มุสาเจ็ดประการ เรื่องการใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา

โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
บท ความนี้แปลจาก  PhRMA's Seven Deadly Lies about Thai Compulsory Licenses ซึ่งเขียนโดย Brook K. Baker, Health GAP (วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2007)

 

ตั้งแต่ ประเทศไทยเดินหน้าปฏิบัติตามข้อตกลงการค้าโลกและใช้บทบัญญัติตามกฎหมายสิทธิ บัตรของประเทศที่จะใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยาโรคเอดส์และหลอดเลือด 3 รายการ  ผู้แทนกลุ่มบรรษัทยาข้ามชาติได้มีการให้ข้อมูลที่ทำให้สังคมเกิดความสับสน และอาจหลงเชื่ออย่างผิดๆ ได้ ดังมุสาเจ็ดประการและข้อโต้แย้งต่อไปนี้
 

การโกหก 2 ประการแรก    :  ผู้แทนกลุ่มบริษัทยาข้ามชาติ ซึ่งเป็นคนไทย  กล่าวว่า “เราไม่เห็นว่าการใช้สิทธิดังกล่าวเป็นไปตามกฎหมาย หรือเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของคนไข้”
ความจริง              การ ใช้สิทธิผลิตของไทยถูกฎหมายในทุกแง่มุม (1)  เป็นการสอดคล้องกับข้อตกลงการค้าโลกตามบทบัญญัติ 31(b) สิทธิเหนือสิทธิบัตรที่ดำเนินการอยู่บนเหตุผลด้านสาธารณสุข เป็นการดำเนินการโดยรัฐ และไม่เป็นไปเพื่อผลประโยชน์การค้า  ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นใดที่จะต้องเจรจาล่วงหน้ากับเจ้าของสิทธิบัตร  (2) สอดคล้องกับกฎหมายสิทธิบัตรของประเทศไทยที่ให้รัฐบาลมีอำนาจโดยชอบที่จะ ดำเนินการในสิทธิโดยไม่เป็นไปเพื่อการค้าและไม่ต้องเจรจาล่วงหน้าก่อน  (3) ได้มีการกำหนดการจ่ายค่าตอบแทนให้ร้อยละ 0.5 ของราคาขายไว้แล้ว

 

ความจริงประการที่ 2  การใช้สิทธิดังกล่าวเป็นความต้องการทั้งของผู้ป่วยและรัฐบาลไทย  บริษัทเจ้าของยาต้านไวรัสปฏิเสธที่จะลดราคายาให้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาตรฐานของ รายได้ คือต่ำกว่า 77,000 ~ 80,000 บาท ต่อคนไข้ต่อคนต่อปีทั้งที่มีการณรงค์เรียกร้องของคนไข้เอดส์อย่างจริงจัง หลายครั้ง ไม่เพียงคนไข้และรัฐบาลไทยจะได้มียาไว้ใช้หรือให้บริการในราคาที่ต่ำกว่า ครึ่งของราคายาของบริษัทที่เคยเสนอไว้ล่าสุด แต่ราคายาดังกล่าวที่ถูกลงจะทำให้เกิดการขยายความต้องการของผู้ใช้ยาที่มาก พอจนถึงระดับเหมาะสมกับขนาดการผลิตของบริษัทยาของประเทศอินเดียและบริษัท ผลิตยาของไทย

 

การโกหกประการที่สาม     โดยผู้แทนบรรษัทข้ามชาติ คนเดิมกล่าวว่า บรรษัทยาข้ามชาติได้ทำการวิจัยยาถึง 10 ปี แต่รัฐบาลไทยได้บังคับการใช้สิทธิ ถือเป็นการแย่งสิทธิ แย่งทรัพย์สินของบริษัทไป

 
ความจริง              สิทธิ บัตรมิใช่ทรัพย์สินหรือสมบัติในความหมายทั่วไป แต่รัฐให้สิทธิพิเศษต่อผู้ผลิตก็เพื่อความสมดุล ระหว่างเจ้าของสิทธิบัตรกับสาธารณะ อย่างไรก็ตามการให้สิทธิดังกล่าวของรัฐบาลเป็นไปตามเจตนารมณ์และเงื่อนไข ต่างๆ ซึ่งรวมถึงเงื่อนไขให้มีการใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรได้  รัฐบาลในประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวมทั้งประเทศสหรัฐอเมริกาได้ใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรนับพันๆครั้ง ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ซึ่งรวมถึงการใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา ยิ่งไปกว่านั้นประเทศไทยได้บัญญัติเรื่องการใช้สิทธิไว้ในกฎหมายสิทธิบัตร อย่างชัดเจน และบริษัทยาทุกบริษัทก็ได้รู้ถึงมาตรการดังกล่าวนับตั้งแต่ได้ขออนุญาติเอา ประโยชน์จากสิทธิบัตรในประเทศไทย
“ จะเป็นไปได้อย่างไรที่การอนุญาติให้เอาประโยชน์จากสิทธิบัติโดยรัฐได้กลาย เป็นสิทธิสมบูรณ์ที่ขัดขวางการใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรที่มีการบัญญัติไว้ใน กฎหมาย ? ”
 
การโกหกประการที่สี่          ผู้แทนบรรษัทยาข้ามชาติ คนเดียวกัน  กล่าวว่า “ทุกเรื่องสามารถเจรจากันได้”
 
ความจริง สำหรับบริษัทยาที่ดำเนินธุรกิจแบบผูกขาดแล้วทุกอย่างไม่เคยตกลงได้ด้วยการ เจรจา บริษัทยาแห่งหนึ่งได้ปฏิเสธอย่างชัดเจนกว่า 6 เดือนที่แล้วที่จะยืนราคา 77,000-80,000 บาท ต่อคนไข้ต่อปี จะมีการลดราคาลงได้ก็คือ ประเทศบราซิลที่ประกาศว่าจะมีการใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร แย่ไปกว่านั้นหากบริษัทยอมลดราคาลงมา บริษัทก็จะขอให้มีการสัญญาว่ารัฐของประเทศนั้นๆ จะต้องล้มเลิกความคิดในการแสวงหาแหล่งยาราคาถูกให้กับประเทศ  โดยความหมายดังกล่าว ความต้องการที่แท้จริงของบริษัทยาข้ามชาติก็คือการหยุดยั้งการแข่งขันของผู้ ผลิตยาชื่อสามัญ ลักษณะดังกล่าวจะเห็นได้ชัดว่าบริษัทยาจะลดราคาลงในประเทศขนาดใหญ่ที่มี ระดับรายได้ปานกลาง (Middle income) หรือประเทศที่ทำตลาดได้ เช่น ไทย บราซิล แต่จะไม่ยินยอมลดราคาให้กับประเทศที่มีขนาดเล็กและยากจน เช่น ประเทศกัวเตมาลา
 
การโกหกประการที่ห้าและหก   นายฮาวี  เบลผู้แทนสหพันธ์ผู้ผลิตยาข้ามชาติกล่าวว่า  “การใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรจะเป็นช่องทางให้เกิดการทำธุรกิจแบบไม่ถูกต้อง และจะก่อให้เกิดความเสี่ยงกับผู้ป่วย” บริษัทยาที่ได้ถูกบังคับใช้สิทธิต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า การใช้สิทธิดังกล่าวจะก่อให้เกิดปัญหาด้านคุณภาพยา
 
ความจริง  
กลาย เป็นว่าการผูกขาดและการทำให้ยามีราคาแพงสุดโต่งมิใช่การค้าแบบไม่ถูกต้องแต่ การสร้างแข่งขันและการทำให้ราคายาถูกลง กลายเป็นการส่งเสริมการค้าแบบไม่ถูกต้องกระนั้นหรือ ? 
 
ช่างเป็นเรื่องที่ประหลาดเหลือเชื่อเหลือเกิน   อุตสาหกรรม ยาที่ร่ำรวยมหาศาลจากการวิจัยและพัฒนาซึ่งครอบครองกว่าร้อยละ 90 ของตลาดยาในโลก กำลังส่งเสียงต่อว่ากับการกระทำของผู้ผลิตยาชื่อสามัญที่ครอบครองตลาดยาใน โลกเพียงร้อยละ 10
 
กล่าว สำหรับคุณภาพยา นายเบลได้ใช้คำวิจารณ์ซ้ำซากเดิมๆ ที่ว่า ยาสามัญด้อยคุณภาพ เขาละเลยที่จะกล่าวถึงความจริงที่ว่ายาอีฟาวาเรนซ์ชื่อสามัญหลายชนิดได้รับ การยอมรับมาตรฐานจากองค์การอนามัยโลกและยาชื่อสามัญสูตรเดียวกับคาเล็ทตราก็ กำลังรอการอนุมัติการยอมรับดังกล่าวเช่นเดียวกัน  องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้อนุมัติการยอมรับผลิตภัณฑ์ยาต้านไวรัส จำนวนมากมายหลายชนิดของบริษัทยาอินเดียส่วนหนึ่งของยาเหล่านี้ผลิตในบริษัท ที่ได้รับการยอมรับมาตรฐานตามแนวทางการผลิตที่ดี (GMP) กว่า 70 แห่งที่ตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
 
การโกหกประการที่เจ็ด      ด้วยเรื่องราวการโกหกทั้งหมด  การใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยาจะทำให้เกิดการถดถอยของแรงจูงใจที่จะคิดตัวยาใหม่ๆ
 
ความจริง              ทั่ว ทวีปเอเชียยกเว้นญี่ปุ่นประเทศเดียว และยังรวมไปถึงแอฟาริกาครอบครองตลาดยาเพียงร้อยละ 5.1 ของตลาดยาโลก จากข้อมูลของ INFORMATION MANAGE GROUP แม้ว่าตลาดยาของประเทศกลุ่มรายได้ปานกลางและต่ำจะเติบโตเร็วกว่าตลาดของ ประเทศพัฒนาแล้ว  แต่บริษัทยาข้ามชาติยังคงความกระตือรือร้นทางการตลาดที่จะขยายผลกำไรจากการ ค้าในตลาดยาขนาดใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกา  แคนาดา ยุโรป และ ญี่ปุ่น  ผู้ซึ่งรวมแล้วซื้อยาถึงเกือบร้อยละ 89 ของมูลค่าทั้งหมดที่เป็นตัวเงิน บรรษัทยาข้ามชาติยังอ้างอีกว่าการใช้สิทธิจะไปกระทบกับแรงจูงใจในการวิจัย และพัฒนาแต่กลับไม่ยอมรับว่าการใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรไม่มีวันเลยที่จะ กระทบต่อสถานะการผูกขาดกำไรในตลาดยาของประเทศร่ำรวย
 
เป็น เรื่องตลกร้ายที่ตลาดที่มีขนาดเล็กจิ๋วกะจิดริดของเอเชียใต้และเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้จะสามารถส่งผลกระทบต่อแรงจูงใจของการวิจัยผลิตยา
 
นัก สื่อสารมวลชนที่ติดตามเรื่องการใช้สิทธิในประเทศไทยควรจะเริ่มตั้งคำ ถามอย่างจริงจังกับผู้การใข้อมูลของบรรษัทยาข้ามชาติให้มากขึ้น  ทดแทนการที่จะทำหน้าที่เพียงถ่ายทอดข้อความที่เลื่อนลอยของบรรษัทยาข้ามชาติ ที่กล่าวโจมตีเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้สิทธิอย่างไม่ถูกต้อง  และเพื่อความสมดุลเป็นธรรมแล้ว อย่างน้อยที่สุดนักสื่อสารมวลชนควรจะเผยแพร่สาระข่าวสารที่วิพากษ์โต้แย้ง ข้อมูลที่ไม่ตรงความจริงของบรรษัทยาข้ามชาติเหล่านั้น  เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดต่อการใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรของประเทศไทย

พิมพ์ อีเมล

ธุรกิจยากับกรณีการทำ CL

นับตั้งแต่รัฐบาลไทยประกาศทำ CL บริษัทยา ซึ่งเป็นเจ้าของสิทธิบัตรยาตัวที่รัฐบาลประกาศทำ CL ก็มีปฏิกิริยากับเรื่องนี้มาโดยตลอด เริ่มจากการกล่าวหาว่า การประกาศมาตรการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรของไทยผิดกฎหมาย ทั้งที่ความจริงไม่ผิดทั้งกฎหมายไทยและข้อตกลงระหว่างประเทศ

อ่านต่อ

พิมพ์ อีเมล

ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิบัตร "ทำไมยาแพง"

ทำไมยาแพง ?? ทำไมผู้ติดเชื้อที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา ไม่สามารถซื้อยาต้านไวรัส เพื่อรักษาตัวเองได้ ?
ยา เป็นปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ แต่ยากลับมีราคาแพงจนถูกบริษัทยาที่มีเพียงไม่กี่บริษัทในโลกผูกขาด และสิทธิบัตรก็เป็นเครื่องมือสำคัญที่บริษัทยาใช้เพื่อสร้างอำนาจในการผูก ขาด

อ่านต่อ

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน