โพสต์ทูเดย์ — คลังจับมือสคบ. คุมเข้มธุรกิจขายตรง หวั่นกลายพันธุ์เป็นแชร์ลูกโซ่
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า หลังจากกลุ่มป้องปรามเงินนอกระบบ กระทรวงการคลัง ได้ตรวจพบพฤติกรรมบริษัทขายตรงหลอกลวงผู้บริโภคในรูปแบบของแชร์ลูกโซ่ได้จำนวนมาก ล่าสุดได้รับการแจ้งจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) แจ้งว่า กำลังปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 เพื่อให้ตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจขายตรงได้มากขึ้น
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า แนวทางที่สคบ.จะแก้ไขคือ การกำหนดคุณสมบัติของบริษัทที่ขอจดทะเบียนประกอบธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง ต้องมีทุนจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ขั้นต่ำ 10 ล้านบาท และการเพิ่มบทกำหนดโทษจำคุกกับผู้ประกอบธุรกิจที่กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายดังกล่าวอย่างรุนแรง
ปัจจุบันมีบริษัทที่แจ้งว่าทำธุรกิจขายตรงในประเทศไทยจำนวนทั้งสิ้นกว่า 500 บริษัท แต่จากการตรวจสอบล่าสุดของสคบ. พบว่ามีกว่า 200 บริษัทที่ปิดกิจการไปแล้ว
ขณะที่บริษัทขายตรงที่ถูกร้องเรียนว่าทำธุรกิจลักษณะคล้ายแชร์ลูกโซ่ ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษมีประมาณ 20 บริษัท
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ธุรกิจแบบขายตรงที่แอบแฝงแชร์ลูกโซ่มีสินค้าหลากหลายประเภท เช่น อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน ซึ่งบางบริษัทอ้างการประกอบธุรกิจแบบเดียวกันในต่างประเทศ เน้นการหาสมาชิกทางเว็บไซต์ โดยให้ซื้อสินค้าของทางบริษัทเพื่อการสมัครเข้าเป็นสมาชิกในราคาค่อนข้างสูง และให้สมาชิกหาสมาชิกรายใหม่โดยได้ผลประโยชน์ตอบแทน โดยทางบริษัทไม่ได้ประกอบธุรกิจจากการขายสินค้า แต่นำเงินจากสมาชิกรายใหม่มาหมุนเวียนให้แก่สมาชิกรายเก่า
หากประชาชนมีความสนใจประกอบธุรกิจประเภทขายตรง ควรตรวจสอบความถูกต้องของบริษัทก่อน
ข้อมูลจาก นสพ.โพสต์ทูเดย์ 3/5/52
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า หลังจากกลุ่มป้องปรามเงินนอกระบบ กระทรวงการคลัง ได้ตรวจพบพฤติกรรมบริษัทขายตรงหลอกลวงผู้บริโภคในรูปแบบของแชร์ลูกโซ่ได้จำนวนมาก ล่าสุดได้รับการแจ้งจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) แจ้งว่า กำลังปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 เพื่อให้ตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจขายตรงได้มากขึ้น
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า แนวทางที่สคบ.จะแก้ไขคือ การกำหนดคุณสมบัติของบริษัทที่ขอจดทะเบียนประกอบธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง ต้องมีทุนจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ขั้นต่ำ 10 ล้านบาท และการเพิ่มบทกำหนดโทษจำคุกกับผู้ประกอบธุรกิจที่กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายดังกล่าวอย่างรุนแรง
ปัจจุบันมีบริษัทที่แจ้งว่าทำธุรกิจขายตรงในประเทศไทยจำนวนทั้งสิ้นกว่า 500 บริษัท แต่จากการตรวจสอบล่าสุดของสคบ. พบว่ามีกว่า 200 บริษัทที่ปิดกิจการไปแล้ว
ขณะที่บริษัทขายตรงที่ถูกร้องเรียนว่าทำธุรกิจลักษณะคล้ายแชร์ลูกโซ่ ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษมีประมาณ 20 บริษัท
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ธุรกิจแบบขายตรงที่แอบแฝงแชร์ลูกโซ่มีสินค้าหลากหลายประเภท เช่น อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน ซึ่งบางบริษัทอ้างการประกอบธุรกิจแบบเดียวกันในต่างประเทศ เน้นการหาสมาชิกทางเว็บไซต์ โดยให้ซื้อสินค้าของทางบริษัทเพื่อการสมัครเข้าเป็นสมาชิกในราคาค่อนข้างสูง และให้สมาชิกหาสมาชิกรายใหม่โดยได้ผลประโยชน์ตอบแทน โดยทางบริษัทไม่ได้ประกอบธุรกิจจากการขายสินค้า แต่นำเงินจากสมาชิกรายใหม่มาหมุนเวียนให้แก่สมาชิกรายเก่า
หากประชาชนมีความสนใจประกอบธุรกิจประเภทขายตรง ควรตรวจสอบความถูกต้องของบริษัทก่อน
ข้อมูลจาก นสพ.โพสต์ทูเดย์ 3/5/52