จาก นั้นก็กล่าวว่าประเทศไทยไม่มีการเจรจา เพื่อต่อรองราคากับบริษัทยาก่อนที่จะใช้มาตรการใช้สิทธิตามสิทธิบัตร ทั้งที่ความจริงไม่ว่าจะเป็นกระทรวงสาธารณสุขหรือองค์กรที่ทำงานด้านเอดส์ ต่างก็พยายามเจรจาต่อรองราคายากับบริษัทยามาโดยตลอด
ต่อมาก็กล่าวหาว่า คุณภาพยาที่เกิดจากการทำ CL จะไม่ดีเท่ายาต้นแบบของบริษัท ทั้งที่ยาชื่อสามัญที่องค์การเภสัชกรรมผลิตหรือนำเข้าจากอินเดีย ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานและรับรองจากองค์การอนามัยโลก ซึ่งแสดงว่ายาสามัญนั้นมีคุณภาพดีเทียบเท่ากับยาต้นตำหรับที่มีสิทธิบัตร
เมื่อหมดข้ออ้างในการตอบโต้ บริษัทยาจึงได้หาวิธีอื่น เพื่อแข่งขันกับยาราคาถูก และมีคุณภาพจากการทำ CL
เริ่มที่ บริษัทเมิร์ค ชาร์ป แอนด์ โดร์ม เจ้าของสิทธิบัตรยาเอฟฟาไวเรนซ์ ได้ประกาศลดราคายาเอฟฟาไวเรนซ์ลงทั่วโลกในประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศที่ มีการระบาดอย่างรุนแรงของเอชไอวีซึ่งรวมถึงประเทศไทย จากเดิมที่ราคาต่อเดือน 1,500 บาท ลงมาอยู่ที่ 700 บาท เพื่อแข่งขันทางตลาดกับยาชื่อสามัญ ที่ไทยกำลังจะนำเข้าจากอินเดีย และผลิตได้โดยองค์การเภสัชกรรมซึ่งอยู่ที่ 650 บาทต่อเดือน
สำ หรับบริษัทแอ๊บบอท ซึ่งเป็นเจ้าของสิทธิบัตรยาคาเรทตรา เลือกที่ใช้มาตรการการขอเพิกถอนการขึ้นทะเบียนยาใหม่กับ อย. เพื่อตอบโต้การทำ CLของรัฐบาล ซึ่งยาดังกล่าวมีทั้งหมด 7 ตัว ได้แก่
* ยาคาเรทตาในรูปแบบใหม่ในชื่อ “อลูเวียร์”
* ยาระงับปวดที่ชื่อ “บรูเฟ่น”
* ยาฆ่าเชื้อโรค/ยาปฏิชีวนะ “แอบบอติก”
* ยาป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดที่ชื่อ “คลีวารีน”
* ยารักษาความดัน “ทาร์กา”
* ยารักษาอาการข้อต่ออักเสบ “ฮูไมร่า”
* ยาสำหรับผู้ป่วยโรคไต “เซมปลาร์
อย่าง ไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าบริษัทแอ๊บบอตไม่ถอนการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ตัวอื่นๆ เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร นมผง ยาลดความอ้วน ฯลฯ แต่ขอเพิกถอนเฉพาะตัวยาใหม่ๆ ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วย มาตรการที่แอ๊บบอตใช้ตอบโต้การทำ CL ของรัฐบาลไทย เป็นวิธีการที่ใช้คนไข้/ผู้ป่วยเป็นตัวประกัน โดยไม่สนใจว่าจะมีคนทุกข์ทรมานหรือเสียชีวิตเพราะความเจ็บป่วยเนื่องจากเข้า ไม่ถึงยา
อย่างนี้...จะเรียกว่าแอ๊บบอตเป็นบริษัทยาที่ไร้มนุษยธรรมได้หรือเปล่า