ผู้บริโภคโทรคมนาคมรวมพลทั่วประเทศ ผอ.สบท. มั่นใจพลังสร้างสรรค์โลกโทรคมนาคม กทช.ตั้งเป้าดันผู้บริโภคกำกับดูแลโทรคมนาคมถ่วงดุลรัฐ ‘จอน’ เผยนายทุนชาติไหนไม่ต่างกัน สำคัญต้องกันการผูกขาด วางหลักโทรคมนาคมเหมือนน้ำไฟ รัฐต้องดูแลให้ประชาชนเข้าถึง ติงสร้างทางเลือก อย่าทิ้งโทรศัพท์บ้าน
22 ธันวาคม 52 โรงแรมรามาการ์เดนส์ วิภาวดีรังสิต สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) จัดเวทีผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมปี 2552 โดยมีเครือข่ายผู้บริโภคฯ จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศเข้าร่วมกว่า 600 คน
นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการ สบท. กล่าวถึงการจัดงานครั้งนี้ว่า เป็นการจัดต่อเนื่องเป็นปีที่สอง โดยมุ่งหมายว่าจะมีการจัดต่อเนื่องเช่นนี้ตลอดไปทุกปี เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคมและสิทธิของผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ทั้งแก่ผู้บริโภคและประชาชนทั่วไป ตลอดจนเพื่อนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคมากำหนดวางแผนการทำงานของสถาบันฯ เพื่อพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค และเพื่อรายงานผลการทำงานของสถาบันฯ ตลอดจนนำความคิดเห็นที่ได้จากเวทีเพื่อใช้เป็นแนวทางการทำงานในปีต่อไป
“ในเวทีปีนี้ เน้นการนำเสนอพลังขับเคลื่อนเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคโดยผู้บริโภคเอง ภายใต้การทำงานของศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคทั้งในระดับจังหวัดและกลไกภาค ซึ่งเป็นพลังสำคัญในการร่วมกันสร้างสรรค์กิจการโทรคมนาคมให้ก้าวหน้าและเป็นธรรม” ผู้อำนวยการ สบท. กล่าวแสดงความเชื่อมั่น
รศ.สุธรรม อยู่ในธรรม กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ประธานในพิธีเปิดการประชุม กล่าวถึงงานคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมว่า ปัจจุบันเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ได้ขยายเครือข่ายไปถึง 26 แห่งแล้ว และเป็นครั้งแรกๆ ที่ผู้บริโภคมีสิทธิอย่างจริงจัง ทำให้กิจการโทรคมนาคมไม่ได้เป็นเพียงเรื่องผู้ให้บริการ แต่เป็นเรื่องที่ผู้บริโภคร่วมกำกับดูแลด้วย โดยในปัจจุบันมีการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่กว่า 80 ล้านเลขหมาย ใช้บริการกว่า 1.4 หมื่นล้านนาที และคาดว่าจะถึง 2 หมื่นล้านนาทีในปีนี้ สถานการณ์ที่เป็นอยู่ จึงมีผู้รับบริการจำนวนมากขณะที่มีผู้ให้บริการจำนวนเท่าเดิม การที่ผู้บริโภคตื่นตัวและขยายตัวอย่างรวดเร็ว จึงเป็นสิ่งสร้างสรรค์ เพื่อความถูกต้อง เป็นธรรม
นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องทำให้เกิดขึ้นในการคุ้มครองผู้บริโภค นอกจากการเข้าถึงอย่างทั่วกันแล้ว ยังต้องกำหนดทิศทางองค์กรกำกับผู้ให้บริการ โดยผู้บริโภคต้องมีบทบาทเป็นผู้กำกับมากขึ้น โดยร่วมกับ กทช. สบท. องค์กรผู้บริโภค และผู้บริโภคเอง เพื่อทำให้การกำกับดูแลเปลี่ยนจากรัฐมาเป็นองค์กรของผู้บริโภค
“ทุกวันนี้เรายังไม่ค่อยรู้ข้อมูลของผู้ให้บริการในกิจการโทรคมนาคม แต่ในวันหนึ่งต้องรู้มากขึ้น เพราะทรัพยากรสื่อสาร คือสมบัติของชาติ การดำเนินงานควรต้องโปร่งใสเปิดเผย และผู้บริโภคต้องเข้าไปมีส่วนร่วม เดินไปหามัน ทำให้การโทรคมนาคมไม่ใช่แค่การพูด ไม่ใช่การเข้าถึงอินเตอร์เน็ต ไม่ใช่การดูคลิป หรือไม่ใช่แค่การส่งอีเมล์ แต่เกี่ยวการพัฒนาประเทศ ความเป็นประชาธิปไตย การปกครองตนเอง ให้ชุมชนมีสิทธิเลือก ประชาชนมีสิทธิมีเสียง มีอำนาจแท้จริงชอบธรรมในการกำกับดูแล” รศ.สุธรรม กล่าวเริ่มต้นเวทีประจำปี 2552
ด้านจอน อึ๊งภากรณ์ ในฐานะองค์ปาฐกของงาน กล่าวถึงการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมว่า บริการด้านโทรคมนาคมถือเป็นสาธารณูปโภค ซึ่งมีหลักการว่า เมื่อกลายเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับชีวิต ทุกคนก็ต้องเข้าถึง เมื่อทุกคนต้องเข้าถึง รัฐก็มีหน้าที่ที่จะเอื้ออำนวยให้เข้าถึงได้โดยทั่วถึง ซึ่งหมายความว่า รัฐต้องมีระบบอุดหนุน หรือช่วยทำให้คนที่ยากจนหรืออยู่ไกลมีโอกาสเท่าเทียมกับคนที่อยู่ในเมืองหรือคนมีเงิน ขณะที่คนจนมีรถเมล์ฟรี รถไฟฟรี แต่ไม่มีมือถือฟรี ไม่มีบริการอินเตอร์เน็ตฟรี โดยเฉพาะโทรศัพท์บ้านในชนบทที่ยังไม่ทั่วถึง ทั้งที่มีความสำคัญเพราะมันเป็นทางเลือกอื่นนอกจากโทรศัพท์มือถือ และทำให้เกิดการแข่งขันข้ามประเภทของสื่อ
อดีตสมาชิกวุฒิสภาท่านนี้ กล่าวด้วยว่า เมื่อรัฐต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานแล้ว รัฐต้องเป็นเจ้าของด้วย การมีระบบสัมปทานก็ต้องไม่ทำให้เอกชนคุมโครงสร้างนั้นได้ การเปิดให้เอกชนเข้ามาแข่งขันจึงต้องเป็นไปโดยเสรี
นายจอนระบุถึงเรื่องนี้ด้วยว่า กลุ่มทุนธุรกิจไทยกับทุนต่างประเทศต่างก็ขูดรีดและหวังกำไรเหมือนกัน ดังนั้น อย่าเอาความเป็นชาตินิยมมาเป็นตัวกำหนด แต่ต้องคำนึงถึงการเปิดการแข่งขันให้มากที่สุด เพราะประโยชน์จะตกอยู่กับผู้บริโภค นอกจากนี้ยังต้องป้องกันการผูกขาดทุกรูปแบบ ทั้งในการให้บริการเครือข่าย และบริการข้ามประเภท โดยเห็นว่า ควรป้องกันไม่ให้บริษัทที่จัดบริการกับบริษัทที่จัดเนื้อหา เป็นบริษัทเดียวกัน เป็นต้น
ทั้งนี้ ได้กล่าวถึงการให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน หรือโทรศัพท์บ้านด้วยว่า อย่ามองข้ามแม้จะเป็นเทคโนโลยีเก่า เพราะโทรศัพท์บ้านจะเป็นทางเลือกให้กับผู้ใช้บริการ และยังหมายความถึงการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตราคาถูก ซึ่งจะทำให้เด็กวัยรุ่นไม่ต้องใช้มือถือมากเท่าปัจจุบัน ซึ่งค่าใช้โทรศัพท์ในขณะนี้ ถือเป็นรายจ่ายหลักของครอบครัวอีกอย่างหนึ่งไปแล้ว
22 ธันวาคม 52 โรงแรมรามาการ์เดนส์ วิภาวดีรังสิต สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) จัดเวทีผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมปี 2552 โดยมีเครือข่ายผู้บริโภคฯ จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศเข้าร่วมกว่า 600 คน
นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการ สบท. กล่าวถึงการจัดงานครั้งนี้ว่า เป็นการจัดต่อเนื่องเป็นปีที่สอง โดยมุ่งหมายว่าจะมีการจัดต่อเนื่องเช่นนี้ตลอดไปทุกปี เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคมและสิทธิของผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ทั้งแก่ผู้บริโภคและประชาชนทั่วไป ตลอดจนเพื่อนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคมากำหนดวางแผนการทำงานของสถาบันฯ เพื่อพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค และเพื่อรายงานผลการทำงานของสถาบันฯ ตลอดจนนำความคิดเห็นที่ได้จากเวทีเพื่อใช้เป็นแนวทางการทำงานในปีต่อไป
“ในเวทีปีนี้ เน้นการนำเสนอพลังขับเคลื่อนเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคโดยผู้บริโภคเอง ภายใต้การทำงานของศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคทั้งในระดับจังหวัดและกลไกภาค ซึ่งเป็นพลังสำคัญในการร่วมกันสร้างสรรค์กิจการโทรคมนาคมให้ก้าวหน้าและเป็นธรรม” ผู้อำนวยการ สบท. กล่าวแสดงความเชื่อมั่น
รศ.สุธรรม อยู่ในธรรม กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ประธานในพิธีเปิดการประชุม กล่าวถึงงานคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมว่า ปัจจุบันเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ได้ขยายเครือข่ายไปถึง 26 แห่งแล้ว และเป็นครั้งแรกๆ ที่ผู้บริโภคมีสิทธิอย่างจริงจัง ทำให้กิจการโทรคมนาคมไม่ได้เป็นเพียงเรื่องผู้ให้บริการ แต่เป็นเรื่องที่ผู้บริโภคร่วมกำกับดูแลด้วย โดยในปัจจุบันมีการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่กว่า 80 ล้านเลขหมาย ใช้บริการกว่า 1.4 หมื่นล้านนาที และคาดว่าจะถึง 2 หมื่นล้านนาทีในปีนี้ สถานการณ์ที่เป็นอยู่ จึงมีผู้รับบริการจำนวนมากขณะที่มีผู้ให้บริการจำนวนเท่าเดิม การที่ผู้บริโภคตื่นตัวและขยายตัวอย่างรวดเร็ว จึงเป็นสิ่งสร้างสรรค์ เพื่อความถูกต้อง เป็นธรรม
นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องทำให้เกิดขึ้นในการคุ้มครองผู้บริโภค นอกจากการเข้าถึงอย่างทั่วกันแล้ว ยังต้องกำหนดทิศทางองค์กรกำกับผู้ให้บริการ โดยผู้บริโภคต้องมีบทบาทเป็นผู้กำกับมากขึ้น โดยร่วมกับ กทช. สบท. องค์กรผู้บริโภค และผู้บริโภคเอง เพื่อทำให้การกำกับดูแลเปลี่ยนจากรัฐมาเป็นองค์กรของผู้บริโภค
“ทุกวันนี้เรายังไม่ค่อยรู้ข้อมูลของผู้ให้บริการในกิจการโทรคมนาคม แต่ในวันหนึ่งต้องรู้มากขึ้น เพราะทรัพยากรสื่อสาร คือสมบัติของชาติ การดำเนินงานควรต้องโปร่งใสเปิดเผย และผู้บริโภคต้องเข้าไปมีส่วนร่วม เดินไปหามัน ทำให้การโทรคมนาคมไม่ใช่แค่การพูด ไม่ใช่การเข้าถึงอินเตอร์เน็ต ไม่ใช่การดูคลิป หรือไม่ใช่แค่การส่งอีเมล์ แต่เกี่ยวการพัฒนาประเทศ ความเป็นประชาธิปไตย การปกครองตนเอง ให้ชุมชนมีสิทธิเลือก ประชาชนมีสิทธิมีเสียง มีอำนาจแท้จริงชอบธรรมในการกำกับดูแล” รศ.สุธรรม กล่าวเริ่มต้นเวทีประจำปี 2552
ด้านจอน อึ๊งภากรณ์ ในฐานะองค์ปาฐกของงาน กล่าวถึงการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมว่า บริการด้านโทรคมนาคมถือเป็นสาธารณูปโภค ซึ่งมีหลักการว่า เมื่อกลายเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับชีวิต ทุกคนก็ต้องเข้าถึง เมื่อทุกคนต้องเข้าถึง รัฐก็มีหน้าที่ที่จะเอื้ออำนวยให้เข้าถึงได้โดยทั่วถึง ซึ่งหมายความว่า รัฐต้องมีระบบอุดหนุน หรือช่วยทำให้คนที่ยากจนหรืออยู่ไกลมีโอกาสเท่าเทียมกับคนที่อยู่ในเมืองหรือคนมีเงิน ขณะที่คนจนมีรถเมล์ฟรี รถไฟฟรี แต่ไม่มีมือถือฟรี ไม่มีบริการอินเตอร์เน็ตฟรี โดยเฉพาะโทรศัพท์บ้านในชนบทที่ยังไม่ทั่วถึง ทั้งที่มีความสำคัญเพราะมันเป็นทางเลือกอื่นนอกจากโทรศัพท์มือถือ และทำให้เกิดการแข่งขันข้ามประเภทของสื่อ
อดีตสมาชิกวุฒิสภาท่านนี้ กล่าวด้วยว่า เมื่อรัฐต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานแล้ว รัฐต้องเป็นเจ้าของด้วย การมีระบบสัมปทานก็ต้องไม่ทำให้เอกชนคุมโครงสร้างนั้นได้ การเปิดให้เอกชนเข้ามาแข่งขันจึงต้องเป็นไปโดยเสรี
นายจอนระบุถึงเรื่องนี้ด้วยว่า กลุ่มทุนธุรกิจไทยกับทุนต่างประเทศต่างก็ขูดรีดและหวังกำไรเหมือนกัน ดังนั้น อย่าเอาความเป็นชาตินิยมมาเป็นตัวกำหนด แต่ต้องคำนึงถึงการเปิดการแข่งขันให้มากที่สุด เพราะประโยชน์จะตกอยู่กับผู้บริโภค นอกจากนี้ยังต้องป้องกันการผูกขาดทุกรูปแบบ ทั้งในการให้บริการเครือข่าย และบริการข้ามประเภท โดยเห็นว่า ควรป้องกันไม่ให้บริษัทที่จัดบริการกับบริษัทที่จัดเนื้อหา เป็นบริษัทเดียวกัน เป็นต้น
ทั้งนี้ ได้กล่าวถึงการให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน หรือโทรศัพท์บ้านด้วยว่า อย่ามองข้ามแม้จะเป็นเทคโนโลยีเก่า เพราะโทรศัพท์บ้านจะเป็นทางเลือกให้กับผู้ใช้บริการ และยังหมายความถึงการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตราคาถูก ซึ่งจะทำให้เด็กวัยรุ่นไม่ต้องใช้มือถือมากเท่าปัจจุบัน ซึ่งค่าใช้โทรศัพท์ในขณะนี้ ถือเป็นรายจ่ายหลักของครอบครัวอีกอย่างหนึ่งไปแล้ว