ผู้บริโภคต้องมาก่อนการค้า

IMG_8325

     สภาผู้บริโภคอาเซียน เสนอผู้บริโภคต้องมาก่อนการค้า สร้างความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหารเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในระดับอาเซียน

     วันนี้ (25 กรกฎาคม 2557) ที่อิมแพ็คเมืองทองธานี ได้มีจัดการเสนวนา “กินเปลี่ยนโลก: การคุ้มครองผู้บริโภคด้านความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหารในประชาคมอาเซียน” ในงานประชุมวิชาการมหกรรมอาหารและสุขภาพวิถีไท ครั้งที่ 1 ภายใต้แคมเปญ “กินเปลี่ยนโลก: บทบาทอาหารกับสุขภาพ สังคมและสิ่งแวดล้อม” ระหว่างวันที่ 24-27 กรกฎาคม 2557 ในการเสวนาครั้งนี้ได้มีสมาชิกจากองค์กรผู้บริโภคอาเซียน (SEZCC: Southeast Asian Consumer Council) จาก 7 ประเทศ ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย
     ในการเสวนาแลกเปลี่ยนข้อมูลประสบการณ์การทำงานเรื่องความมั่งคง ความปลอดภัย และความสำเร็จด้านอาหารของแต่ละประเทศ พบว่า ในหลายประเทศแม้มีกฎหมายควบคุมแต่ขาดการบังคับใช้หรือการนำมาปฏิบัติที่จริงจัง รวมถึงการกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความตระหนักรู้ถึงกระบวนการผลิตอาหารตั้งแต่ต้นทางถึงปลาย แม้บางประเทศจะมีความหลากหลายทางทรัพยากรแต่ก็ยังมีการนำเข้าอาหารเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะข้าวซึ่งเป็นอาหารหลัก อีกทั้งในหลายประเทศ มีนโยบายผลักดันให้เกษตรผลิตข้าวเพื่อการส่งออก เมื่อการผลิตเพื่อบริโภคเองกลายเป็นการผลิตเพื่อส่งออกจึงนำไปสู่การใช้สารเคมีมากขึ้น และการเป็นหนี้เพราะผลผลิตไม่เป็นไปตามที่ต้องการ นอกจากนี้ยังพบสารปนเปื้อนในอาหารที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคน ในหลายประเทศมีความต้องการให้แก้ไขกฎหมายให้ทันสมัยและคุ้มครองผู้บริโภคได้จริง

 

IMG_8337     ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ สภาผู้บริโภคอาเซียนและประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แถลงข้อเสนอเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ความปลอดภัยทางอาหาร และการคุ้มครองผู้บริโภคในประชาคมอาเซียน
     1.  สร้างความเข้มแข็งให้กับงานคุ้มครองผู้บริโภคในประชาคมอาเซียน ดังนี้
          1.1  เพิ่มความเข้มแข็งให้กับองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค ในการ
                 -  เฝ้าระวังและรายงานเรื่องผลิตภัณฑ์ที่ถูกเรียกคืน/ห้ามขาย
                 -  ให้สาธารณะสามารถเข้าถึงรายชื่อผลิตภัณฑ์ที่ถูกเรียกคืน/ห้ามขาย
                 -  ผลักดันให้หน่วยงานรัฐบังคับใช้กฎหมายและระเบียบต่างๆ อย่างเข้มงวด
          1.2  เพิ่มตัวแทนผู้บริโภคเข้าร่วมในการตัดสินใจเรื่องมาตรการและนโยบายที่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคในอาเซียน
          1.3  เพิ่มการมีส่วนร่วมและความร่วมมือระหว่างองค์กรผู้บริโภคในอาเซียนเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้บริโภค
          1.4  เพิ่มความร่วมมือและการประสานงานระหว่างรัฐบาลของแต่ละประเทศในอาเซียน
     2.  ความปลอดภัยด้านอาหาร
          2.1  ฉลากที่เป็นมิตรต่อผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ฉลากสัญญาณไฟจราจร
          2.2  นโยบายการแบนสินค้าอันตรายในทุกๆ ประเทศในอาเซียน เมื่อมีประเทศใดประเทศหนึ่งแบนสินค้าดังกล่าว
                 ด้วยความตระหนักถึงความมีอยู่ของสินค้าที่ไม่ปลอดภัยในอาเซียน เราจึงขอเสนอให้มีการใช้มาตรฐานและมาตรการเดียวกันเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคจากสินค้าอันตราย/สินค้าไม่ปลอดภัย ในกรณีที่มีหนึ่งประเทศห้ามการขายสินค้าอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่ง อีก 9 ประเทศที่เหลือควรจะห้ามการขายผลิตภัณฑ์นั้นโดยอัตโนมัติ เพื่อไม่ให้ตนเองกลายเป็น “กองขยะสินค้าไม่ปลอดภัย”
          2.3  เราขอให้ประเทศในอาเซียนห้ามการใช้สารเคมี 4 ชนิด (Diclotophose, EPN, Methomyl and Carbofuran)
          2.4  ไม่มีสองมาตรฐานในกลุ่มประเทศอาเซียน จากบริษัทอาหารข้ามชาติ
                 -  เช่น กรณีของ 4 เมทิล อิมิดาโซล ในน้ำอัดลม ที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง ซึ่งถูกห้ามใช้ในสหรัฐ และเกาหลีใต้ แต่ยังสามารถใช้ได้ในประเทศอาเซียน
                 -  ฉลากสัญญาณไฟจราจร ที่เทสโก้ใช้ในอังกฤษ แต่ไม่มีการใช้ในกลุ่มประเทศอาเซียน
     3.  ความมั่นคงทางอาหาร
          3.1  ประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่เป็นประเทศเกษตรกรรม ควรมีการพัฒนาแนวปฏิบัติหรือมาตรฐานที่จำเป็นต่อการสนับสนุน คุ้มครอง และให้ความสำคัญกับเกษตรกรรายย่อย และการค้าในชุมชน
          3.2  สนับสนุนการเกสรเกื้อกูล
                โดยคำนึงถึงการจัดการอาหารทั้งระบบ โดยผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการส่งเสริมเกษตรกรรายย่อย รวมถึงควรมีการสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่ม พัฒนาวิจัย จัดตั้งระบบสหกรณ์รายย่อย ควบคุมสารเคมีที่ต้นทาง นอกจากนี้ควรมีมาตรการควบคุมการดำเนินงานของธุรกิจอุตสาหกรรมการเกษตร เพื่อให้ผู้บริโภคและเกษตรกรได้พบกันโดยไม่ต้องผ่านคนกลาง
     “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีการเปรียบเทียบแต่ละประเทศไม่เท่ากัน เช่น กฎหมาย การปฏิบัติ การบังคับใช้กฎหมาย ฯลฯ แต่เชื่อว่าพลเมืองทุกคนในประเทศอาเซียนมีสิทธิได้รับการคุ้มครอง เราเชื่อในสิ่งนี่ และต้องการให้เป็นจริง  ถึงแม้ว่าเราอยู่ในฝ่ายผู้บริโภค แต่เราก็จะละเลยแหล่งผู้ผลิตอาหารคือเกษตรกรไม่ได้โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยก็ต้องได้รับการคุ้มครองเช่นกัน และพลเมืองทุกคนก็เป็นผู้บริโภคต้องได้รับการคุ้มครองเท่าเทียมกันไม่ว่าจะอยู่ในอาชีพใด” ฮูซนา ซาฮีร์ องค์กรผู้บริโภคอินโดนีเซีย (Yayasan Lembaga Konsumen Indonesia :YLKI) กล่าว
     กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา มูลนิธิชีววิถี กล่าวเพิ่มเติมว่า “ย้ำเรื่องวิกฤต เราอยู่ภายใต้กระบวนการโลกาภิวัฒน์ด้านอาหาร คือการผูกขาด และเป็นอาหารที่ทำลายสุขภาพ ในกระบวนการผลิตใช้สิ่งเจอปนเกินความจำเป็น การขนส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยก็ไปไม่รอด เมื่อเข้าสู่ AEC ก็ต้องสร้างกระบวนการร่วมกัน ฉะนั้นมี 3 ประเด็น คือ ต้องรักษาฐานการเกษตรกรรายย่อย สร้างกระบวนการข่าวสาร สร้างความเข้มแข็งกระบวนการผู้บริโภคที่เป็นอิสระทั้งระดับประเทศและระดับภูมิภาค”
     อลิซ ฟาม องค์กรผู้บริโภคเวียดนา กล่าวเสริมว่า เนื่องจากเรากำลังจะเป็นประชาคมอาเซียน แล้วทุกฝ่ายต่างที่จะทำงานเพื่อให้เป็นประชาคาอาเซียนในปี 2015 ทั้งเรื่องมาตรการ ที่เกี่ยวโยงกับหัวข้อใหญ่ของการประชุมครั้งนี้ มีข้อสังเกตว่ากิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็เป็นการจัดโดยรัฐบาล ทางอาเซียนเองก็ต้องมีมาตรฐาน แต่ละที่ก็นำเสนอเพื่อให้เกิดประชาคมอาเซียน แต่คิดว่าฝ่ายอื่นๆ ก็ควรจะส่งเสียงด้วย ดิฉันคิดว่าตะวันออกเฉียงใต้ต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้น
     ด้าน เจนนิเฟอร์ กุสต์ องค์กรผู้บริโภคประเทศฟิลิปปินส์ กล่าวถึงสิทธิของผู้บริโภคและสิทธิของผู้ผลิตต้องได้รับการคุ้มครอง เขาต้องเจอกับสารเคมีและเมล็ดพันธุ์ เมล็ดพันธุ์ก็ถูกส่งเสริมจากบริษัทสารเคมี ด้วยเหตุนี้ในการที่จะสนับสนุนสิทธิของผู้บริโภคก็ต้องสนับสนุนสิทธิเกษตรกรด้วย
     “นอกจากการปลูกพืช ก็ต้องหยุดยั้งอาหารฟาสต์ฟู้ด เพราะพบโรคอ้วนจากอาหารพวกนี้” สัตยา ชาร์มา สหพันธ์ผู้บริโภคสากล กล่าว

พิมพ์ อีเมล