เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่า “ยา” เป็นสินค้าเชิงคุณธรรม เป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต หาก “ยา” มีราคาแพงเพราะติดสิทธิบัตร จะทำให้ผู้ป่วยเข้าไม่ถึงยาที่จำเป็น รัฐเองก็ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ในการซื้อยาเพื่อให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนในประเทศนับตั้งแต่รัฐบาลไทย กำหนดใช้นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเมื่อปี 2544 กระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีหน้าที่ดำเนินการให้คนไทยทุกคน มีสิทธิที่จะได้รับบริการที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง แต่ ราคายาที่แพงมาก ก็ทำให้รัฐต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้น โดยในปี 2550 งบประมาณด้านสาธารณสุขสูงถึง 170,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12 ของงบประมาณทั้งหมด ในจำนวนนี้เป็นงบประมาณเพื่อการรักษาผู้ป่วยเอดส์กว่า 3,800 ล้านบาท
มาตรการ ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรกับยาต้านไวรัสอย่างเอฟฟาไวเรนซ์และคาเลทตรา จะทำให้มียาชื่อสามัญที่มีคุณภาพเช่นเดียวกับยาต้นแบบ ที่ติดสิทธิบัตรและราคาถูกกว่า อย่างเอฟฟฟาไวเรนซ์ที่เคยมีราคาต่อเดือน 1,300 บาท จะเหลือที่ 650 บาทต่อเดือน ยาโคลพิโดเกรลสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจจากราคาเม็ดละ 70 บาทก็จะเหลือเพียงเม็ดละไม่เกิน 10 บาท
สำหรับ คาเลทตรา กระทรวงสาธารณสุขจะต้องชื้อยานี้จากบริษัทแอบบอตในราคาเดือนละ 6,000 บาทต่อผู้ป่วย 1 คน ซึ่งถ้ามีผู้ป่วยจำนวน 50,000 คน (ตามการคาดการณ์ว่า จะมีผู้ติดเชื้อดื้อยาร้อยละ 10 จาก 50,000 คน) รัฐจะต้อใช้งบประมาณถึงปีละ 3,600 ล้านบาท ในการซื้อยาคาเลทตราชนิดเดียว
กล่าว โดยสรุปได้ว่า มาตรการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศใช้กับยาที่ติดสิทธิ บัตร ๓ ตัวซึ่งได้แก่ต้าน ยาไวรัสอย่างเอฟฟาไวเรนซ์ คาเลทตรา และยาสลายลิ่มเลือดหัวใจอย่างโคลพิโดเกรล จะช่วยให้ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ยาตัวดังกล่าวเข้าถึงยาได้มากขึ้น ทำให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ในขณะที่รัฐเองก็จะประหยัดงบประมาณด้านสาธารณสุขลงได้อีกมาก
ที่ สำคัญ การประกาศมาตรการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรของไทย ยังถือเป็นก้าวที่กล้าที่จะเป็นตัวอย่างให้กับประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งประสบปัญหาด้านสาธารณสุขเพราะยามีราคาแพงได้เห็นว่า ชีวิตของประชาชนในประเทศย่อมสำคัญกว่าตัวเลขทางเศรษฐกิจ และเป็นการส่งสัญญาณให้บริษัทยาได้ตระหนักว่า “ยา” เป็นสินค้าเชิงคุณธรรม การหาผลกำไรจากความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย เป็นเรื่องที่น่าละอายและไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง
ประโยชน์ของการทำ CL
มาตรการใช้สิทธิตามสิทธิบัตร ไม่ได้มีไว้เพื่อประโยชน์ของใครคนใดคนหนึ่ง และ ไม่ได้เป็นมาตรการที่ทำให้เกิดการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา แต่เป็นมาตรการที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ