ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิบัตร "ทำไมยาแพง"

ทำไมยาแพง ?? ทำไมผู้ติดเชื้อที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา ไม่สามารถซื้อยาต้านไวรัส เพื่อรักษาตัวเองได้ ?
ยา เป็นปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ แต่ยากลับมีราคาแพงจนถูกบริษัทยาที่มีเพียงไม่กี่บริษัทในโลกผูกขาด และสิทธิบัตรก็เป็นเครื่องมือสำคัญที่บริษัทยาใช้เพื่อสร้างอำนาจในการผูก ขาด


ทริปส์ คืออะไร
ข้อ ตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า หรือเรียกกันว่า “ข้อตกลงทริปส์“ มีเจตนาที่สร้างกติกาขั้นต่ำในการคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ต่างๆรวมทั้งยา เพื่อให้เจ้าของเทคโนโลยีมีโอกาสแสวงหาประโยชน์จากสิ่งประดิษฐ์ของตน เพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายที่ต้องสูญเสียไปในการวิจัยและพัฒนา

ปัญหา หนึ่งที่ทำให้ข้อตกลงในเวทีการค้าโลกไม่สามารถตอบสนอง หรือเป็นธรรมต่อประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากประเทศที่มีอำนาจหรือส่งเสียงได้ดังในการเจรจาคือ ประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเจ้าของอุตสาหกรรมที่ทำรายได้สูงๆ ดังนั้นก็จะเป็นการเจรจาเพื่อปกป้องผลประโยชน์ให้กับประเทศตัวเอง

สิทธิบัตรคืออะไร
สิทธิ บัตรคือหนึ่งในรูปแบบของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา มีการคุ้มครอง 2 แบบคือ คุ้มครองกรรมวิธีการผลิต (Process patent) และการคุ้มครองผลิตภัณฑ์ (Product patent)
ในกรณีของสิทธิบัตรยาเดิมให้การคุ้มครองเฉพาะกรรมวิธีการผลิต ซึ่งทำให้โรงงานผลิตยาในไทยสามารถผลิตยาสามัญออกมาขายแข่งกับยาต้นแบบได้ เพียงแค่ใช้วิธีการผลิตที่ต่างไปทำให้ราคายาถูกกว่ายาต้นแบบ แต่เนื่องจากการกดดันของอเมริกาทำให้ไทยต้องขยายการคุ้มครองสิทธิบัตรเป็น การคุ้มครองตัวผลิตภัณฑ์ รวมทั้งให้ขยายเวลาถือครองเป็น 20 ปี ทำให้ไม่สามารถผลิตยาสามัญออกมาแข่งกับยาต้นแบบได้ เป็นผลให้เกิดการผูกขาดการผลิตและทำให้ราคายาแพงขึ้น

มาตรการในการป้องกันการผูกขาดยา
ตาม เจตนรมณ์ของกฎหมายได้กำหนดมาตรการเพื่อรักษาสมดุลย์ระหว่างเจ้าของสิทธิกับ ประชาชนผู้บริโภค เพื่อเป็นการป้องกันการเอารัดเอาเปรียบของผู้ถือครองสิทธิ ในการผูกขาดการค้า หรือตั้งราคาสินค้าสูงเกินควร จึงมีมาตรการในการป้องกันการผูกขาดดังนี้

    -การใช้มาตรการใช้สิทธิโดยรัฐ (Government use) เป็นการใช้สิทธิตามมาตรา 51ของพ.ร.บ.สิทธิบัตร คือรัฐสามารถใช้สิทธิผลิตยาที่มีสิทธิบัตรได้ ในกรณีเร่งด่วนและเพื่อการปกป้องผลประโยชน์สาธารณะ เช่น การป้องกันหรือบรรเทาการขาดแคลนอาหาร หรือยา เมื่อได้รับสิทธิรัฐจะต้องมีการตกลงจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้ถือครองสิทธิบัตร นั้นๆ ตามอัตราที่ตกลง
    -มาตรการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรโดยเอกชน (Compulsory licensing) มาตรา 46 รัฐสามารถอนุญาตให้ผู้ใดก็ตามสามารผลิตยาที่มีสิทธิบัตรหากเห็นว่ามีความจำ เป็นในการแก้ไขวิกฤตของประเทศ โดยผู้ขอใช้สิทธิต้องพิสูจน์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เห็นถึงพฤติการณ์การ ใช้สิทธิโดยมิชอบของผู้ทรงสิทธิบัตร
    -มาตรการการนำเข้าซ้อน (Parallel Import) มาตรา 36 วรรคสอง ให้รัฐอนุญาตให้เอกชนรายอื่น นอกจากผู้ทรงสิทธิบัตร สามารถนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีสิทธิบัตรมาขายในประเทศได้ โดยสินค้าที่นำเข้าซ้อนต้องเป็นสินค้าที่มีสิทธิบัตรในประเทศไทย เช่นยาตัวเดียวกันขายในอินเดียร 70 บาท มาเลเซียขาย 100 บาท ในไทยขาย 150 บาท พ่อค้าสามารถซื้อยาจากอินเดียในจำนวนมากมาขายในราคาที่ถูกกว่าที่ขายในไทย ได้
    -การบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้า (Competition law) พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้ามาตรา 25 ห้ามมิให้ผู้ประกอบการกระทำการที่เป็นการจำกัดการแข่งขันทางการค้า และมีพฤติกรรมเอารัดเอาเปรียบคู่แข่งหรือผู้บริโภค เช่นการที่ผู้ทรงสิทธิบัตรยามีสิทธิผลิตและจำหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียว ถือว่าเข้าข่ายการเป็นผู้ประกอบการที่มีอำนาจเหนือตลาด ถ้ากำหนดราคาอย่างไม่เป็นธรรม ก็อาจใช้กฎหมายนี้ตัดสินได้
      -มาตรการการควบคุมราคา (Price control mechanism) มาตรา 24และ25 ของพ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ให้อำนาจคณะกรรมการกลางประกาศให้สินค้านั้นๆเป็นสินค้าควบคุม เพื่อควบคุมราคาสินค้านั้น แต่ที่ผ่านมาแม้ยาจะถูกประกาศให้เป็นสินค้าควบคุมราคา แต่วิธีการควบคุมเป็นเพียงให้ติดป้ายแสดงราคาเท่านั้น จึงไม่มีผลในทางปฏิบัติ
    -บทบัญญัติโบลาร์ (Bolar provision) คือการที่บริษัทผลิตยาสามัญ หรือบริษัทที่ไม่ใช่เจ้าของสิทธิบัตรสามารถทำการศึกษาชีวสมมูลย์ (Bioequivalance) เพื่อเป็นการเตรียมการขึ้นทะเบียนตำรับยาในช่วงอายุสิทธิบัตรได้ ทั้งนี้เป็นการเปิดโอกาสให้สามารถนำยาออกขายได้ทันทีเมื่ออายุสิทธิบัตรสิ้น สุดลง

มาตรา การเหล่านี้ถือว่าถูกต้องตามกฎหมาย และไม่ถือว่าเป็นการละเมิดต่อข้อตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่ เกี่ยวกับการค้า หรือข้อตกลงทริปส์ แต่ที่ผ่านมาไม่เคยทำได้จริง เนื่องจากเกรงว่ามหาอำนาจจะโต้ตอบหรือกีดกันทางการค้า จึงทำให้รัฐบาลไม่ใช้กฎหมายในมือให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน โดยเฉพาะในเรื่องของสิทธิบัตรยา ที่ถือว่าเป็นความจำเป็นขั้นพื้นฐานที่ประชาชนควรได้รับและอาจส่งผลต่อ คุณภาพชีวิตและสุขภาพของประชาชน

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน