ถอดบทเรียนผู้บริโภคสู่กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคคุณภาพ

600314 pic2
เวทีของงานสัมนา ผู้บริโภค และรณรงค์วันสิทธิผู้บริโภคสากล วันที่ 14 มี.ค. ช่วงบ่าย แบ่งห้องย่อยออกเป็น 2 ห้อง ห้องแรก ฟังเสียงผู้บริโภค ตามกฎหมายมาตรา 46 ของร่างรัฐธรรมนูญ โดยเป็นเสียงสะท้อนจากผู้บริโภค 8 รายสะท้อนปัญหา ซ่างร่างกฎหมาย มาตรา 46 ระบุว่า สิทธิของผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครอง บุคคลย่อมมีสิทธิรวมกันจัดตั้งองค์กรของผู้บริโภคเพื่อคุ้มครองผู้และพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค องค์กรของผู้บริโภคตามวรรคสองมีสิทธิรวมกันจัดตั้งเป็นองค์กรที่มีความเป็นอิสระเพื่อให้เกิดพลังในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคโดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการจัดตั้ง อำนาจในการเป็นตัวแทนของผู้บริโภค และการสนับสนุนด้านการเงินจากรัฐ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ



นายเจริญ วงศ์กังแห ตัวแทนผู้บริโภคด้านอสังหาริมทรัพย์ ได้รับความเสียหายจากการซื้อที่ดินเพื่อลงทุน ปัญหาซื้อที่ดินสวนเกษตร บริษัทโฆษณาว่าจะได้ผลตอบแทนถึงล้านกว่าบาทต่อแปลง โดยให้ร่วมลงทุน 15 ปี ซึ่งคุ้มกว่าลงทุนฝากไว้กับธนาคาร แต่กลับไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่ตกลงไว้  ซื้อที่ดินกับเพื่อน 3 แปลง ตนเองซิ้อ 1 แปลงครั้ง จ่ายเงิน 1,800,000 บาท ทำสัญญาว่าจ้างดูแลสวน แปลงละ 5,000 ต่อปี

นายสมคิด โพธิ์จินดา ตัวแทนผู้บริโภคด้านสื่อและโทรคมนาคม ได้รับความเสียหายจากการตั้งเสาสัญญาโทรศัพท์มือถือ ให้บริษัทเครือข่ายโทรศัพท์มือถือเช่าพื้นที่ เพื่อติดตั้งเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ ตั้งแต่มีการตั้งเสาสัญญาณโทรศัพท์ในปีที่ 5 พบว่า สุขภาพมีปัญหา ส่วนสุขภาพของผู้ร้องจะเป็นโรคความจำสั้น หงุดหงิดง่าย และเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และวัวเป็นหมัน แม้ว่าจะผสมกับวัวสาวก็ตาม จะไม่ติดลูกหรือถ้าติดลูกที่ออกมาก็จะขาลีบ

นางสุนี อนุพงศ์วรางกูร ตัวแทนผู้บริโภคด้านบริการสาธารณะ ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 รถทัวร์ได้ประสบอุบัติเหตุรถทัวร์โดยสาร สายกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ เสียหลักพลิกค่ำลงข้างถนนที่ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง เป็นเหตุให้สามีของผู้ร้องเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ

นายมงคล ปุรมณีวิวัฒน์ ตัวแทนผู้บริโภคด้านสินค้าและบริการทั่วไป ได้รับความเสียหายจากการซื้อรถยนต์ใหม่ เมื่อปีพ.ศ 2554 ซื้อรถยนต์ยี่ห้อดัง ราคา 875,000 บาท รถชำรุดบกพร่อง รถเกิดอาการกระตุกและเครื่องยนต์เร่งรอบขึ้นไปเองที่ความเร็วรอบที่ 5,500 รอบต่อนาที แต่ความเร็วกลับลดลงเหลือ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมงโดยไม่ทราบสาเหตุ ไม่ได้รับการแก้ไขจากผู้ประกอบการ

นายคณิต เสตะรุจิ ตัวแทนผู้บริโภคด้านสินค้าและบริการทั่วไป ได้รับความเสียหายจากสถานบริการออกกำลังกายปิดกิจการ ปัญหาการซื้อคอร์สออกกำลังกาย แล้วสถานบริการปิด ไม่สามารถใช้บริการได้
นายธีระ ชีพธำรง ตัวแทนผู้บริโภคด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้รับความเสียหายจากการซื้ออาหารในห้างสรรพสินค้าการซื้ออาหารปรุงสุกจากห้างสรรพสินค้า พบว่าเมื่อผู้ร้องซื้ออาหารแปรรูปฟักทองนึ่ง และปลานิลทอด แต่มีกลิ่น ขอให้ห้างสรรพสินค้าชดเชย

คุณปราณี สินสวัสดิ์ ตัวแทนผู้บริโภคด้านการเงินการธนาคาร กรณีซื้อบริการเสริมความงามแล้วมีการแพ้ จึงขอยกเลิกบริการกับบริษัทเสริมความงามแล้ว แต่ยังถูกธนาคารเจ้าของบัตรฟ้องคดีเรียกคืนเงินจากบัตรเครดิต

นายพรทิวา ลามี ตัวแทนผู้บริโภคด้านบริการสุขภาพ ภรรยาได้รับความเสียหายจากการประมาทของพนักงานโรงพยาบาลที่ไม่สวมอุปกรณ์ป้องกันหู ตอนเข้าเครื่อง MRI เป็นเหตุให้ประสาทหูเสื่อม มีอาการปวดหลังและเข้ารับการรักษา ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ แพทย์ทำการตรวจรักษาโดยใช้เครื่องMRI แต่ขณะที่เข้าเครื่องดังกล่าว เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลไม่ใส่อุปกรณ์ปิดหู เพื่อป้องกันเสียงดัง ภายหลังการตรวจผู้ร้องจึงมีอาการได้ยินเสียงรบกวนในหู จนทำให้นอนไม่หลับ และยังมีอาการไม่สามารถทรงตัวได้

600314 pic3

 

600314 pic4

600314 pic5

ด้านนางสาวจุฑา สังขชาติ เลขาธิการสมาคมผู้บริโภค จังหวัดสงขลา หลังรับฟังปัญหาจากผู้บริโภคนั้นกล่าวว่าย้ำชัดว่าผู้บริโภคขาดข้อมูลในการเยียวยาตัวเอง หรือแม้จะรู้ช่องทางการใช้สิทธิ์แต่หน่วยงานนั้นก็ไม่ได้คุ้มครองผู้บริโภคที่รอบด้าน การจะใช้สิทธิ์คุ้มครองตัวเองจึงต้องใช้พลังอย่างมาก

นายพิฆเนศ ต๊ะปวง รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บรโภค (สคบ.) กล่าวว่า สคบ.นั้นเป็นหน่วยงานหนึ่งของรัฐและมีข้อจำกัดด้านกำลังคน ตนเองก็เป็นผู้บริโภคที่เคยมีปัญหาการซื้อบ้าน ลูกบ้านจะไปร้องที่ สคบ.เช่นกันแต่รู้ข้อจำกัด เลยรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องสิทธิ พร้อมเสนอความเห็นเกี่ยวกับ มาตรา 46
“กรณีการจัดตั้งองค์กรตามร่างกฎหมายนั้น จัดตั้งได้ แต่ต้องมีมาตรฐาน แก้ปัญหาผู้บริโภคได้ รวมถึงต้องเชื่องโยงเครือข่ายได้ แต่การเป็นอิสระนั้นต้องดูรายละเอียดว่าจะอย่างไร และระหว่างนี้ สคบ.เองกำลังศึกษาการจัดตั้งองค์กรของแต่ละประเทศอยู่ทั้งการจัดตั้ง อำนาจหน้าที่ เพื่อพัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพ”

ด้าน รศ.ภญ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อ การคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนชุดนำร่อง ให้ความเห็นว่า กลไกการคุ้มครองผู้บริโภคในภาครัฐนั้นไม่เพียงพอที่จะเยียวยาผู้บริโภค

“แนวคิดการจัดตั้งองค์กรผู้บริโภคนั้นต้องเป็นอิสระจากภาครัฐและธุรกิจต่างๆ การรับรององค์กรก็ไม่จำเป็นต้องได้รับการรับรองจาก สคบ.เพียงรับรองด้วยการทำงานของตัวเองมา 2 ปีก็ผ่าน ซึ่งการสนับสนุนด้านงบประมาณนั้นภาครัฐควรจัดสรรงบประมาณให้อย่างชัดเจน ส่วนองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคของภาครัฐก็พัฒนาแนวทางคุ้มครองของตัวเองต่อไป” รศ.ภญ.ดร.จิราพร กล่าว

600314 pic1ห้องที่สองจัด เวทีเสวนา เรื่อง บทเรียนและการต่อยอดการพัฒนาองค์กรผู้บริโภคคุณภาพ:
“ประสบการณ์การ ประโยชน์ และข้อเสนอต่อการพัฒนาองค์กรผู้บริโภคคุณภาพ” โดยมี นางสุภาพร ถิ่นวัฒนากูล มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา นางอาภรณ์ อะทาโส สมาคมผู้บริโภคร้อยเอ็ด นางประคำ ศรีสมชัย สมาคมผู้บริโภคจังหวัดกาฬสินธุ์ ภก.จิระ วิภาสวงศ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน นำเสนอบทเรียนที่ผ่านมา โดยมีนางสาวจิตรา เศรษฐอุดม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเป็น ผู้ให้ความเห็นต่อการพัฒนาองค์กรผู้บริโภคคุณภาพ

 

พิมพ์ อีเมล