นายประกิจ ณรงค์ตะณุพล หนึ่งในกลุ่มนักลงทุนที่ได้รับความเสียหายจากการลงทุนกองทุนรวมทองคำที่จด ทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ (Gold ETF) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 30 ธ.ค.2554 หน่วยของกองทุนทองคำมีการปรับตัวสูงขึ้นผิดปกติใน ช่วงก่อนปิดตลาดฯ 15 นาที ของราคาอ้างอิงกองทุนทองคำสิงคโปร์ ส่งผลให้นักลงทุนของกองทุนทองคำผ่านบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน และบริษัทหลักทรัพย์ในประเทศไทยหลายรายต้องชำระเงินในราคาสูงกว่าความเป็น จริง
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 30 ธ.ค.2554 ที่ผ่านมา ราคาซื้อขายได้อยู่ในช่วง 151-152 ดอลลาร์สหรัฐ ตลอดทั้งวันจนถึงตลาดปิด แต่ราคาปิดของวันดังกล่าวได้ก้าวกระโดดไปอยู่ที่ 165.99 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือว่าสูงผิดปกติไปถึง 9.42% โดยสาเหตุที่ราคากระโดดไป เนื่องจากนักลงทุนมาซื้อกองทุนทองคำสิงคโปร์ที่ราคา 165.99 ดอลลาร์สหรัฐ เป็นจำนวน 280 หุ้น ในช่วงสุดท้ายของตลาด หรือคิดเป็นวงเงินประมาณกว่า 1 ล้านบาท
ดังนั้น นักลงทุนที่ได้รับความเสียหายจึงได้เข้าร้องเรียนความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ มูลนิธผู้บริโภค โดยเรียกร้องให้ บลจ. แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นรวมถึงให้บลจ. กำหนดกฏเกณฑ์และสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน
“ที่เราได้รับความเสียหาย ไม่อยากจะให้เหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้น ซึ่งควรจะหาหนทางแก้ไขและหาทางเยียวยานักลงทุนที่ได้รับความเสียหาย ซึ่งสมาคมจะใช้วิธีการใดก็ได้ แต่ต้องหากฏเกณฑ์กำหนดการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ชัดเจน ซึ่งพวกเรายอมรับไม่ได้หากความเสี่ยงที่เกิดขึ้นไม่สมเหตุสมผล เพราะราคาที่วิ่งไปมันไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาด ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ไม่ควรเกิดขึ้น” นายประกิจ กล่าว
นายประกิจ กล่าวอีกว่า ถึงแม้จะมีการเตือนว่าการลงทุนมีความเสี่ยง แต่ตนก็ได้รับการโฆษณาว่า การลงทุนในกองทุนทองคำจะได้รับการดูแลให้ได้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับการลงทุนใน ทองคำจริง นักลงทุนยอมรับความผันผวนได้แต่ไม่ยอมรับการดำเนินที่ไม่โปร่งใสหรือทุ่ม ตลาดหรือการดำเนินการที่ไม่เป็นธรรม แต่เมื่อเกิดปัญหาที่ผิดปกติเช่นนี้ ขึ้นมา บริษัทจัดการการลงทุนกลับไม่มีมาตรการชดเชยความเสียหายให้แก่นักลงทุนแต่ อย่างใด
โดยตนรู้สึกผิดหวังกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และเรียกร้องให้ กลต. ทำหน้าที่ปกป้องนักลงทุนเป็นหลัก แทนการทำหน้าที่เป็นคนกลางกับสมาคมบริษัทจัดการลงทุน ขอให้สมาคมฯ หาทางออกเรื่องนี้อย่างจริงจังและเยียวยาผู้ลงทุน
“ถ้าสมาคมฯ มีความตั้งใจจริง น่าจะต้องทำได้อยู่แล้ว แต่หากจะไม่ชดเชยก็ต้องมีการเหตุผลในการไม่ชดเชย หากเหตุผลไม่สมเหตุสมผล ก็ต้องอาศัยกฎหมายเข้ามาช่วย แต่ในขณะนี้ขอรับฟังสมาคมฯ ก่อน และจะทำหน้าที่ให้ข้อมูลต่อนักลงทุนทั่วประเทศว่ามีความเสี่ยงมากเพียงใดใน การลงทุนกับบริษัทจัดการการลงทุน เพื่อให้นักลงทุนรายอื่นที่ยังไม่รู้ตัวให้ทราบถึงการเสนอข้อมูลที่บิดเบือน ของ บลจ. ต่างๆ ที่ชักจูงให้นักลงทุนรายย่อยเข้ามาลงทุนซื้อกองทุนทองคำของตนโดยไร้ธรรมาภิ บาล” นายประกิจ กล่าว
ด้านนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า จากบทเรียนในกรณีนี้ทำให้นักลงทุนต้องตระหนักถึงข้อมูลการลงทุนให้มากกว่า นี้ โดยก่อนการลงทุนจะต้องมีการหาข้อมูลจากหลายแหล่งมากขึ้น นอกเหนือจากข้อมูลจาก บลจ. เพียงอย่างเดียว ขณะที่ผู้กำกับและดูแลการลงทุนให้มีกฏเกณฑ์และให้ความสำคัญกับนักลงทุนอย่าง ชัดเจน