ผู้บริโภคค้านพ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ เหตุเป็นเครื่องมือของบริษัทที่ต้องยุบ สบท.

เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย คัดค้าน(ร่าง) พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ...... ที่เพิ่งจะผ่านสภาผู้แทนราษฎรเมื่อสัปดาห์ที่ผ่าน เหตุเป็นเครื่องมือของบริษัทที่ต้องยุบสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมที่มีในปัจจุบัน

เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย องค์กรผู้บริโภคจากจังหวัดต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า ๓๐ จังหวัด  กว่า 30 คน เข้ายื่นจดหมายให้นายสมชาย แสวงการ ประธานกรรมาธิการการสิทธิมนุษยชนและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา เสนอให้มีกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคที่เข้มแข็งในร่าง(ร่าง) พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ฯ รวมทั้งข้อให้มีตัวแทนภาคประชาชนร่วมเป็นกรรมาธิการในการพิจารณากฎหมายในขั้นตอนของวุฒิสภา


สืบเนื่องจาก (ร่าง) พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคคลื่นความถี่ฯ มาตร 24 ที่ให้อำนาจ กสทช.ตรวจสอบการดำเนินการของผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง  กิจการโทรทัศน์  และกิจการโทรคมนาคม มิให้มีการดำเนินการใดๆ ในประการที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค  ทั้งนี้โดยให้ กสทช. แต่งตั้งอนุกรรมการขึ้นสองคณะ


โดยข้อเท็จจริงในปัจจุบัน คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทช.)  ได้มีการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองผู้บิโภคในกิจการโทรคมนาคม(สบท.) มีวัตถุประสงค์ในการทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคและให้มีสำนักงานของตนเองบริหารงานเป็นอิสระในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค  ทั้งที่ก่อนหน้าที่ กทช.มีสำนักผู้บริการดำเนินกรคุ้มครองผู้บริโภคภายใต้สำนักงานของ กทช. อยู่แล้ว  หากกฎหมายฉบับนี้เขียนให้มีเพียงอนุกรรมการ นั่นย่อมเป็นเครื่องมือในการยุบสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคฯไปโดยปริยาย

จากการดำเนินงานในปัจจุบันของสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคเพียง 2 ปี จะเห็นได้ว่าทำให้มาตรการคุ้มครองผู้บริโภคที่ออกประกาศโดยคณะกรรมการโทรคมนาคม (กทช.) ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค  ถูกบังคับใช้และเกิดผลในการคุ้มครองผู้บริโภคเพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็น กรณี 107 บาท ในการเรียกเก็บเงินต่อสัญญาณการให้บริการของบริษัทโทรคมนาคม การศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพจากเสาสัญญาณโทรคมนาคม รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคได้รับรู้สิทธิพื้นฐานของผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมมากขึ้น เป็นต้น

การคาดหวังว่าการคุ้มครองผู้บริโภค จะมีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคตามรัฐธรรมนูญมาตรา 61 ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในอากาศ  เพราะยังไม่มีการพิจารณาจากรัฐสภาแต่อย่างใด  ทั้งที่ภาคประชาชนได้เข้าชื่อประชาชน 12,208 รายชื่อมาตั้งแต่ 18 กุมภาพันธ์ 2552  ปีที่ผ่านมา  และที่สำคัญการมีหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคเฉพาะด้านที่ต้องการความเชี่ยวชาญ  ความรู้เฉพาะจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการคุ้มครองผู้บริโภค  สมดังเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

พิมพ์ อีเมล