วันที่ 22 ก.ค. 64 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับ กพย.-ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา จัดเวทีเสวนา ‘รู้เท่าทันโฆษณาอาหารยารักษาโควิดได้หรือไม่?’ โดยมี นพ.ประพจน์ เภตรากาศ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และ นายชาติวุฒิ วังวล ผอ. สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพร่วมเปิดเวทีเสวนา ในเวทีเสวนาได้มีการแลกเปลี่ยนประเด็น การรู้เท่าทันโฆษณาอาหาร ยา ช่วงโรคระบาดไวรัสโคโรน่า (โควิด-19)
คุณมลฤดี โพธิ์อินทร์ นักวิชาการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 62 – 64 ก่อนเกิดโรคโควิด-19 ที่ผ่านมูลนิธิทำงานร่วมกับทั้งหมด 6 ภาคได้ทำงานเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ออนไลน์ เนื่องจากพบว่าช่วงที่ผ่านมาการซื้อขายสินค้าผ่านออนไลน์มาก ผ่านช่องทางE-Market Place และเฟสบุ๊ค จึงทำให้เกิดกลไกการเฝ้าระวัง เกิดระบบการทำงาน และเครื่องมือการส่งต่อ การจัดการสถานการณ์ร่วมกับหน่วยงาน และแจ้งเตือนภัยให้กับผู้บริโภคทั่วประเทศ
โดยที่ผ่านมาเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ที่ อย. ยกเลิกเลขสารบบแล้ว แต่ยังมีขายในตลาดออนไลน์จำนวนมาก ซึ่งได้หารือร่วมกับ อย. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้แก้ไข อย่างเช่นผลงานเฝ้าระวังวังการขายผลิตภัณฑ์ยกเลิกเลขสารบบที่พบว่าหลัง อย.ประกาศยกเลิก ยังพบ จำนวน 40 รายการ จาก 100 รายการ ผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก 72.5% ยารักษาโรค 15.0% ผิวขาว 7.5% และ เสริมสมรรถภาพทางเพศ 5.0% และยังพบว่า ผลิตภัณฑ์ที่ยกเลิกเลขสารบบแล้ว แต่เปลี่ยนชื่อแต่ใช้เลขสารบบเดิมมาขายต่อ
ผลของการเฝ้าระวังเรื่องร้องเรียนโฆษณาเกินจริงในมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และ เครือข่าย 7 ภาค ตั้งแต่ ปี63-64 จำนวน 829 ราย ทำให้มูลนิธิฯ ได้สร้างวัตกรรมใหม่ขึ้นมา เช่น การการใช้ระบบ AI ตรวจจับ คนแสดงความเห็นในสื่อออนไลน์ และได้นำข้อมูลเข้าเผยแพร่และเสริมความรู้ให้กับผู้บริโภค ปัจจุบันอยู่ในช่วงทดลองใช้งานจริง
คุณสมศักดิ์ ชมภูบุตร ประธานศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจ.ลำปาง ตัวแทนเครือข่ายเฝ้าระวังฯ ในทางภาคเหนือ กล่าว มีการเฝ้าระวังการขายสินค้าในอินตราแกรม ขายผลิตภัณฑ์ผิวขาว ไม่แสดงเลขที่ใบรับจดแจ้งของ อย. หรือโฆษณาเกินจริง ในส่วนการเฝ้าระวังทางโทรทัศน์ ได้ชี้เป้าให้ กสทช. ในสื่อโทรทัศน์ เรื่องผลิตภัณฑ์รักษาโรคได้ พบกว่า 30 ตัวอย่าง เป็นการโอ้อวดเกินจริง อ้างผู้เชี่ยวชาญ และสัมภาษณ์บุคคลที่น่าเชื่อถือ และที่สำคัญ มีการจัดโปรโมชั่นที่ชักชวนจูงใจ โฆษณาเกินจริง ปัญหาที่พบคือหลังเฝ้าระวังแจ้งเรื่องแล้ว มีการเปลี่ยนเพจ และชื่อสินค้านำมาจำหน่ายเหมือนเดิม
ข้อเสนอเครือข่ายกรณีที่เจอผลิตภัณฑ์ที่ขายในสื่อออนไลน์ หากเจอในระบบแล้วอยากให้มีการลบออกจากสารบบให้หมด พบว่าหลังเฝ้าระวังผ่านไป 1 ปี ยังคงพบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในระบบ และอยากให้มีการส่งคืนข้อมูลหลังจัดการปัญหาให้คืนเข้ากลับไปในพื้นที่เพื่อเผยแพร่ให้กับผู้บริโภคต่อไปได้
คุณวรสุดา ยูงทอง ผอ.กองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น กล่าวถึงการทำงานเชื่อมต่อเรื่องร้องเรียนในแต่ละเครือข่าย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหา เช่นกสทช. จะดำเนินการตามหน้าที่โดยการปิดสถานีที่มีการโฆษณาผิดกฎหมาย แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะแจ้งเตือนให้กับสถานีวิทยุ โทรทัศน์ ให้มีการโฆษณาที่ถูกต้อง
คุณธนพลธ์ ดอกแก้ว นายกสมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย กล่าว ชมรมเพื่อนโรคไตเจอโฆษณาเกินจริง ขายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่น่าสนใจชักจูง ดูดี ทำให้ผู้ป่วยโรคไตที่ติดเชื้อโควิดเข้าใจผิด ซื้อสินค้าที่ถูกหลอกขาย ซึ่งอ้างรักษาโรคโควิด ทดแทนฟาวิพิราเวียร์ แต่ปรากฎเป็นเพียงยาถ่ายพยาธิ ซึ่งเกิดผลกระทบกับสุขภาพทรุดหนักขึ้นอีก และผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่สรรพคุณที่ไม่ได้เหมาะกับกลุ่มผู้ป่วยบางกลุ่ม ซึ่งต้องเลือกเพราะอาจเกิดผลกระทบมากกว่าที่จะรักษาให้หาย ผู้บริโภคเมื่อเจอโฆษณาผลิตภัณฑ์และซื้อรับประทาน เมื่อถึงช่วงรักษา ไม่สามารถรักษาได้ก็เป็นปัญหาหนักสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจกับกลุ่มผู้ป่วยให้มากขึ้นไม่ให้หลงเชื่อการโฆษณาเกินจริงขายยารักษาโควิด
ภญ. อรัญญา เทพพิทักษ์ ผอ.ศูนย์จัดการเรื่องร้องเรียน และปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ กล่าวว่า จากสถิติเรื่องร้องเรียน มีเรื่องเรียนกว่า 1,010 เรื่อง อยู่ในภูมิดภาคกว่า 576 เรื่อง (62%) จะเป็นเรื่องร้องเรียน ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม เครื่องสำอาง ยารักษาโรค หน้ากากอนามัย หรือผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมาย ปัญหาที่พบปัจจุบันระบบ AI ตรวจจับคำพูดของผู้บริโภคที่มักเกิดในสื่อออนไลน์ เช่น สื่อ Facebook ที่เมื่อมีการพูดถึงผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนัก จะมีการผลิตภัณฑ์โผล่ใน Facebook จำนวนหลายยี่ห้อ มีการโฆษณาซ้ำๆ จนให้เกิดความเชื่อว่าสามรรถรักษาได้จริง และเชื่อว่าเมื่อมีการโฆษณาแบบน่าเชื่อถือ การขึ้นทะเบียนคงถูกต้องเรียบร้อย การระมัดระวังจึงไม่เกิดขึ้น
กระบวนการโฆษณาที่เกิดขึ้นได้ง่าย การเปรียบเทียบปรับ การจัดการทางกฎหมายใช้เวลานาน ทำให้ต้องออกแบบในการจัดการให้เร็วขึ้น คือการเข้าไปแจ้งเรื่องร้องเรียน การกีดกั้นการมองเห็น หรือ รีพอร์ตโฆษณานั้นๆ อำนาจหน้าที่ของอย. ไม่สารรถจัดการได้หมด อย่างกรณีการตรวจจับต้องส่งต่อให้ ตำรวจเพื่อให้ดำเนินการต่อ การส่งต่อให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ และที่สำคัญได้สร้างจริยธรรมร่วมกับผู้ประกอบการในการผลิตและจำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพและปลอดภัย
ปัจจุบันอย. ได้มีการ่วมมือกับ Facebooking ทำเรื่องการตรวจจับการขายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมาย หรือผิดมาตรฐานชุมชน หากมีการ Report ระบบรายงานเข้าไประบบFacebook ทางทีมงานfacebookจะดำเนินการปิดกั้นให้ภายใน 48 ชม. และสิ่งที่ผู้บริโภคจะช่วยได้คือการไม่แชร์ ไม่ฟอโล่ ให้กดอีโมชั่นหน้าโกรธและกดรีพอร์ด เพื่อให้ AI เว็บเพจนั้นๆ จะได้เรียนรู้ว่าคำต่างๆที่ผิดกฎหมายไม่ควรอยู่ในทุกแพลตฟอร์ม หากมีการเผยแพร่ข่าวปลอมช่วยกันแชร์เพื่อจะได้ทราบทั่วถึงกันในกลุ่มผู้บริโภค
ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการ เฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา กล่าวว่า อยากเน้นย้ำ เรื่องการสร้างข่าวเฟคนิวส์ พบว่าประเทศไทย พบ 9 เดือน พบคนไทยแชร์ข่าวปลอม 20 ล้านคน (1 ต.ค. – 30 มิ,ย. 64) พบพฤติกรรมการเผยแพร่ข่าวปลอมของคนไทยจำนวนโพสต์ข่าวปลอม 587,039 คน และจำนวนผู้แชร์ข่าวปลอม 20,294,635 คน ขณที่กลุ่มคนที่มีพฤติกรรมมากว่า 90% อยู่ในช่วงอายุ 18-34 ปี และพบว่า 70% ข้อมูลปลอมที่แชณ์เป็นเรื่อง สุขภาพ การโฆษณาชวนเชื่อ เช่น เครื่องอ๊อกซิเจนทำให้โควิด-19 หาย หรือ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ผสมยาสมุนไพรรักษาโควิด-19 ที่บอกว่าสามารถรักษาโควิดได้ ซึ่ง การใช้คำที่ผิด
การทำงานการเฝ้าระวังต้องทำร่วมกัน เพื่อจะได้ไม่ต่างคนต่างทำในการแก้ไขปัญหากรณีโฆษณาเกินจริง เพราะว่าปัจจุบันมีหน่วยงานหลายหน่วยที่ทำเรื่องการตรวจจับโฆษณาผลิตภัณฑ์ผิดกฎหมาย การเปิดแหล่งตรวจสอบเฟคนิวส์ และให้ผู้บริโภคทราบแหล่งตรวจสอบทำให้ประชาชนไม่หลงเชื่อโฆษณาเกินจริงหรือผิดกฎหมายได้
ทั้งนี้ ในเวทีเสวนายังมีการแลกเปลี่ยนเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ หรือโฆษณาเกินจริงผลิตภัณฑ์สุขภาพ และการแจ้งแหล่งตรวจสอบศูนย์ข่าวปลอมให้กับผู้เข้าร่วมเวที และผู้ร่วมชมใน Facebook Live
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมใน Live สด ได้ที่ลิงก์ I> เสวนา 'รู้เท่าทัน ..โฆษณาอาหารยารักษาโควิด-19 ได้หรือไม่?