“ผู้บริโภคทุบรถ วอนผู้ประกอบการเยียวยา” “รถโดยสารเบรกแตก ผ่าไฟแดงชนยับ” “พบตะปูในไก่ทอด”
หลากปัญหาของผู้บริโภค ที่บางครั้งเจรจาไกล่เกลี่ยกับผู้ประกอบการแล้วตกลงกันไม่ได้ การฟ้องศาลเป็นคดีผู้บริโภค ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2551 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคโดยเฉพาะ มีกระบวนการพิจารณาที่เหมาะสมในการคุ้มครองผู้บริโภคและให้ผู้บริโภคได้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ โดยยื่นฟ้องศาลโดยไม่ต้องใช้ทนาย
กว่า 8 ปีแล้วที่กฎหมายได้มีผลบังคับใช้ พบว่าส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 คือผู้ประกอบการ ห้างร้าน บริษัท ฯลฯ ที่ใช้สิทธิไล่เบี้ยประชาชนผู้บริโภค และมีผู้บริโภคจำนวนไม่มากนักที่ใช้สิทธิปกป้องตนเองตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ อีกทั้งจากประสบการณ์ผู้ใช้กฎหมายนี้พบว่าปัญหาและอุปสรรคต่างๆที่ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เช่น ความล่าช้าในการวินิจฉัยของศาล การพิจารณาคดีในระบบไต่สวนของศาล การมีเจ้าพนักงานคดีที่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย การไม่ได้รับการยกเว้นค่านำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องในศาลชั้นต้น เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการใช้สิทธิของผู้บริโภคตามเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ของกฎหมายฉบับนี้
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดเวทีวิชาการ ในหัวข้อ “8 ปี บทเรียนการใช้กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค” 5 กรกฏาคม 2559 ณ ห้องประชุม 4 ชั้น 2 สภาคริสตจักรในประเทศไทย เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
เพื่อให้ผู้บริโภคได้มีความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงสะท้อนปัญหาของผู้บริโภคจากการใช้ กฎหมาย และระดมความเห็นเพื่อทำให้การใช้กฎหมาย เพื่อให้ประชาชนใช้สิทธิเรียกร้องความเป็นธรรมผ่านกระบวนการพิจารณาคดีทางแพ่งที่เป็นคดีผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วันอังคารที่ 5 กรกฏาคม 2559 | |
09.00-09.30 น. | ลงทะเบียน รับเอกสาร |
09.30-09.50 น. |
สรุปภาพรวมการดำเนินคดีผู้บริโภคของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดย นางสาวนฤมล เมฆบริสุทธิ์ หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค |
09.50-10.00 น. | พักรับประทานอาหารว่าง |
10.00-12.00 น. |
เสวนาวิชาการ : 8 ปี บทเรียนการใช้กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค
ผู้ดำเนินรายการ ผศ.จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ รองประธานคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน |
12.00-13.00 น. | พักรับประทานอาหารกลางวัน |