แพทย์ย้ำไม่มีสารช่วยให้ขาวถาวร

แพทย์ผิวหนังย้ำไม่มีสารความขาวที่ช่วยให้ผิวขาวถาวร ทั้งผงไข่มุก ไข่ปลาคาเวียร์ น้ำลายหอยทาก สุดหลอกลวงไม่มีผลงานวิจัยทางแพทย์ยินยันชัดเจนทำให้ผิวดี หน้าเด้ง ส่วนสเต็มเซลล์ เทรนด์ใหม่มาแรง ก็แค่แอบอ้างรักษาไม่ได้ผล แถมมีการใช้ยารักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวช่วยผิวขาวทั้งๆ ที่เป็นผลข้างเคียงของยาทำให้ขาวแต่ซีด หวั่นแห่ใช้แต่น่าจะราคาแพง ส่วนใช้ผงทองคำได้ผลหน้าเนียนเป็นประกายแต่เสี่ยงสะสมในผิวหนังและอวัยวะ เป็นอันตรายต่อสุขภาพขณะที่ครีมกันแดดก็เชื่อไม่ได้ เตรียมเข้มฉลากคำเตือนครีมกันแดด พร้อมหาแนวทางปฏิบัติโฆษณาเหมาะสมไม่ให้คนเข้าใจผิด
       
       วันที่ 26 กุมภาพันธ์ สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย บรรยายพิเศษเรื่อง “ขาวอันตราย ...ขาวอย่างปลอดภัย” โดยรศ.นพ.ประวิตร อัศวานนท์ ประธานวิชาการสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ผลิตผู้ขายที่นำผงไข่มุก ไข่ปลาคาร์เวีย หรือน้ำลายหอยทาก ทั้งที่เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางและใช้โดยตรง โดยอ้างว่าเพื่อบำรุงผิวพรรณนั้น ยืนยันว่า ทางการแพทย์ ไม่พบว่ามีสรรพคุณในการบำรุงผิวพรรณแต่อย่างใด รวมถึงสารกลูตาไธโอนที่เป็นยารักษาโรคมะเร็ง แต่นิยมนำมาทำให้ผิวขาว ก็ยังไม่พบว่ามีการวิจัยทางการแพทย์ในมนุษย์ยืนยันสรรพคุณดังกล่าวเช่นกัน จึงไม่สามารถตอบได้ว่าได้ผลจริงหรือไม่ ดีหรือไม่ดี
       
       “ในส่วนของทองคำ พบว่า มีงานวิจัยยืนยันว่ามีประสิทธิภาพในการสมานผิว ลดการอักเสบของผิวหนัง รวมถึงรักษาโรคปวดข้อ ซึ่งมีการใช้มาตั้งแต่ในโบราณ จึงไม่แปลกใจว่าทองทำให้ผิวพรรณดีขึ้น แต่สิ่งที่น่าห่วงคือ อนุภาพของเงินกับทองที่มีขนาดเล็กมาก อาจเข้าไปสะสมตามผิวหนังและอวัยวะต่างๆของร่างกายทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้” รศ.นพ.ประวิตร กล่าว
       
       รศ.นพ.ประวิตร กล่าวอีกว่า ความสวยงามถือเป็นความนิยมตามกระแส ซึ่งในอดีตก็มีความนิยมโบท็อกซ์ คอลลาเจน ทำให้ผลิตภัณฑ์ต่างๆต้องมีคำเหล่านี้ดึงดูดผู้บริโภค ขณะนี้มีเรื่องของเซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์ โดยมีครีมที่อ้างว่าเป็นสเต็มเซลล์สำหรับทา เพื่อให้ผิวพรรณสดใสเปล่งปลั่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่จริง เพราะสเต็มเซลล์จะใช้วิธีฉีดเท่านั้น อีกทั้งการใช้สเต็มเซลล์ทางการแพทย์รับรองแต่เพียงการใช้เพื่อการรักษาโรคทางโลหิตวิทยาเท่านั้น ดังนั้นเครื่องสำอางที่อ้างว่าเป็นสเต็มเซลล์นั้นไม่เป็นความจริง อย่างมากก็แค่มีสารในน้ำเลี้ยงสเต็มเซลล์เท่านั้นซึ่งไม่ต่างจากมอยเจอร์ไรเซอร์ธรรมดาเลย หรือบางผลิตภัณฑ์อ้างว่ามีสเต็มเซลล์แต่อาจไม่มีด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า เรื่องสเต็มเซลล์อาจเป็นคำตอบของการรักษาในอนาคต
       
       “นอกจากนี้ ได้รับการสอบถามมาอย่างมากมาจากผู้บริโภคว่า เห็นผู้ป่วยที่ไปรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวรักษาด้วยยารักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งทางเดินอาหาร อิมาทินิบ แล้วทำให้ผิวขาวขึ้น จึงมีคนมาถามกันเป็นจำนวนมาก จึงเกรงว่า จะเป็นกระแสที่จะนำยาดังกล่าวมาทานอย่างไรก็ตามเชื่อว่ายาอิมาทินิบคงไม่มีนิยมมากเหมือนกับที่นำยารักษาโรคมะเร็งอย่างกลูตาไธโอนที่นำมาใช้ เพราะยาดังกล่าวมีราคาแพงเกือบแสนบาทต่อเดือน จึงขอเตือนผู้บริโภคทั้งหลายให้ระมัดระวัง เพราะยาดังกล่าวถือว่าเป็นยาที่ดีในการรักษาโรคมะเร็ง แต่ไม่เหมาะสมกับการนำมาใช้เพื่อหวังผลข้างเคียงในเรื่องผิวขาว เพราะเมื่อหยุดทานสีผิวก็จะกลับตามกรรมพันธุ์เดิม” รศ.นพ.ประวิตร กล่าว
       
       รศ.นพ.ประวิตร กล่าวด้วยว่า วิธีที่ทำให้ผิวขาว แต่ก็คงไม่ขาวเกินกรรมพันธุ์ของแต่ละคนคือ การหลีกเลี่ยงแสงแดด ไม่ว่าจะเป็นการกางร่ม ใส่แว่นดำ รวมถึงการใช้ครีมกันแดด ซึ่งอยากเตือนประชาชนทั้งหลายว่า ค่าประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดดหรือเอสพีเอฟ ที่มีค่าเกินกว่า 100 หรือค่าที่สูงกว่า 50 นั้น เชื่อถือไม่ได้ เนื่องจากวิธีทดสอบประสิทธิภาพของครีมกันแดดมาตรฐานสหภาพยุโรปตรวจได้ไม่เกิน 50 เท่านั้น ซึ่งค่าที่สูงๆ เท่ากับว่า การทดสอบยังไปไม่ถึง
       
       “นอกจากนี้ ค่าเอสพีเอฟที่เครื่องสำอางระบุไว้นั้น เป็นค่าที่ต้องใช้ทาใบหน้าในปริมาณ ครึ่ง-1ช้อนชา หรือหา หรือหากเป็นทาตัวจะต้องทาปริมาณ 35 กรัม ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณคนปกติไม่ใช้ เนื่องจากจะเยิ้มมาก เท่ากับว่า ปริมาณที่ทาใบหน้า หากทาในปริมาณที่น้อยกว่าที่กล่าวไปข้างต้น ค่าเอสพีเอฟก็จะลดลงตามไปด้วย จากเอสพีเอฟ 50 แต่ทาปริมาณน้อย อาจเหลือแค่ 10-15 เท่านั้น” รศ.นพ.ประวิตร กล่าว
       
       รศ.นพ.นภดล นพคุณ นายกสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ผู้บริโภคไม่ควรเชื่อโฆษณาที่อ้างว่าช่วยให้ผิวขาว เพราะไม่มีผลิตภัณฑ์ใด ที่จะทำให้ผิวขาวได้อย่างถาวร เพียงแต่ช่วยให้ขาวได้ชั่วคราว เมื่อหมดฤทธิ์ยาร่างกายก็จะผลิตเม็ดตามปกติ ทั้งนี้ ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีการร้องเรียนไปยังแพทยสภา และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ถึงอันตรายของการทำให้ผิวขาวมีจำนวนมาก โดยในปีนี้จะเร่งประชาสัมพันธ์เชิงรุก ให้ประชาชนรู้ถึงอันตรายและเปลี่ยนค่านิยมมาพอใจกับสีผิวเดิมของตัวเอง ซึ่งการดูแลผิวอย่างง่ายๆ คือ การใช้มอยเจอร์ไรท์เซอร์และหลีกเลี่ยงแสงแดดเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว
       
       รศ.นพ.นภดล กล่าวต่อว่า สำหรับเรื่องครีมกันแดดนั้น ในวันที่ 4 มีนาคม จะมีการประชุมหารือแนวทางการปฏิบัติในการโฆษณาครีมกันแดด เพื่อให้โฆษณามีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้นเนื่องจากประชาชนส่วนมากใช้ครีมกันแดดไม่ถูกวิธี จึงห่วงว่า จะเป็นการสร้างความเข้าใจผิด ซึ่งในต่างประเทศมีการห้ามไม่ให้โฆษณาผลิตภัณฑ์สำหรับกันแดดไปแล้ว เนื่องจากพบว่า มีคนกลุ่มหนึ่งมีความเข้าใจผิดทาครีมกันแดดแล้วสามารถป้องกันแสงแดดได้แต่กลับพบว่ามีการเป็นมะเร็งผิวหนังเพิ่มขึ้น นอกจากนี้จะมีการปรับฉลากของครีมกันแดดให้เป็นไปตามกฎระเบียบใหม่โดยให้แสดงคำเตือนชัดเจนมีข้อความเช่นการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีสารป้องกันแสงแดด เป็นเพียงวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดความเสี่ยงจากอันตรายจากแสงแดด ทั้งนี้กฎหมายผ่อนผันให้ผู้ผลิตหรือผู้ขายต้องดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการเครื่องสำอาง เรื่องการแสดงฉลากคำเตือนที่ฉลากเครื่องสำอางมาภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2553 ซึ่งขณะนี้ผ่อนผันมา 1 ปีแล้ว
       
       รศ.นพ.นภดล กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ มีประชาชนจำนวนมากร้องเรียนมายังสมาคม ว่า ได้ไปรักษาด้วยสเต็มเซลล์หวังให้ผิวขาว ใส แต่ไม่ได้ผลตามที่ได้โฆษณาแต่ต้องใช้เงินจำนวนมากกับการรักษา แม้จะไม่มีผลข้างเคียงก็ตาม โดยได้สอบถามว่ามีผลในการช่วยได้จริงหรือไม่ ซึ่งได้ให้คำตอบว่า เป็นการโฆษณาเกินจริง ซึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ใช้อาจไม่มีสเต็มเซลล์เลยก็ไเป็นได้

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 กุมภาพันธ์ 2552

 

พิมพ์ อีเมล

ครบปี พ.ร.บ.เหล้า : ไม้เรียว หรือ กิ่งไม้แห้ง!!

สังคม ไทยได้ก้าวเข้าสู่ปีที่ 2 ของความพยายามผลักดันให้เป็น "สังคมปลอดแอลกอฮอล์" ภายใต้การควบคุมของ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ซึ่งมีผลบังคับใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551 ตลอดเส้นทางของการบังคับใช้กฎหมายล้วนมีแต่อุปสรรค ถูกต่อต้านจากผู้เสียผลประโยชน์ ความไม่เข้าใจจากสาธารณชน เส้นทางนี้จึงไม่ได้โรยกลีบกุหลาบอย่างที่หวัง


เจตนารมณ์ของการออก กฎหมายฉบับนี้เพื่อ "ป้องกันเยาวชน วัยรุ่น ไม่ให้เป็นนักดื่มหน้าใหม่" เมื่อต้องการควบคุมการบริโภค ก็จำเป็นต้องออกมาตรการควบคุมการจำหน่าย การส่งเสริมการขาย การโฆษณา สถานที่ดื่ม กิน ตลอดจนจำกัดอายุผู้ซื้อ ฯลฯ ที่ยังละเมิดกฎหมายกันหลากหลาย

หากพูดถึงมาตรการควบคุมทางกฎหมาย ผู้ที่จะชี้แจงเรื่องนี้ได้ดีที่สุดคงหนีไม่พ้น นพ.สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผลการดำเนินการภายใต้ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ถือว่าน่าพอใจมาก หากเปรียบเทียบกับการควบคุมบุหรี่ที่ต้องใช้เวลากวดขันนาน 16-17 ปี จึงจะสำเร็จ ซึ่งในช่วงแรกของการบังคับใช้กฎหมายจะเน้นการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ มากกว่าการใช้มาตรการเอาผิดทางกฎหมาย

"ปัจจุบันยังมี การลักลอบกระทำผิดอยู่ โดยเฉพาะเรื่องการโฆษณา ซึ่งข้อเท็จจริงแล้วกฎหมายฉบับนี้ห้ามโฆษณาที่เป็นการส่งเสริมการขายทุกรูป แบบ แต่ที่เห็นโฆษณาตามสื่อต่างๆ ทั้ง ทีวี หนังสือพิมพ์ นิตยสาร บิลบอร์ด ทำผิดกฎหมายทั้งสิ้น เมื่อมีการเตือน ผู้ประกอบการก็มักจะออกมาแก้เกี้ยวว่ายังโฆษณาได้ เพราะยังไม่มีการออกกฎกระทรวงมารองรับ ซึ่งประเด็นนี้ต้องชี้แจงว่าในทางกฎหมายให้ยึดตาม พ.ร.บ. ซึ่งเป็นกฎหมายแม่เท่านั้น ส่วนกฎกระทรวง หรือประกาศต่างๆ เป็นกฎหมายลูกออกมารองรับ ว่าจะยกเว้นการควบคุมการโฆษณาอะไรบ้าง และอย่างไรเท่านั้น" นพ.สมานกล่าว

นพ.สมานกล่าวว่า จากนี้ไปจะเอาผิดผู้ละเมิดกฎหมายทั้งภาคผู้ประกอบการผู้ผลิต ผู้นำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้จัดจำหน่าย ห้างร้านต่างๆ รวมสื่อมวลชนทุกแขนง ที่เป็นสื่อกลางในการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สำนักงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฯ ได้เชิญสื่อสิ่งพิมพ์ ผู้ผลิต นำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาชี้แจงความผิดเป็นครั้งสุดท้าย หากพบการกระทำผิดอีกจะดำเนินการจับ ปรับทันที

"ขณะนี้อยู่ระหว่าง การเตรียมความพร้อมเพื่อดีเดย์จับปรับผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั่วประเทศ โดยจะเริ่มกวดขันให้ได้ก่อนเดือนเมษายนนี้ ซึ่งเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ ที่จะมีการเดินทางออกต่างจังหวัดจำนวนมาก พร้อมออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องวันหรือเวลาที่ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ออกมาบังคับใช้" นพ.สมานกล่าว

นพ.สมานกล่าวว่า หลังจากนี้ไปการออกกฎกระทรวง ประกาศต่างๆ ที่เป็นกฎหมายลูกจะมีความคืบหน้ามากขึ้น ทั้งการควบคุมการโฆษณาทางโทรทัศน์ ช่วงเวลาในการโฆษณา การโฆษณาทางสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อกลางแจ้งต่างๆ เพราะคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน ซึ่งมีหน้าที่เสนอความเห็นการดำเนินการต่างๆ ไปยังคณะกรรมการนโนบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รอการเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายฯเท่านั้น

สำหรับ ความคืบหน้าของการอกกฎหมายลูก จะสำเร็จเป็นเรื่องแรก คือ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง วันหรือเวลาที่ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเสนอเรื่องให้นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พิจารณาว่าจะห้ามจำหน่ายเหล้า เบียร์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์อย่างไร โดยสำนักงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฯได้เสนอเป็น 3 แนวทาง คือ 1.ห้ามตลอดทุกวัน 2.ห้ามเฉพาะหัว-ท้ายเทศกาล คือห้ามในวันที่ 11-12 เมษายน และ 16-17 เมษายน และ 3.ห้ามช่วงกลาง คือ ห้ามวันที่ 13-15 เมษายน

สิ่ง ที่น่าเป็นห่วงคือ นายวิทยา ในฐานะประธานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะชงเรื่องเข้าคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฯอย่างไร จะออกกฎหมายลูกหรือไม่ และจะออกอย่างไร

ข้อมูลจาก นสพ.มติชน 23-02-52

พิมพ์ อีเมล

แพทยสภาหน้าหงาย “มาร์ค” ไม่เซ็นกฎกระทรวง ยกเว้นยา-เวชภัณฑ์ไม่ปลอดภัย

“สารี” เผย หารือ “อภิสิทธิ์” ยอมรับปากให้ชะลอเซ็นลงนามกฎกระทรวงยกเว้นยาและเวชภัณฑ์ ไม่เป็นสินค้าไม่ปลอดภัย ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายสินค้าไ

อ่านต่อ

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน