

ดังนั้น จึงได้สอบถามไปยังบริษัท นกแอร์ไลน์ จำกัด และได้รับการตอบกลับมาว่า เป็นการจองตั๋วโดยสารวันที่ 29 ม.ค. จากกรุงเทพฯ-หาดใหญ่ ของหลานสาว ซึ่งไม่ได้มีการจองตั่วโดยสารวันที่ 29 ม.ค. จากกรุงเทพฯ-หาดใหญ่ ฉะนั้น การเสนอจองตั่วโดยสารไปเพียงเที่ยวเดียว จึงผูกพันเป็นสัญญาเพียงเที่ยวเดียวเท่านั้น
“เจ้าหน้าที่เขาอ้างว่า เป็นการเสนอจากเจ้าหน้าที่ สำหรับการจองเที่ยวจากกรุงเทพ-หาดใหญ่ ซึ่งผมยืนยันว่า ไม่ได้มีการตอบตกลงในการจอง จึงคิดว่าเป็นการเอาเปรียบของบริษัท แสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ โดยชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการทุจริตจนได้ทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยมิชอบ”นายเพรียวพงศ์ กล่าว
นายเพรียวพงศ์ กล่าวอีกว่า นอกจากเรียกค่าเสียหายจากบริษัทนกแอร์ไลน์จำกัด จำนวน 102,112.43 บาท แยกเป็นเงินค่าตั๋วโดยสารที่คิดเกินจำนวน 2,112.43 บาท และค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีนี้อีกจำนวน 100,000 บาท แล้ว ยังให้ทางบริษัทนกแอร์ไลน์ จำกัด หยุดการจองตั๋วโดยสารทางระบบอินเตอร์เน็ตเป็นเวลา 10 ปี นับตั้งแต่คดีนี้ถึงที่สุด และให้บริษัท นกแอร์ไลน์ จำกัด ทำหนังสือรับสภาพความผิด และขอโทษ โดยประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันติดต่อกันเป็นเวลา 10 วัน จำนวน 5 ฉบับเป็นอย่างน้อย และกำลังจ้างนักสืบเอกชน เพื่อหาตัวเจ้าหน้าที่ผู้กระทำผิด เพื่อดำเนินการฟ้องอาญาต่อไป
ข่าวจาก นสพ.ไทยรัฐ 23 ม.ค.52