ลิ้งก์สำหรับดาวน์โหลดกำหนดการ
สมัชชาผู้บริโภคประจำปี 2561
กำกับตลาดดิจิทัลให้เป็นธรรม (Making digital marketplaces fairer)
วันสิทธิผู้บริโภคสากล 15 มีนาคม 2561 (World Consumer Rights’ Day 2018)
หลักการและเหตุผล
วันที่ 15 มีนาคมของทุกปี ถือเป็น “วันสิทธิผู้บริโภคสากล” World Consumer Rights Day ปีนี้สหพันธ์ผู้บริโภคสากล (Consumers International หรือ CI) ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 220 องค์กร ใน 115 ประเทศทั่วโลก ให้ความสำคัญเรื่อง กำกับตลาดดิจิทัลให้เป็นธรรม (Making digital marketplaces fairer) เน้นเป้าหมายให้ผู้บริโภคปลอดภัย กำกับและสร้างความเป็นธรรมในการซื้อขายออนไลน์ นับเป็นการรณรงค์ต่อเนื่องจากปี 2560 การสร้างความมั่นใจและความยุติธรรมแก่ผู้บริโภคในยุคดิจิทัล (Building a Digital World Consumers Can Trust)
การซื้อสินค้าหรือบริการออนไลน์ได้เปลี่ยนวิถีชีวิต ผู้บริโภคสามารถซื้ออะไรก็ได้ แม้แต่สินค้าและบริการที่มีมูลค่าน้อยจนถึงมาก บริการจองตั๋วเครื่องบิน ขนส่งและที่พัก หรือซื้อตั๋วเข้าร่วมวิ่งรณรงค์ วิธีการแบบใหม่ของการค้าได้เปิดทางเลือกมากมาย และเพิ่มความสะดวกสบายอย่างที่ไม่เคยได้รับมาก่อน
จากสถานการณ์ปัญหาการซื้อขายออนไลน์ในประเทศไทย ยังมีปรากฏการณ์ การใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแล้วเสียชีวิต ผู้บริโภคถูกหลอกลวงหรือฉ้อฉล ความยุ่งยากในการได้รับการชดเชยเยียวเมื่อเกิดปัญหา หรือแม้แต่การโฆษณาที่กำกับได้ลำบากอย่างไร ด้วยเหตุนี้การเคลื่อนไหวผลักดันของขบวนการผู้บริโภคทั่วโลก จึงมีความสำคัญในการทำให้ตลาดดิจิทัลได้รับการกำกับและมีความเป็นธรรมสำหรับทุกคน
โดยในปีพ.ศ. 2559 ประเทศไทยมีมูลค่า e-Commerce ทั้งสิ้น 2,560,103.36 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมูลค่า e-Commerce ประเภท B2B ประมาณ 1,542,167.50 ล้านบาท หรือคิดเป็น 60.24% รองลงมาเป็นมูลค่าของประเภท B2C จำนวนมากกว่า 703,331.91 ล้านบาท หรือ 27.47% และส่วนที่เหลือราว 314,603.95 ล้านบาท หรือ 12.29% เป็นมูลค่าตามธุรกิจประเภท B2G”
นอกจากนี้ หลายปีที่ผ่านมา องค์กรผู้บริโภคได้ร่วมมือกันจัดตั้งกลไกคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนขึ้น เพื่อคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค เป็นตัวแทนของผู้บริโภค ในขณะเดียวกันองค์กรผู้บริโภคมีความตื่นตัวในการพัฒนาคุณภาพขององค์กรตนเองมากขึ้น
ด้วยเหตุนี้ จึงมีความสำคัญและจำเป็นในการจัดประชุมสมัชชาผู้บริโภคประจำปีพ.ศ. 2561 เพื่อเปิดพื้นที่และเปิดโอกาสให้ผู้บริโภค ประชาชน องค์กรผู้บริโภค มีส่วนร่วมในการติดตามสถานการณ์และมีส่วนร่วมในการกำกับ คุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อขายออนไลน์ รวมถึงการสร้างความมั่นใจและความยุติธรรมแก่ผู้บริโภคในยุคดิจิทัล และให้ผู้บริโภคร่วมกันสนับสนุนการออกกฎหมายสภาผู้บริโภคแห่งชาติ ตามเจตนารมณ์ของมาตรา 46 แห่งร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. .... และร่วมกันรณรงค์เนื่องในวันสิทธิผู้บริโภคสากล
วัตถุประสงค์
- เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้บริโภค องค์กรผู้บริโภค เพื่อให้เกิดมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคออนไลน์
- เพื่อสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐ นักวิชาการ และภาคเอกชน รวมทั้งติดตามความก้าวหน้าในการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านอื่นๆ
- เพื่อร่วมรณรงค์วันสิทธิผู้บริโภคสากล (world consumers rights day) “กำกับตลาดดิจิทัลให้เป็นธรรม” (Making digital marketplaces fairer)
- เพื่อสนับสนุนให้มีการออกกฎหมายองค์กรผู้บริโภคตามเจตนารมณ์ของมาตรา 46 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
กลุ่มเป้าหมาย รวมประมาณ 300 คน ประกอบด้วย
- คณะอนุกรรมการจัดทำร่างกฎหมายตาม มาตรา 46 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560
- องค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ
- ผู้บริโภคที่ใช้สิทธิร้องเรียนด้านต่างๆ
- เครือข่ายนักวิชาการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
- หน่วยงานรัฐด้านการคุ้มครองผู้บริโภค
- คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน และอนุกรรมการ 7 ด้าน
- สื่อมวลชน
รูปแบบการจัดงาน
- บรรยายและอภิปราย
- เวทีวิชาการ
- นิทรรศการ
วัน เวลา สถานที่
วันที่ 14-15 มีนาคม 2561 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ
องค์กรร่วมจัด
- สมาคมสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค (สอบ.)
- คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน (คอบช.)
- มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.)
- แผนงานพัฒนาวิชาการและสร้างความเข้มแข็งกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.)
- ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.)
- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
กำหนดการ สมัชชาผู้บริโภคประจำปี 2561
“กำกับตลาดดิจิทัลให้เป็นธรรม รวมพลังผู้บริโภคผลักดันกฎหมายสภาองค์กรผู้บริโภคแห่งชาติ”
วันพุธที่ 14 ถึงวันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม 2561
ณ ห้องจูปิเตอร์ ชั้น 3 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ
วันพุธที่ 14 มีนาคม 2561 | |
09.00 - 09.30 น. |
ลงทะเบียน รับเอกสาร ชมนิทรรศการ และพบปะแลกเปลี่ยนกับภาคีร่วมงาน |
09.30 - 09.40 น. | ชมวิดีทัศน์ |
09.40 - 10.00 น. |
เปิดงานและกล่าวต้อนรับ โดย รศ.ดร.จันทร์เพ็ญ วิวัฒน์ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค |
10.00 – 10.30 น. |
นำเสนองานวิจัย เรื่อง การคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อขายออนไลน์ โดย นางพลินี เสริมสินสิริ นักวิชาการอิสระ |
10.30 - 12.00 น. |
เสวนา “กำกับตลาดดิจิทัลให้เป็นธรรม (Making digital marketplaces fairer)” โดย
อิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ดำเนินรายการ โดย นางสุภาพร ถิ่นวัฒนากูล รองประธานคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการ คุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน |
12.00-13.00 น. | รับประทานอาหารกลางวัน |
13.00-16.30 น. | ห้องย่อยสมัชชาผู้บริโภค |
ห้องย่อยที่ 1 ห้องจูปิเตอร์ (Jupiter) |
เสวนา เรื่อง “มาตรการคุ้มครองผู้บริโภคตลาดออนไลน์” ผู้ดำเนินรายการ ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง กรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาค ประชาชน (ผู้เชี่ยวชาญด้านสินค้าและบริการทั่วไป) |
13.00-13.15 น. | ลงทะเบียนห้องย่อย |
13.15 – 15.00 น. |
เสวนา เรื่อง “มาตรการคุ้มครองผู้บริโภคตลาดออนไลน์”
การตลาดแบบตรง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
อิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
|
15.00 – 16.00 น. | แลกเปลี่ยนจากผู้เข้าร่วมประชุม |
ห้องย่อยที่ 2 ห้องมาร์ (MARS) |
เสวนา เรื่อง “แนวทางการจัดการโฆษณาผิดกฎหมายในออนไลน์ซ้ำซาก กรณีผลิตภัณฑ์สุขภาพ” ดำเนินรายการ โดย ผศ.รุจน์ โกมลบุตร กรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาค ประชาชน ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อและโทรคมนาคม |
13.00-13.15 น. | ลงทะเบียนห้องย่อย |
13.15 – 15.00 น. |
เสวนา เรื่อง “แนวทางการจัดการโฆษณาผิดกฎหมายในออนไลน์ซ้ำซาก กรณีผลิตภัณฑ์สุขภาพ”
|
15.00 – 16.00 น. |
แลกเปลี่ยนจากผู้เข้าร่วมประชุม
|
ห้องย่อยที่ 3 คคส., วคบท ห้อง LEO |
เสวนา เรื่อง “แนวทางการแจ้งเตือนภัยสินค้าไม่ปลอดภัยทางสื่อดิจิตัล” ดำเนินรายการ โดย รศ.ดร.ภก.วิทยา กุลสมบูรณ์ ประธานมูลนิธิเภสัชชนบท |
13.30-13.45 น. | ลงทะเบียนห้องย่อย |
13.45 – 16.30 น. |
เสวนา เรื่อง “แนวทางการแจ้งเตือนภัยสินค้าไม่ปลอดภัยทางสื่อดิจิตัล” โดย
|
15.00 – 16.00 น. | แลกเปลี่ยนจากผู้เข้าร่วมประชุม |
ห้องย่อยที่ 4 ห้องเวอร์โก้ (Virgo) |
เสวนา เรื่อง “การตรวจสอบและกำกับค่ารักษาพยาบาลแพง” ดำเนินรายการโดย นางสาวสุภัทรา นาคะผิว กรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน ผู้เชี่ยวชาญด้านบริการสุขภาพ |
13.00 - 13.15 น. | ลงทะเบียนห้องย่อย |
13.15 – 15.00 น. |
เสวนา เรื่อง “การตรวจสอบและกำกับค่ารักษาพยาบาลแพง” โดย
ศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
|
15.00 – 16.00 น. | แลกเปลี่ยนจากผู้เข้าร่วมประชุม |
ห้องย่อยที่ 5 เจมิไน(Gemini) |
เสวนา เรื่อง “ต้นแบบและความร่วมมือรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย” ดำเนินรายการ โดย นายปฏิวัติ เฉลิมชาติ สมาคมผู้บริโภคจังหวัดขอนแก่น |
13.00 - 13.15 น. | ลงทะเบียนห้องย่อย |
13.15 – 15.30 น. |
เสวนา เรื่อง “ต้นแบบและความร่วมมือรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย” โดย
พระนครศรีอยุธยา
|
15.30 – 16.00 น. | แลกเปลี่ยนจากผู้เข้าร่วมประชุม |
วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม 2561 | |
08.30 - 09.00 น. |
ลงทะเบียน รับเอกสาร (เพิ่มเติม) ชมนิทรรศการ และพบปะแลกเปลี่ยนกับภาคีร่วมงาน |
09.00 – 09.10 น. | ชมวิดีทัศน์ ( สิทธิผู้บริโภคในต่างประเทศ) |
09.10 - 11.30 |
เสวนา “ร่างพระราชบัญญัติสภาองค์กรผู้บริโภคแห่งชาติ ความก้าวหน้าและอนาคต” โดย
คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ดำเนินรายการ โดย ผศ.จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ ประธานคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครอง ผู้บริโภค ภาคประชาชน |
11.30 – 12.00 น. |
แถลงข่าว “Kick Off กฎหมายสภาองค์กรผู้บริโภคแห่งชาติ ม.46” โดย คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน |
12.00 – 13.00 น. | รับประทานอาหารกลางวัน |
หมายเหตุ กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
* วิทยากรอยู่ระหว่างประสานงาน