วินาศภัยเฮ! ราคากลางใหม่ค่าซ่อมรถแล้วเสร็จ เผยละเอียดยิบกว่าเดิม แยกตามขนาดแล้วยังแยกย่อยตามยี่ห้อ-ชิ้นงานด้วย มีทั้งถูก-แพงกว่าเดิม ถัวเฉลี่ยไปตามชิ้นงาน ชัดสุดรถตู้โตโยต้าคอมมูเตอร์ขนาด-ชิ้นงานใหญ่ขึ้น ราคาแพงขึ้น 10-15% ขณะโตโยต้ายาริสยิ้มร่าค่าซ่อมถูกกว่าเดิม เหตุชิ้นงานบางชิ้นขนาดเล็กลง ยอมรับราคาอู่กลางแพงกว่า แต่ไม่ทุกตัว เหตุไม่ได้นำมาเทียบตั้งแต่ ต้น เกรงไขว้เขว เทียบกับราคา เดิมที่ใช้อยู่เท่านั้นคาดประกาศ ใช้ใน 1-2 เดือนนี้หลังเสนอ คณะกรรมการประกันภัยยานยนต์ตรวจสอบ
แหล่งข่าวจากคณะทำ งานราคากลาง สมาคมประกันวินาศภัย
เปิดเผย “สยามธุรกิจ” ว่า ขณะนี้คณะทำงานได้จัดทำราคากลางค่าซ่อมรถยนต์เสร็จแล้ว เหลือเพียงแต่การตรวจสอบ เพื่ออนุมัติใช้เท่านั้น ทั้งนี้ราคากลางค่าซ่อมดังกล่าว เป็น การจัดทำขึ้นใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับความ เป็นจริงในปัจจุบัน โดยคณะทำงานมาจาก 10 บริษัทประกันวินาศภัยชั้นนำของตลาด ประกันภัยรถยนต์ อาทิ วิริยะประกันภัย กรุงเทพประกันภัย สินมั่นคงประกันภัย ธนชาตประกันภัย เป็นต้น ผ่านการกลั่นกรองมาอย่างแล้วหลายชั้น จึงมั่นใจได้ใน ความเหมาะสม โดยใช้เวลาในการจัดทำราว 3-4 เดือน จึงได้ราคาค่าซ่อมกลางใหม่นี้ขึ้นมา โดยมีความแตกต่างจากของเดิม คือ มีความละเอียดมากขึ้น จากเดิมที่จะกำหนดราคาค่าซ่อม โดยแยกตามประเภทรถเพียงแค่ ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ และรถญี่ปุ่น หรือรถยุโรปเท่านั้น แต่ของ ใหม่มีความละเอียดมากขึ้นโดยแยกย่อยไปถึงยี่ห้อ และรุ่นของรถด้วย เช่น โตโยต้า ก็จะมีการแยกราคาตามรุ่นไปเลย เช่น แคมรี่ วีออส ยาริส เป็นต้น และแยกราคา ตามชิ้นด้วย จากเดิมที่แยกเฉพาะขนาดรถเท่านั้น ซึ่งไม่ละเอียดพอ
นอกจากราคากลางใหม่จะแยกตาม ยี่ห้อ และรุ่นของรถแล้ว ยังแยกราคาซ่อม ตามชิ้นงานอีกด้วย เช่น รถ 4 ประตู จะแยก เป็น 13 ชิ้นงานหลัก กับอีก 20 รายการชิ้นงานย่อย โดยชิ้นงานหลัก ได้แก่ ประตูรถ 4 บาน, บังโคลน 4 บาน, ฝากระโปรงหน้า-หลัง 2 ชิ้น, หลังคา 1 ชิ้น และกันชนหน้า-หลัง 2 ชิ้น ส่วนรถตู้ รถกระบะ ก็จะมีการแยกชิ้นงานต่างออกไปอีก เป็นต้น
“ราคากลางค่าซ่อมใหม่นี้ ถือว่าดีกว่าราคาค่าซ่อมกลางในอดีต เป็นธรรมกว่า เนื่องจากเราจัดทำขึ้นมาโดยใช้พื้นฐาน ของราคาค่าซ่อม และค่าอะไหล่ในปัจจุบัน รวมทั้งใช้หลักการของขนาดพื้นที่ คือ ขนาดของชิ้นงานเป็นหลัก ดังนั้นจึงไม่สามารถบอกได้ว่าราคาค่าซ่อมใหม่เฉลี่ยแล้วจะถูก หรือแพงกว่าของเดิมไปเท่าไร บอกได้เพียงว่ารถประเภทที่มีขนาดใหญ่ขึ้น หรือไซส์ที่มันใหญ่ขึ้นกว่าอดีตราคาค่าซ่อมแพงขึ้นแน่ แต่รถที่มีขนาดเล็กลงราคาก็จะถูกลง เช่น รถตู้ราคาค่าซ่อมแพง ขึ้นแน่ เพราะปัจจุบันขนาดของรถตู้ใหญ่ขึ้น เช่น โตโยต้าคอมมูเตอร์ ราคาค่าซ่อม แพงขึ้นประมาณ 10-15% ส่วนรถที่ราคา ค่าซ่อมกลางถูกลง คือ โตโยต้ายาริส ที่บังโคลนหน้าอาจจะราคาลดลง เพราะขนาดที่เล็กลง แต่กันชนหน้าราคาอาจจะเพิ่มขึ้น เพราะขนาดใหญ่ขึ้น ดังนั้นบอกยากว่าราคาถูก-แพงกว่าเดิมยังไง เพราะขึ้นกับราคาชิ้นงานแต่ละชิ้นด้วยบางชิ้นอาจถูกลง บางชิ้นอาจแพงขึ้น”
อย่างไรก็ดี ราคากลางค่าซ่อมใหม่ดังกล่าว คณะทำงานฯ ไม่ได้เทียบเคียงราคา กับของอู่กลาง แต่เทียบเคียงราคากับค่าซ่อม กลางเดิมของสมาคมฯ เป็นหลัก เพราะไม่อยากให้เกิดความไขว้เขว ซึ่งหากเทียบกับราคาค่าซ่อมกลางเดิมบางรายการอาจจะถูกกว่า บางรายการอาจจะใกล้เคียงกัน
“ยอมรับว่าเราไม่ได้เทียบเคียงกับราคาของอู่กลางตั้งแต่แรก เพราะเกรงจะทำให้ไขว้เขวในการทำงาน ดังนั้นเราจึงเทียบเคียงกับของเดิมที่สมาคมฯ ได้ทำ มาก่อน แต่หากจะเทียบกับราคาของอู่กลาง ยอมรับว่าของอู่กลางจะแพงกว่า แต่ บางตัวก็ใกล้เคียงกัน เพราะเราไม่ได้นำมาเทียบตั้งแต่ต้น”
แหล่งข่าวรายเดิม กล่าวต่อว่า ราคา ค่าซ่อมกลางใหม่นี้ถือว่าละเอียดมาก เหลือ เพียงการนำเสนอต่อคณะกรรมการประกัน ภัยยานยนต์ชุดใหม่ ซึ่งอาจจะมีการสั่งทบทวน หรืออาจจะนำไปหารือกับอู่กลาง ก่อนก็เป็นได้ แต่คาดว่าภายใน 1-2 เดือน ก็น่าจะได้ประกาศใช้ได้แล้ว
ข้อมูลจาก นสพ.สยามธุรกิจ ฉบับที่ 993 ประจำวันที่ 2-5-2009 ถึง 5-5-2009
แหล่งข่าวจากคณะทำ งานราคากลาง สมาคมประกันวินาศภัย
เปิดเผย “สยามธุรกิจ” ว่า ขณะนี้คณะทำงานได้จัดทำราคากลางค่าซ่อมรถยนต์เสร็จแล้ว เหลือเพียงแต่การตรวจสอบ เพื่ออนุมัติใช้เท่านั้น ทั้งนี้ราคากลางค่าซ่อมดังกล่าว เป็น การจัดทำขึ้นใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับความ เป็นจริงในปัจจุบัน โดยคณะทำงานมาจาก 10 บริษัทประกันวินาศภัยชั้นนำของตลาด ประกันภัยรถยนต์ อาทิ วิริยะประกันภัย กรุงเทพประกันภัย สินมั่นคงประกันภัย ธนชาตประกันภัย เป็นต้น ผ่านการกลั่นกรองมาอย่างแล้วหลายชั้น จึงมั่นใจได้ใน ความเหมาะสม โดยใช้เวลาในการจัดทำราว 3-4 เดือน จึงได้ราคาค่าซ่อมกลางใหม่นี้ขึ้นมา โดยมีความแตกต่างจากของเดิม คือ มีความละเอียดมากขึ้น จากเดิมที่จะกำหนดราคาค่าซ่อม โดยแยกตามประเภทรถเพียงแค่ ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ และรถญี่ปุ่น หรือรถยุโรปเท่านั้น แต่ของ ใหม่มีความละเอียดมากขึ้นโดยแยกย่อยไปถึงยี่ห้อ และรุ่นของรถด้วย เช่น โตโยต้า ก็จะมีการแยกราคาตามรุ่นไปเลย เช่น แคมรี่ วีออส ยาริส เป็นต้น และแยกราคา ตามชิ้นด้วย จากเดิมที่แยกเฉพาะขนาดรถเท่านั้น ซึ่งไม่ละเอียดพอ
นอกจากราคากลางใหม่จะแยกตาม ยี่ห้อ และรุ่นของรถแล้ว ยังแยกราคาซ่อม ตามชิ้นงานอีกด้วย เช่น รถ 4 ประตู จะแยก เป็น 13 ชิ้นงานหลัก กับอีก 20 รายการชิ้นงานย่อย โดยชิ้นงานหลัก ได้แก่ ประตูรถ 4 บาน, บังโคลน 4 บาน, ฝากระโปรงหน้า-หลัง 2 ชิ้น, หลังคา 1 ชิ้น และกันชนหน้า-หลัง 2 ชิ้น ส่วนรถตู้ รถกระบะ ก็จะมีการแยกชิ้นงานต่างออกไปอีก เป็นต้น
“ราคากลางค่าซ่อมใหม่นี้ ถือว่าดีกว่าราคาค่าซ่อมกลางในอดีต เป็นธรรมกว่า เนื่องจากเราจัดทำขึ้นมาโดยใช้พื้นฐาน ของราคาค่าซ่อม และค่าอะไหล่ในปัจจุบัน รวมทั้งใช้หลักการของขนาดพื้นที่ คือ ขนาดของชิ้นงานเป็นหลัก ดังนั้นจึงไม่สามารถบอกได้ว่าราคาค่าซ่อมใหม่เฉลี่ยแล้วจะถูก หรือแพงกว่าของเดิมไปเท่าไร บอกได้เพียงว่ารถประเภทที่มีขนาดใหญ่ขึ้น หรือไซส์ที่มันใหญ่ขึ้นกว่าอดีตราคาค่าซ่อมแพงขึ้นแน่ แต่รถที่มีขนาดเล็กลงราคาก็จะถูกลง เช่น รถตู้ราคาค่าซ่อมแพง ขึ้นแน่ เพราะปัจจุบันขนาดของรถตู้ใหญ่ขึ้น เช่น โตโยต้าคอมมูเตอร์ ราคาค่าซ่อม แพงขึ้นประมาณ 10-15% ส่วนรถที่ราคา ค่าซ่อมกลางถูกลง คือ โตโยต้ายาริส ที่บังโคลนหน้าอาจจะราคาลดลง เพราะขนาดที่เล็กลง แต่กันชนหน้าราคาอาจจะเพิ่มขึ้น เพราะขนาดใหญ่ขึ้น ดังนั้นบอกยากว่าราคาถูก-แพงกว่าเดิมยังไง เพราะขึ้นกับราคาชิ้นงานแต่ละชิ้นด้วยบางชิ้นอาจถูกลง บางชิ้นอาจแพงขึ้น”
อย่างไรก็ดี ราคากลางค่าซ่อมใหม่ดังกล่าว คณะทำงานฯ ไม่ได้เทียบเคียงราคา กับของอู่กลาง แต่เทียบเคียงราคากับค่าซ่อม กลางเดิมของสมาคมฯ เป็นหลัก เพราะไม่อยากให้เกิดความไขว้เขว ซึ่งหากเทียบกับราคาค่าซ่อมกลางเดิมบางรายการอาจจะถูกกว่า บางรายการอาจจะใกล้เคียงกัน
“ยอมรับว่าเราไม่ได้เทียบเคียงกับราคาของอู่กลางตั้งแต่แรก เพราะเกรงจะทำให้ไขว้เขวในการทำงาน ดังนั้นเราจึงเทียบเคียงกับของเดิมที่สมาคมฯ ได้ทำ มาก่อน แต่หากจะเทียบกับราคาของอู่กลาง ยอมรับว่าของอู่กลางจะแพงกว่า แต่ บางตัวก็ใกล้เคียงกัน เพราะเราไม่ได้นำมาเทียบตั้งแต่ต้น”
แหล่งข่าวรายเดิม กล่าวต่อว่า ราคา ค่าซ่อมกลางใหม่นี้ถือว่าละเอียดมาก เหลือ เพียงการนำเสนอต่อคณะกรรมการประกัน ภัยยานยนต์ชุดใหม่ ซึ่งอาจจะมีการสั่งทบทวน หรืออาจจะนำไปหารือกับอู่กลาง ก่อนก็เป็นได้ แต่คาดว่าภายใน 1-2 เดือน ก็น่าจะได้ประกาศใช้ได้แล้ว
ข้อมูลจาก นสพ.สยามธุรกิจ ฉบับที่ 993 ประจำวันที่ 2-5-2009 ถึง 5-5-2009