มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้จัดเวทีสภาผู้บริโภคภาคกลาง “ ผ่าทางตันระบบรถโดยสารไทย กรณีอินทราทัวร์” ณ โรงแรม ที เค พา เลซ แอนด์ คอนเวนชั่น วันที่ 17 พฤษภาคม 2559 เวลา 8.30-15.00 น. โดยช่วง เสวนา “ความทุกข์ของผู้บริโภค” เชิญผู้เสียหายจากกรณีประสบอุบัติเหตุอินทราทัวร์บอกเล่าปัญหาที่เกิดขึ้นจาก อุบัติเหตุ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 ซึ่งรถทัวร์คันดังกล่าววิ่งจากเชียงใหม่มุ่งหน้ากรุงเทพ เกิดตกถนนพลิกคว่ำ โดยมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมากจากการเกิดอุบัติเหตุ
นายสุวัฒน์ พลบูรณ์ หนึ่งในผู้ประสบเหตุ กล่าวในเสวนา “ความทุกข์ของผู้บริโภค จากกระบวนการชดเชยรถโดยสารสาธารณะ” ว่าตนกระดูกเชิงกรานแตก รวมถึงได้รับบาดเจ็บ อวัยวะเพศเย็บ 8 เข็ม บาดเจ็บที่หัวไหล่ ผลของอุบัติเหตุครั้งนี้ทำให้ต้องรักษาตัวต่อเนื่อง หยุดทำงานขาดรายได้ส่งผลต่อครอบครัว
นายบุญเลิศ มงคลเสริม ผู้ประสบเหตุอีกราย ซึ่งได้รับบาดเจ็บที่เอ็นกล้ามเนื้อหลัง ข้อเท้า และกระดูกซี่โครงซ้ายซี่ที่ 2 ,4 , 5 หัก มีค่ารักษา100,000 บาท ต้องโอนย้ายเปลี่ยนโรงพยาบาล แต่กลับการชดเชยจากบริษัทอินทราทัวร์ได้ให้ค่าชดเชยเพียง 50,000 บาท ปัจจุบันยังรักษาตัวต่อเนื่อง
นางสุนี อนุพงศ์วรางกูล ภรรยาผู้เสียชีวิต ได้กล่าวว่าทางบริษัทอ้างว่าทางสามีได้แอบขึ้นรถโดยสารจากท่าขึ้นสงดอยติ หลังจากเกิดเหตุยังมีหน่วยงานไหนเข้ามารับผิดชอบต่อผู้เสียหาย ซึ่งได้ยื่นเอกสารต่อสถานที่ต่างๆเพื่อเรียกร้องสิทธิของตนเอง
นอกจากนี้ยังมีเวที “ผ่าทางตันยกระดับมาตรฐานรถโดยสารสาธารณะ” ซึ่ง ดร.สุเมธ องกิตติกุล นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวถึงปัญหาของรถโดยสารคันเกิดเหตุและทางออกรถโดยสาร 2 ชั้นว่ารถ ปัญหาหลักคือ เลขตัวถังไม่ตรงกับทะเบียนทำให้ประกันภัยปฏิเสธจ่ายค่าชดเชย เมื่อนำรถไปตรวจสภาพ สิ่งที่ต้องตรวจหลักฐานที่สำคัญคือเลขตัวถัง ปัญหาของกรณีนี้คือปัญหาขอเลขตัวถังไม่ตรงกับที่จดทะเบียนไว้ ฉะนั้น รถโดยสารคันนี้มีปัญหากับหน่วยงานที่จดทะเบียน แต่กลับมีการวิ่งให้บริการประชาชน
“เราจะมั่นใจรถโดยสารที่เอามาวิ่งบริการทั่วไปได้อย่างไร แม้กรมฯ จะริเริ่มเรื่องจีพีเอส คำถามที่ตามมาคือ จะแล้วเสร็จทั้งระบบเมื่อไหร่ ระบบเป็นปัญหาอยู่พอสมควร คำถามที่ผู้บริโภคอยากมั่นใจ ถามกับหน่วยงานรัฐ มั่นใจได้มากน้อยแค่ไหน แม้เราจะพยายามรณรงค์ในส่วนที่ผู้โดยสารตรวจสอบได้ เช่น ไม่ขึ้นรถผิดกฎหมาย ตรวจสอบการมีเข็มขัด นี่คือที่ผู้บริโภคพยายามดำเนินการ แต่นี่เหนือกว่าที่ผู้บริโภคตรวจสอบได้”
นอกจากนี้ยังกล่าวเพิ่มเติมว่าหลายครั้งเมื่อเกิดอุบัติเหตุ หากรถร่วมไม่มีเงินจ่าย บขส.สามารถบังคับให้ขยายการประกันภัยได้ โดยประกันภัยภาคบังคับตอนนี้เพิ่มจาก 2 แสน เป็น 3 แสน จะทำให้การเยียวยามีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการมักมีปัญหาเรื่องสภาพคล่อง จะช่วยลดความเสี่ยงได้ จากการทำประกันภัยภาคสมัครใจ การเพิ่มวงเงินคุ้มครอง
นายธนัช ธรรมิสกุล มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคให้ความเห็นต่อว่ากรณีอุบัติเหตุนี้ว่าครั้งนี้ว่า เป็นอุทธาหรณ์ที่ต้องตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคพร้อมเสนนว่าให้รถโดยสารสาธารณะที่สูงเกิน 3.6 เมตรทุกคันต้องผ่านการทดสอบความลาดเอียง และกรณีการติดจีพีเอสนั้น ต้องเป็นระบบเรียลไทม์โดยอาจเชื่อมระบบกับตำรวจทางหลวง