ที่ประชุมมีมติเห็นชอบสนับสนุนงบประมาณ ในการดำเนินการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคจำนวน 3 บาทต่อหัวประชากรเช่นเดียวกับร่างกฎหมายของสภาผู้แทนราษฎร หลังอภิปรายกลับไปกลับมา จนต้องลงมติโหวตพร้อมเดินหน้าพิจารณาต่อวันที่ 10 ต.ค. นี้ ที่ห้องประชุม 3701 อาคารรัฐสภา 3 เวลา 09.30 น. เชิญผู้สื่อข่าวเข้าร่วมสังเกตการณ์
องค์กรผู้บริโภคเตือนคนกินต้องสังเกตอาการข้างเคียงเอง ปลดล็อกกัญชาช่วงสุญญากาศไร้มาตรการรองรับ เสนอ อย.เร่งออกประกาศและฉลากควบคุมอาหารผสมกัญชา
องค์กรผู้บริโภค เสนอ อย. ออกฉลากแสดงปริมาณกัญชาในอาหาร พร้อมประกาศควบคุมโฆษณาธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่ใช้ส่วนประกอบของกัญชา ขณะที่ รัฐฯ บูรณาการทุกภาคส่วนในช่วงรอยต่อจนกว่า สภาฯ จะออกกฎหมาย มาบังคับใช้
นับตั้งแต่ วันที่ 9 มิถุนายน 2565 คนไทยจะสามารถ “ปลูก กัญชา” กันได้แล้ว เพียงแค่ “จดแจ้ง” ใน 3 ช่องทาง ได้แก่ 1.แอปพลิเคชัน “ ปลูกกัญ “ 2.เว็บไซต์ “ปลูกกัญ” 3.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.),องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) กทม.เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการจดแจ้งตามช่องทางต่างๆ มาตรการนี้ เป็น นโยบาย “กัญชาเสรีทางการแพทย์” ของรัฐบาล กระทรวงสาธารณสุข โดย คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงประกาศ “ปลดล็อก” เฉพาะ “ส่วนประกอบของกัญชา” ออกจาก “ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 5 “เป้าหมายคือ ต้องการส่งเสริมให้ปลูกเพื่อสุขภาพและการรักษาโรค อนุญาตให้นำไปเป็นส่วนประกอบในอาหาร - เครื่องดื่ม
อย่างไรก็ตาม “ดอก” และ “ใบรองดอก” ยังเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังสูง เพราะมีสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท กล่าวคือ เป็นสารสกัดที่มีค่า “สารเมา” หรือ “ เตตระไฮโดรแคนนาบินอล “ (tetrahydrocannabinol, THC) มากกว่า 0.2% ดังนั้น การนำ “ส่วนประกอบของกัญชา” มาใช้ ผู้บริโภคควรศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้าน เพื่อความปลอดภัยของสุขภาพ
รศ.ดร.จันทร์เพ็ญ วิวัฒน์ กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ระบุว่า เรื่องนี้ต้องมีการติดตามผลกระทบกันต่อไป เนื่องจากเป็นการใช้ในชีวิตประจำวัน ที่เข้าถึงได้ง่ายในกรณีของการผสมในเครื่องสำอางยังอนุญาตให้ใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ภายนอกเท่านั้น รวมทั้งการกำหนดปริมาณสารเมาหรือเตตระไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol, THC) ในวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ ทั้งเครื่องสำอางและอาหารพร้อมรับประทาน สามารถขออนุญาตผลิตได้โดยการขอจดแจ้ง ส่วนอาหารที่ปรุงขายทั่วไปสามารถทำได้เลยเพียงแต่ต้องมีที่มาของกัญชาที่ถูกต้องตามกฎหมาย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเข้ามาตรวจสอบอยู่เสมอทั้งแหล่งที่มา และการปนเปื้อนสารอื่นๆ ที่เป็นอันตราย อย่างโลหะหนัก เช่น สารหนู ปรอท ตะกั่ว แคดเมียม
นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า เป็นห่วงผู้บริโภคเพราะธุรกิจอาหารที่นำ “ส่วนประกอบของกัญชา” มาประกอบอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงการโฆษณายังไม่มีการควบคุม ดังนั้น หน่วยงานรัฐทีเกี่ยวข้องทังหมดต้องออกมาตรการควบคุม เช่น “ฉลาก” และการโฆษณาเพื่อกำหนดบทลงโทษผู้ประกอบการที่ไม่ปฏิบัติตาม โดยประกาศต้องระบุ “ปริมาณการควบคุม” “อายุของผู้ใช้ เพื่อป้องกันเด็กและเยาวชนนำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม ที่สำคัญ “ฉลากอาหาร” ต้องแสดงอัตราการใช้กัญชา รวมถึง คำเตือนในผลิตภัณฑ์ อย่างชัดเจน เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค อีกทั้งยังทำให้ผู้ประกอบการเกิดการแข่งขันกันเองด้วย ฉะนั้น “ฉลาก” ควรกำหนดให้ระบุข้อมูล คำเตือนและข้อห้าม การแจ้งปริมาณอย่างชัดเจน เข้าใจง่าย เช่น การห้ามใช้ในเด็ก สตรีมีครรภ์ เป็นต้น รวมทั้ง จะต้องอยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นชัดเจน ตัวอักษรมีขนาดให้อ่านได้ไม่ยาก “การโฆษณา” ผ่านช่องทางต่างๆ โดยเฉพาะการโฆษณาบนสื่อออนไลน์ ที่ส่งต่อกันได้อย่างรวดเร็ว อาจมีข้อความที่โฆษณาเกินจริงและจูงใจให้บริโภคเกินความจำเป็น ดังเห็นจากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีอยู่อย่างมากมาย รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากกัญชาที่พบว่ามีการโฆษณาบนสื่อออนไลน์แล้วทั้งๆ ที่ยังไม่ได้รับอนุญาต จึงมีคำถามว่า แล้วหน่วยงานที่รับผิดชอบจะกำกับติดตามอย่างไรให้ทันท่วงที
นายวีรพงษ์ เกรียงสินยศ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิสุขภาพไทย แสดงความกังวลต่อส่วนผสมของกัญชา ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายกับ “กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูง” อาจได้รับผลกระทบจากการรับประทานอาหารและ ครื่องดื่มที่ผสมกัญชา โดยผลการศึกษาของวารสารทางการแพทย์แคนาดารายงานอย่างชัดเจนว่า “เด็ก และ ผู้สูงอายุ” เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ที่จริงคนทุกกลุ่มวัยก็ต้องระวังเช่นกัน โดยปัจจัยที่มีผลได้แก่ เพศ น้ำหนัก อาหารที่บริโภค เพราะแต่ละคนจะมีความไวต่อสารในกัญชาไม่เท่ากัน แม้ว่า “ใบ” จะมี “สารเมา” ต่ำ แต่ก็ต้องระมัดระวัง โดยการออกฤทธิ์ต่อร่างกาย จะใช้เวลา 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง จากนั้นระดับความเข้มข้นของกัญชาในกระแสเลือด จะค่อยๆ เพิ่มจนถึง “ขีดสูงสุด “ โดยจะคงอยู่ในสภาพนั้น 2-3 ชั่วโมง หรือ เกือบตลอดทั้งวัน ขึ้นอยู่กับปริมาณการบริโภค “กัญชา” ในอาหารและเครื่องดื่ม ทั้งจากอาหารปรุงสด, อาหารบรรจุสำเร็จ รวมถึงผลิตภัณฑ์ ที่ อย. ควบคุม เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจว่า “ใบกัญชา “ ไม่ใช่ พืชผักสวนครัวทั่วไป ก็ควรระวังในการบริโภค และอย่าไปเชื่อคำกล่าวอ้างของผู้ประกอบการที่พยายาม “เชิดชู ให้ กัญชา เป็นพืชหรืออาหารวิเศษ” ที่จำเป็นต่อร่างกาย หลังปลกล็อกคือช่วงสุญญากาศ เหมือนว่ารัฐบาล หน่วยงานรัฐ ปล่อยให้ความรับผิดชอบเป็นของสังคม ครอบครัว ชุมชน ต้องเฝ้าระวังและแก้ปัญหาเอง ยังไม่มีกฏหมาย กลไกหรือหน่วยงานใดที่จะมารับผิดชอบโดยตรง
ส่วนภาครัฐ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีบอกว่า ถึงแม้รัฐบาลปลดล็อกให้ปลูกกัญชาโดยถูกกฎหมาย แต่ไม่ใช่ว่าจะทำได้เสรี 100% เพราะพิษภัยของกัญชายังมีอยู่ และ ยังมีพฤติกรรมในบางเรื่องที่รัฐบาลจำเป็นต้องควบคุม อาทิ “ การสูบ “ ต้องไม่ก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้อื่น หรือสูบแล้วขับรถอาจจะผิดกฎหมายเหมือนดื่มแอลกอฮอล์ ห้ามจำหน่ายแก่เด็ก จำเป็นต้องควบคุมการจำหน่าย หรือการผลิตจำหน่ายต้องเสียภาษี ฯลฯ โดยในส่วนนี้จะมีกฎหมายใหม่ กำหนดรายละเอียดต่อไประหว่างนี้ อยู่ระหว่างการนำเสนอ “ร่างพระราชบัญญัติกัญชา” ต่อสภา โดยต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง อย่างไรก็ตามหลังวันที่ 9 มิถุนายน ไปจนถึงวันที่มีกฎหมายบังคับใช้รัฐบาลจะตั้งคณะกรรมการบูรณาการพืชกัญชา-กัญชง โดยมีฝ่ายต่างๆ ที่ร่วมเกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงยุติธรรม, สำนักงานคณะกรรมการป้องและปราบปรามยาเสพติด, ตำรวจ, นักวิชาการและภาคประชาชน เพื่อกำกับดูแลในช่วงรอยต่อนี้ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย พร้อมกับการสร้างการรับรู้ให้กับประชาชน ตลอดจนรับเรื่องร้องเรียนต่างๆ และเรื่องที่อาจจะเป็นปัญหาจากความไม่เข้าใจซึ่งกันและกันด้วย
เนื้อหาอื่นๆ...
- องค์กรผู้บริโภคแถลงความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐ ในการผลักดัน กม.องค์การอิสระคุ้มครองผู้บริโภค
- องค์กรในภาคประชาสังคม ยืนยันข้อเรียกร้อง รัฐไม่ควรเข้าร่วม CPTPP
- องค์การอิระผู้บริโภค ยกระดับแก้ปัญหารถยนต์ไม่ได้มาตรฐานได้
- องค์การอิสระผู้บริโภค ความสำเร็จแค่เอื้อม?
- องค์การอิสระเพื่อผู้บริโภค… อีกนิดเดียวจะเป็นจริง(?)