วันที่ 15 มีนาคมของทุกปี ถือเป็น “วันสิทธิผู้บริโภคสากล” World Consumer Rights Day ซึ่งปีนี้สหพันธ์ผู้บริโภคสากล (Consumers International หรือ CI) ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 220 องค์กร ใน 115 ประเทศทั่วโลก ซึ่งองค์กรร่วมจัดงาน เห็นความสำ¬คัญต่อสถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศและสากล
ในปี 2560 สหพันธ์ผู้บริโภคสากล ให้ความสำคัญในเรื่อง “การสร้างความมั่นใจ และความยุติธรรมแก่ผู้บริโภคในยุคดิจิทัล : Building a Better Digital World Consumers Can Trust” เพราะเทคโนโลยีดิจิทัลกำลังมีผลกระทบอย่างมากต่อผู้บริโภคทั่วโลกในการสร้างประโยชน์ต่างๆ รวมถึงการสื่อสารที่ดีขึ้น การเข้าถึงข้อมูล และการเลือกที่มากมายและสะดวกสบาย
ในขณะที่ผู้บริโภคได้รับประโยชน์มากมายจากเทคโนโลยีดิจิทัล แต่กลับมีปัญหาการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคที่ยังไม่ทั่วถึง ปริมาณการซื้อขายสินค้าและบริการออนไลน์ที่มากขึ้น แต่ยังไม่มีหลักประกันคุณภาพและความไว้วางใจกับผู้บริโภค ตลอดถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆที่ผู้บริโภคได้แชร์ผ่านสื่อออนไลน์
เพื่อแก้ไขปัญหาและส่งเสริมการเข้าถึง การมีส่วนร่วม และนวัตกรรมต่างๆของเทคโนโลยีดิจิทัล CI ได้สร้างการรณรงค์หัวข้อ “เพื่อโลกดิจิทัลที่ดีขึ้น” โดยจะร่วมมือทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในการสร้างโลกออนไลน์ที่ผู้บริโภคสามารถไว้วางใจได้
ส่วนในปี 2559 ที่ผ่านมา องค์กรร่วมจัดงาน และสหพันธ์ผู้บริโภคสากล ร่วมรณรงค์ประเด็น “เอายาปฏิชีวนะ ออกจากอาหารของเรา” (Antibiotics Off the Menu) เพื่อลดอันตรายจากเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ รวมทั้งลด ละ เลิกการใช้ยาปฏิชีวนะในการกระบวนการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหาร เพราะเป็นสาเหตุสำคัญในการทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากภาวะติดเชื้อและการเจ็บป่วยเล็กน้อยซึ่งเคยรักษาได้ในอดีต แม้ปัจจุบันรัฐบาลไทยได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560–2564 เพื่อให้ผู้บริโภคได้มีส่วนร่วม สร้างความตื่นตัว เรื่องอาหารปลอดภัยไร้ยาปฏิชีวนะ แต่ประเด็นดังกล่าวยังอยู่ในสถานการณ์ที่น่ากังวล
นอกจากนี้ กฎหมายสำคัญที่ประชาชนได้ร่วมกันผลักดันมากกว่า 19 ปีแล้ว คือ ร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ... ซึ่งองค์กรผู้บริโภคได้จัดตั้งกลไกคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนขึ้นเพื่อนำร่อง บทบาทในการให้ข้อเสนอแนะ และติดตามการคุ้มครองผู้บริโภค มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในระยะสี่ปีที่ผ่านมา และในปัจจุบันร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. .... ได้บัญญัติในมาตรา 46 ได้กำหนดให้มีการรวมตัวของผู้บริโภคและองค์กรผู้บริโภคที่มีความเป็นอิสระ เพื่อให้เกิดพลังในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค เป็นตัวแทนของผู้บริโภค ในขณะเดียวกันองค์กรผู้บริโภคก็มีความตื่นตัวในการพัฒนาองค์กรเพื่อเป็น “องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ” อย่างต่อเนื่อง
การจัดสัมนาผู้บริโภคประจำปี 2560 เพื่อเปิดพื้นที่และเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคและประชาชน มีส่วนร่วมในการติดตามสถานการณ์และการดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเรื่องอาหารปลอดภัยไร้ยาปฏิชีวนะ รวมถึงการสร้างความมั่นใจ และความยุติธรรมแก่ผู้บริโภคในยุคดิจิทัล และให้ผู้บริโภคร่วมกันเสนอแนะแนวทางการออกกฎหมายผู้บริโภคตามแนวทางเจตนารมณ์ของมาตรา 46 แห่งร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. .... รวมถึงจัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน ชุดที่สอง และร่วมกันรณรงค์เนื่องในวันสิทธิผู้บริโภคสากล
องค์กรร่วมจัด
1. แผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ( คคส.)
2. คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน
3. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
4. ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.)
5. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ( สสส. )
ผู้บริโภคที่สนใจติดตามชม FB LIVE ได้ตลอดงานที่ Fanpage มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค FB::/fconsumerthai
ร่าง กำหนดการ
เวทีสัมมนาผู้บริโภค และรณรงค์วันสิทธิผู้บริโภคสากล
วันที่ 14 – 15 มีนาคม 2560 ณ โรงแรมอมารี แอร์พอร์ต ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
เวลา | กิจกรรม/ ประเด็น |
วันอังคาร ที่ 14 มีนาคม 2560 อาหารปลอดภัยไร้ยาปฏิชีวนะเพื่อผู้บริโภค | |
8.30 – 9.00 น. | ลงทะเบียน |
9.00 – 9.10 น. | กล่าวต้อนรับ โดย รศ.ดร.จันทร์เพ็ญ วิวัฒน์ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค |
9.10 – 9.30 น. |
เปิดงานและปาฐกถาพิเศษ เรื่อง อาหารปลอดภัยไร้ยาปฏิชีวนะเพื่อผู้บริโภคกับยุทธศาสตร์การจัดการเชื้อดื้อยา โดย นายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข |
9.30 – 9.50 น. |
จุดคานงัดในยุทธศาสตร์การจัดการเชื้อดื้อยาในอาหาร โดย ผศ.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) |
9.50 – 10.00 น. | พักรับประทานอาหารว่าง |
10.00 – 11.30 น. |
เสวนา ทำอย่างไรอาหารจะปลอดภัยไร้ยาปฏิชีวนะ
ผู้ดำเนินรายการ : นางสาวกรรณิการ์ กิจติเวชกุล ผู้จัดรายการวิทยุ คลื่น 96.5
|
11.30 – 12.00 น. |
นำเสนอนโยบายและมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค “อาหารปลอดยาปฏิชีวนะ” คัดเลือกและลงมติ นโยบายโดยผู้บริโภค |
พิธีประกาศจุดยืนอาหารปลอดยาปฏิชีวนะ
|
|
12.00 – 13.00 น. | รับประทานอาหารกลางวัน |
13.00 – 16.00 น. ( ห้องดอนเมือง 1) |
ห้องสัมมนาที่ 1 เรื่อง ฟังเสียงผู้บริโภค ตามกฎหมายมาตรา 46 ของร่างรัฐธรรมนูญ โดย
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ผู้ให้ความเห็นต่อข้อเสนอของผู้บริโภค
การคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนชุดนำร่อง
ดำเนินรายการโดย นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา คณะอนุกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปด้านการคุ้มครองผู้บริโภค สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านสังคม
|
13.30 – 16.00 ( ห้องดอนเมือง 2) |
ห้องสัมมนาที่ 2 เวทีเสวนา เรื่อง บทเรียนและการต่อยอดการพัฒนาองค์กรผู้บริโภคคุณภาพ: “ประสบการณ์การ ประโยชน์ และข้อเสนอต่อการพัฒนาองค์กรผู้บริโภคคุณภาพ” (ท่านละ 15 นาที)
ผู้ให้ความเห็นต่อการพัฒนาองค์กรผู้บริโภคคุณภาพ (ท่านละ 15 นาที)
สุขภาพ ดำเนินรายการ โดย รศ.ดร.ภก. วิทยา กุลสมบูรณ์ ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสุขภาพ |
วันพุธ ที่ 15 มีนาคม 2560 การสร้างความมั่นใจ และความยุติธรรมแก่ผู้บริโภคในการโฆษณา และ ซื้อขายออนไลน์ |
|
9.00 – 09.45 น. |
Talks สร้างพลังท้าทายการคุ้มครองผู้บริโภคยุค 4.0
“การคุ้มครองผู้บริโภค ยุค 4.0”โดย รศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ “โลกร้อน เรื่องของใคร” โดย นางสาวเพียรพร ดีเทศน์ ผู้ประสานงานการรณรงค์ประเทศไทย International Rivers “Smart Consumers” โดย นางสาวจินตนา ศรีนุเดช สมาคมผู้บริโภคจังหวัดขอนแก่น “โซลาร์เซลล์พลิกโลก” โดย ผศ.ประสาท มีแต้ม กรรมการองค์การอิสระฯ ด้านบริการสาธารณะ |
09.45 – 10.00 น. | พักรับประทานอาหารว่าง |
10.00 – 11.30 น. |
เสวนา “การสร้างความมั่นใจ และความยุติธรรมแก่ผู้บริโภคในการโฆษณา และซื้อขายออนไลน์ : Building a Better Digital World Consumers Can Trust” โดย
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สังคม
ดำเนินรายการโดย ผศ.รุจน์ โกมลบุตร ประธานอนุกรรมการ ด้านสื่อและโทรคมนาคม คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน |
11.30 – 12.00 น. |
แถลงข่าว การคุ้มครองผู้บริโภคไทยในยุค 4.0 “Building a Better Digital World Consumers Can Trust” |
12.00 – 13.00 น. | พักรับประทานอาหารกลางวัน |
13.00 – 13.30 น. |
ผลงานและความท้าทายของคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน โดย รศ.ภญ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ อดีตประธานคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน |
13.30 – 16.00 น. | เลือกตั้งคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) ครั้งที่ 2 |
ภาพประกอบจาก E-commerce Trends