจอิสระ ที่ไม่เป็นไปตามข้อตกลง รวมไปถึงการคุ้มครองดูแลผู้ขายอิสระให้ได้รับความเป็นธรรมจากกรณีมีการนำสินค้าไปจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าโดยตัดราคามากเกินไป ทำให้ผู้ขายอิสระได้รับความเดือดร้อน.



สคบ.ลุยยกเครื่อง กฏหมายขายตรง
นสพ.แนวหน้า 18/05/52

พิมพ์ อีเมล

22 ผู้ประกอบการคว้า “อย.ควอลิตี้ อะวอร์ด'52” ผลิตภัณฑ์ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

 สธ.จัดงานใหญ่มอบรางวัล อย.ควอลิตี้ อะวอร์ด ประจำปี 2552 รวม 22 รางวัล ส่งเสริมผู้ประกอบการที่มีคุณธรรมและจริยธรรมในการผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพให้ได้มาตรฐานและปลอดภัยต่อผู้บริโภค
       
       นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การจัดกิจกรรมส่งเสริม จริยธรรมผู้ประกอบการ หรือ อย. Quality Award (อย.ควอลิตี้ อะวอร์ด) ประจำปี 2552 ในครั้งนี้ นับว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างยิ่ง เพราะเป็นการร่วมมือร่วมใจกันระหว่างสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และผู้ประกอบการในการดำเนินการให้ผลิตภัณฑ์สุขภาพมีคุณภาพมาตรฐานและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ภายใต้คำขวัญ “คุณภาพ ปลอดภัย ใส่ใจสังคม” ซึ่งในวันนี้ อย.จัดให้มีพิธีการมอบรางวัล อย.Quality Award 2009 ให้แก่ผู้ประกอบการที่ดำเนินงานอย่างมี คุณภาพ มีการประกอบการที่ดี มีจริยธรรม ดำเนินงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายและมีความรับผิดชอบต่อสังคม
       
       นายวิทยา กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ผู้ประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับรางวัล แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ อาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน และผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งในครั้งนี้มีผู้ประกอบการที่ได้รับการคัดเลือกรวมทั้งสิ้น 22 รางวัล โดยมีรายชื่อดังต่อไปนี้ 1.บริษัท โชติวัฒน์อุตสาห-กรรมการผลิต จำกัด 2.บริษัท เทพผดุงพร มะพร้าว จำกัด 3.บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) 4.บริษัท ยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) 5.บริษัท วันไทยอุตสาหกรรมการอาหาร จำกัด
       
       6.บริษัท สุรพลนิชิเรฟู้ดส์ จำกัด 7.บริษัท ไอ.พี.แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด 8.บริษัท ขาวละออเภสัช จำกัด 9.บริษัท ไบโอแลป จำกัด 10.บริษัท เมก้า ไลฟ์ไซแอ็นซ์ จำกัด 11.บริษัท โรเดีย ไทย อินดัสตรีส์ จำกัด 12.บริษัท องค์การเภสัชกรรม-เมอร์ริเออร์ชีววัตถุ จำกัด 13.บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ แลบบอราทอรี่ แอนด์ เฮลท์แคร์ จำกัด

        
       14.บริษัท คอลเกต-ปาล์มโอลีฟ (ประเทศไทย) จำกัด 15.บริษัท ยูนิลีเวอร์ไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด 16.บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด 17.บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรี่ จำกัด 18.บริษัท คาวาซูมิ ลาบอราทอรี่ (ประเทศไทย) จำกัด 19.บริษัท สยามเซมเพอร์เมด จำกัด 20.บริษัท ไบรด์ บิวตี้ แคร์ คอสเมติก จำกัด 21.กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเขาบายศรี และ 22.กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสามัคคีโพธิ์ประทับช้าง
       

       รมว.สธ.กล่าวด้วยว่า โครงการนี้จัดขึ้นเป็นปีแรก แต่จะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยคัดเลือกผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสำคัญ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผู้ประกอบการที่ทำดี และเป็นแบบอย่างให้แก่ผู้ประกอบการรายอื่น ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการมีคุณธรรมและจริยธรรมในการผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้มาตรฐานและปลอดภัยสู่ประชาชน ก็จะช่วยลดปัญหาอันตรายที่อาจได้รับจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ อีกทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคในการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างปลอดภัย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์14 พฤษภาคม 2552

พิมพ์ อีเมล

สหรัฐจับตาไทยละเมิดลิขสิทธิ์ คงสถานะเดิม‘พีดับเบิลยูแอล’

โพสต์ทูเดย์ — เป็นไปตามคาด สหรัฐจัดไทยอยู่ในบัญชีต้องจับตามองเป็นพิเศษ ในฐานะประเทศคู่ค้าที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

นายอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า สหรัฐอเมริกาได้ประกาศผลการจัดอันดับไทยตามกฎหมายการค้ามาตรา 301 พิเศษ ประจำปี 2552 แล้ว และยังคงให้ไทยเป็นประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ (พีดับเบิลยูแอล) เหมือนกับปี 2551

สหรัฐให้เห็นผลว่าการคุ้มครอง และบังคับใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของไทยยังคงสร้างความห่วงกังวลให้ กับสหรัฐ ซึ่งเป็นการใช้ข้อมูลของปี 2551 ทั้งที่ไทยได้แก้ไขปัญหาไปมากแล้วในปีนี้

ขณะเดียวกัน สหรัฐยังหวังให้ไทยสานต่อการทำงาน เพื่อให้การละเมิดลิขสิทธิ์ ซีดี ซอฟต์แวร์ สัญญาณเคเบิล และหนังสือลดน้อยลง ตลอดจนมีการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาความล่าช้าในการจดทะเบียนสิทธิบัตร และขอให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิทธิบัตรยา และหวังว่าไทยจะพิจารณาแก้ปัญหาสาธารณสุขในเชิงที่ส่งเสริมการลงทุนพัฒนาวิจัยและเสถียรภาพระบบสิทธิบัตร

นายอลงกรณ์ กล่าวด้วยว่า การ จัดสถานะครั้งนี้มี 12 ประเทศที่อยู่ในบัญชีพีดับเบิลยูแอล ได้แก่ จีน รัสเซีย แอลจีเรีย อาร์เจนตินา แคนาดา ชิลี อินเดีย อินโดนีเซีย อิสราเอล ปากีสถาน เวเนซุเอลา และไทย

ภญ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ผลการตัดสินที่เกิดขึ้น ระบุถึงการที่รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไปสัญญาที่จะให้ความสำคัญในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาให้สูงขึ้น จนทำให้ผู้แทนการค้าสหรัฐมีความพอใจและคงสถานะของประเทศไทยไว้ ไม่ให้ปรับเป็นประเทศที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาขึ้นสูงสุด (พีเอฟซี)

รัฐบาลควรบริหารประเทศอย่างโปร่งใสด้วยการเปิดเผยแผนปฏิบัติการที่รมช.พาณิชย์ไปสัญญากับทางยูเอสทีอาร์ทันที เพราะมาตรา 301 ของสหรัฐ เป็นเครื่องมือกดดันประเทศต่างๆ เพื่อตัวเองจะได้ของแถมที่เกินไปกว่าความตกลงทรัพย์สินทางปัญญา (ทริปส์) ทำให้ไทยเสียเปรียบ

“อยากเตือนกระทรวงพาณิชย์ ควรทำงานในหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพ แล้วไทยจะหลุดจากพีดับเบิลยูแอลเอง” ภญ.จิราพร กล่าว

ข้อมูลจาก นสพ.โพสต์ทูเดย์ 2/5/52

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน