ต้าน"พาราควอต"หลังได้ไปต่ออีก 6 ปี

601122

จากกรณีคณะกรรมการวัตถุอันตรายที่มีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน มีมติให้ต่อทะเบียน "พาราควอต" สารเคมีเกษตรไปอีก 6 ปี สามารถใช้ในภาคการเกษตรได้ต่อ เนื่องจากยังไม่มีผลการวิเคราะห์หรือตีความออกมาว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งมี 5 กระทรวงหลัก นำโดยกระทรวงสาธารณสุขเข้าร่วม มีมติและเสนอเป็นนโยบายให้ยุติการใช้สารเคมีทั้ง 2 ตัว คือ พาราควอต และคลอร์ไพริฟอส ในวันที่ 1 ธ.ค.2562 โดยระบุว่า พาราควอตจัดเป็นยาพิษที่มีความรุนแรง และ 47 ประเทศประกาศยกเลิกการใช้แล้ว ระหว่างนี้จะไม่อนุญาตให้มีการต่ออายุ

อ่านต่อ

พิมพ์ อีเมล

ครม.เห็นชอบร่างกม.ความรับผิดต่อความชำรุด-บกพร่องของสินค้า

Lemon Law 3คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงพาณิชย์ สำนักงานศาลยุติธรรม และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป

อ่านต่อ

พิมพ์ อีเมล

'ฉลาดซื้อ' เผยผลทดสอบประสิทธิภาพการลดความร้อนของ 'ฟิล์มติดรถยนต์' เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภค

press pic 170860 001

นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เผยผลทดสอบประสิทธิภาพการทดสอบแผ่นฟิล์มลดความร้อนติดรถยนต์จำนวน 6 ยี่ห้อยอดนิยม แนะผู้บริโภคพิจารณาเรื่องการลดความร้อนของฟิล์มเป็นหลัก

         ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ ร่วมกับห้องปฏิบัติการมาตรฐานทางแสงและอุณหภูมิ ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ทดสอบแผ่นฟิล์มลดความร้อนติดรถยนต์ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการป้องกันไม่ให้เกิดความร้อนในรถยนต์ ที่เกิดจากคลื่นความร้อน (รังสีอินฟราเรด) ส่องเข้ามาในตัวรถและไม่สามารถสะท้อนออกไปได้

         โดยสุ่มทดสอบฟิล์มติดรถยนต์จำนวน 6 ยี่ห้อ จากยี่ห้อฟิล์มติดรถที่นิยมใช้กันทั่วไปในตลาด โดยมีระดับการกรองแสงเท่าๆ กันที่ประมาณ 60% (ตามค่าที่แจ้งบนฉลาก) ได้แก่ ยี่ห้อ 1. 3M รุ่น FX20 2. Lamina รุ่น ARL20C 3. Hi-Kool รุ่น MO 15 HC 4. Xtra-Cole รุ่น XC 20 NE 5. FuchiCool รุ่น C 60 B และ 6. ไม่มียี่ห้อ รุ่น ไม่มีปรอท การทดสอบได้ออกแบบให้สามารถวัดประสิทธิภาพได้ 4 ประเภท ดังนี้ คือ 1.ความสามารถของฟิล์มติดรถยนต์ในเรื่องการช่วยลดแสงยูวี 2.การช่วยลดแสงสว่างในช่วงที่สายตามองเห็น 3.ความสามารถในการกันรังสีความร้อน (Infrared) และ4.การป้องกันความร้อนสะสม

         สรุปผลการทดสอบมีดังนี้ การทดสอบฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์นี้ การพิจารณาเลือกฟิล์มติดรถยนต์นั้นผู้บริโภคควรพิจารณาเรื่องประสิทธิภาพการลดความร้อนเป็นหลัก จึงพบว่า Hi-Kool มีความสามารถกันความร้อนความร้อนได้ดีกว่าทุกยี่ห้อ

หมายเหตุ: ทดสอบด้วยวิธีการวัดจากการจำลองตู้ทดสอบ ซึ่งเป็นตัวแทนของรถยนต์ที่มีกระจกที่ติดฟิล์มตัวอย่าง ปิดอยู่ด้านบน รับแสงจากหลอดฮาโลเจน มีเครื่องวัดแสงเชิงสเปกตรัมอยู่ภายใน และหัววัดอุณหภูมิภายนอกและภายใน

ลิ้งก์บทความ: การทดสอบแผ่นฟิล์มลดความร้อนติดรถยนต์

 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์นิตยสารฉลาดซื้อhttps://goo.gl/1NPy9H

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน