จี้สอบประกาศคุม13สมุนไพร

เวลา 14.30 น. วันที่ 16 ก.พ. ที่รัฐสภา เครือข่ายประชาชนด้านการเกษตร อาทิ เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก เครือข่าวสุขภาพวิถีไทย เครือข่ายหมอชาวบ้าน มูลนิธิราชวิถี มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ เข้ายื่นหนังสือต่อ น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษาตรวจสอบเรื่องทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ขอให้ตรวจสอบประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์จากพืช 13 ชนิด เป็นวัตถุอันตราย ชนิดที่ 1 บัญชี ข โดยระบุว่า การขึ้นทะเบียนดังกล่าวกระทบต่อเกษตรกร เนื่องจากพืชทั้ง 13 ชนิด เกษตรกรใช้ประโยชน์เพื่อการกำจัดศัตรูพืชมานาน การดำเนินการของกรมวิชาการเกษตร จะสร้างผลกระทบต่อเกษตรกรและคนในท้องถิ่น รวมถึงผู้ประกอบการรายย่อย

โดยกลุ่มเครือข่ายฯ ตั้งข้อสังเกตว่าประกาศดังกล่าวมีกระบวนการรวบรัด ทั้งการขอรับรองมติจากคณะกรรมการวัตถุอันตรายก่อนประกาศ ก็เป็นไปโดยมิชอบ และไม่รับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะองค์กรทางสาธารณประโยชน์ที่ทำงานด้านเกษตรยั่งยืน สิ่งแวดล้อม และคุ้มครองผู้บริโภค การดำเนินจึงอาจปราศจากธรรมาภิบาล จึงตั้งคำถามว่าประกาศดังกล่าวมีเจตนาเอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการเคมี เกษตร และบริษัทข้ามชาติหรือไม่

วันเดียวกัน นายสมคิด หอมเนตร นักวิชาการอิสระ เปิดเผยว่า ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางในกรณีกระทรวงอุตสาหกรรมประกาศให้พืชสมุนไพร 13 ชนิด เป็นวัตถุอันตราย ศาลประทับรับคำฟ้องเมื่อวันที่ 16 ก.พ. พร้อมนัดไต่สวนคดีวันที่ 23 ก.พ. โดยมีผู้ถูกฟ้อง 5 คนประกอบด้วย นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม นายรัชดา สิงคาลวณิช อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรฯ และนายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร และอธิบดีกรมปศุสัตว์

นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า คงต้องยอมรับการฟ้องดังกล่าว กระทรวงพร้อมชี้แจง เรื่องนี้เป็นข้อเสนอของกรมวิชาการเกษตรที่เสนอมา และหากจะให้ยกเลิก กระทรวงก็พร้อม หากกรมวิชาการเกษตรเสนอมา แต่ขณะนี้ยังไม่มีข้อเสนอส่งมา

- ข่าวสด  17 ก.พ. 2552

พิมพ์ อีเมล

ผู้บริโภคอัดสธ. เร่งรีบประกาศยกเว้นยา

คคบ. อัด "วิทยา" มัดมือชก ยกเว้นยาไม่เป็นสินค้าไม่ปลอดภัย เตือนอย่าฟังแต่กลุ่มเสียประโยชน์ ชี้ ยืมมือหมอป้องบริษัทยา มั่นใจ "อภิสิทธิ์" ไม่เอาด้วย พร้อมเตรียมเคลื่อนไหวคัดค้านหน้าสำนักคณะกรรมการกฤษฎีกาวันนี้

อ่านต่อ

พิมพ์ อีเมล

ประชุม คกก.สอบ “ปลาป๋องเน่า”

       คณะกรรมการฯ ตรวจสอบ “ปลากระป๋องเน่า” ประชุมนัดแรก “รองปลัดฯ กานดา” นั่งประธานฯ ชี้อยู่ในขั้นตอนการวางกรอบการทำงาน มอบอำนาจหน้าที่ เผยเตรียมเชิญ พมจ.พัทลุง เข้าให้ข้อมูลคนแรก เพราะใกล้ชิดเหตุการณ์สุด ปัดไร้แรงกดดันหากต้องเชิญ “วัลลภ ปลัดฯ พม.” มาให้ข้อมูล ระบุหากสาวถึงใครก็เรียกให้ข้อมูลได้หมด
       
       วันนี้ (16 ก.พ.) เมื่อเวลา 13.30 น.ที่ห้องประชุมประชาบดี 4 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีปลากระป๋องในถุงยังชีพไม่ได้คุณภาพ ซึ่งมีนางกานดา วัชราภัย รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เป็นประธาน ได้ประชุมคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงฯ นัดแรก ซึ่งภายหลังประชุมกว่า 1 ชั่วโมง จนเวลาประมาณ 15.00 น. นางกานดา ให้สัมภาษณ์ว่า ที่ประชุมได้มีการกำหนดกรอบอำนาจหน้าที่การทำงาน และหารือว่าจะต้องมีเอกสารหลักฐานและบุคคลที่เกี่ยวข้องประกอบการพิจารณาอย่างไร หากจิ๊กซอว์ต่างๆ ที่พิจารณายังไม่ชัดเจน ก็จะเชิญบุคคลอื่นๆ มาให้ปากคำด้วย ทั้งนี้ เบื้องต้นอาจจะเชิญนางสุธีรา นุ้ยจันทร์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพัทลุง (พมจ.) มาให้ข้อมูลเป็นคนแรกในการประชุมนัดต่อไป เนื่องจากนางสุธีราเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์มากที่สุด เพราะเป็นผู้ที่รับของ ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการประสานว่าจะจัดประชุมนัดต่อไปเมื่อไหร่
       
       ผู้สื่อข่าวถามว่าจะมีการเชิญนายวัลลภ พลอยทับทิม ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ มาให้ข้อมูลด้วยหรือไม่นั้น นางกานดา กล่าวว่า การที่จะเชิญบุคคลใดมาให้ข้อมูล ต้องขึ้นอยู่กับคณะกรรมการฯ ว่าได้พิจารณาและมีการพาดพิงถึงใคร หากเห็นว่าจำเป็นก็อาจจะต้องเชิญ ซึ่งการทำงานจะต้องเป็นไปตามกรอบขั้นตอนที่ชัดเจน จึงไม่คิดว่าจะมีแรงกดดันใดๆ รวมไปถึงการเชิญนายวิเชน สมมาต ก็ต้องดูว่ากรอบการพิจารณาของคณะกรรมการฯ เข้าไปถึงส่วนไหน หากพิจารณากันแล้วยังไม่มีความชัดเจนก็จะเชิญคนที่เกี่ยวข้องมาคุยอีกครั้งหนึ่ง ขณะนี้คณะกรรมการฯ ยังไม่ได้พิจารณาไปถึงขั้นนั้น ขอทำงานเป็นขั้นตอน
       
       ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่คณะกรรมการฯ ชุดนี้ถูกตั้งข้อสังเกตถึงการเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาคงไม่สามารถสอบข้อเท็จจริงระดับผู้บังคับบัญชาได้นั้น นางกานดา กล่าวว่า เราเป็นข้าราชการ ได้รับคำสั่งมาก็ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่ง ดังนั้น ผู้ที่ตั้งคณะกรรมการฯ ชุดนี้ขึ้นก็คงคิดว่าจะสามารถให้ความกระจ่างในเรื่องต่างๆ ได้ ขณะเดียวกันคณะกรรมการฯ ชุดนี้ก็มีตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) สภาทนายความ และจากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอยืนยันว่าไม่มีแรงกดดันใดๆ อย่างไรก็ตาม คิดว่ากระบวนการสอบข้อเท็จจริง อาจจะประชุมกันไม่เกิน 10 ครั้ง แต่ระยะเวลานั้นคิดว่าไม่น่าจะช้า และจะต้องสรุปรายงานทั้งหมดเสนอปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ต่อไป
       
       นายจิตติ มงคลชัยอรัญญา คณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มธ. หนึ่งในคณะกรรมการฯ กล่าวว่า คณะกรรมการฯ กว่า 10 คน ประชุมตามคำสั่งแต่งตั้งของกระทรวงฯ พม. โดยมีการพิจารณาเบื้องต้นถึงระบบการเงิน การใช้เงินของกระทรวงฯ ว่ามีการใช้จ่ายในส่วนไหนบ้าง แต่ยังไม่ใช่ข้อมูลทั้งหมดยังนำมาไม่ครบ ซึ่งวันนี้ยังไม่ได้มีการหารือกันมากนัก เนื่องจากข้อมูลเรื่องปลากระป๋องที่ได้ยังเป็นข้อมูลทั่วไป ต้องรอรวบรวมข้อมูลทั้งหมดก่อน จากนั้นจะนัดประชุมครั้งต่อไป ซึ่งคณะกรรมการฯ ชุดนี้เป็นเพียงชุดหนึ่งที่ตั้งขึ้นมาเพื่อพิจารณาปัญหาการแจกถุงยังชีพแล้วพบปลากระป๋องเน่า แต่ชุดสำคัญเป็นคณะกรรมาธิการฯ 3 ชุดของสภาฯ
      
       อย่างไรก็ตาม อยากให้คณะกรรมการฯ ชุดนี้ตรวจสอบอย่างจริงจัง คงไม่ใช้ตั้งขึ้นมาเพื่อพิจารณาข้อมูลแบบผิวเผินหรือตั้งขึ้นมาอย่างนั้น แต่อยากให้ตรวจสอบข้อมูลเชิงลึก ซึ่งอาจได้จากการชี้แจงของคนที่เกี่ยวข้องหรือเอกสาร หลักฐานทั้งหมด ส่วนจะชี้มูลว่าใครเป็นผู้กระทำความผิดเรื่องนี้ได้แค่ไหน ต้องพิจารณากันต่อไป

 

ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16-2-52

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน