กินหน่อไม้ระวังพิษไซยาไนด์ตกค้าง

หน่อไม้จานโปรดของคนหลายคน มีสารไซยาไนด์ผสมอยู่ตามธรรมชาติ แต่ไม่ต้องกังวลต้มในน้ำเดือดอย่างน้อย 10 นาที ก็อร่อยได้อย่างปลอดภัย

อ่านต่อ

พิมพ์ อีเมล

นักวิชาการจี้เลิกใช้พริตตี้ขายยา พาหมอ-เภสัชทัวร์นอก ชี้ส่งเสริมการขายขัดจริยธรรม

นักวิชาการจี้เลิกใช้พริตตี้ขายยา-ออกตังค์พาหมอ-เภสัชฯ ดูงานต่างประเทศแท้จริงไปเที่ยวเป็นหลัก ชี้เป็นการส่งเสริมการขายที่ไม่มีจริยธรรม กระทบจัดหายาและสั่งจ่ายยาของประเทศเข้าขั้นวิกฤต ทำให้ยาแพง-ใช้ยาไม่เหมาะสม เล็งหนุนออกกฎควบคุมการส่งเสริมการขายยาให้บริษัทยาแจกแจงบัญชีการส่งเสริมการขาย

วันที่ 29 เมษายน ที่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) กล่าวภายหลังการประชุมร่วมวิเคราะห์ “แนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และบริษัทยา” ว่า ในการประชุมวันนี้ได้เชิญนักวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ภาคการศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบเบิกจ่าย นักกฎหมาย และภาคประชาสังคมมาหารือเรื่องการสั่งจ่ายยา ที่ประชุมมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ปัจจุบัน มีปัญหาของการส่งเสริมการขายอย่างไม่มีจริยธรรมและมีผลกระทบต่อการสั่งจ่ายและจัดหายาอย่างมาก ซึ่งขณะนี้เข้าขั้นวิกฤตแล้วเนื่องจากทำให้ยาราคาแพงเกินจำเป็นและมีการใช้ยาอย่างไม่เหมาะสม

“ในที่ประชุมพูดกันมากถึงการที่ปัจจุบันบริษัทยาใช้พริตตี้ที่แต่งตัวล่อแหลมในการไปติดต่อกับแพทย์ตามโรงพยาบาลต่างๆ บริษัทยาเลี้ยงดูปูเสื่อทั้งแพทย์ ทั้งเภสัชกร มีการเชิญไปต่างประเทศ โดยอ้างว่าดูงานและประชุม แต่จริงๆ ไปเที่ยวเป็นหลัก ที่หนักไปกว่านั้นคือ มีการให้ค่าตอบแทนตามยอดสั่งใช้ยา และให้ค่ารายหัวกรณีที่สั่งจ่ายยาเรื้อรังแก่ผู้ป่วยรายใหม่ หรือแม้บางรายจะมีจรรยาบรรณหรือจริยธรรมวิชาชีพแต่หลักเกณฑ์การดำเนินการของสมาคมบริษัทยาทำให้ระบบการเฝ้าระวังยังอ่อนแอ บางบริษัทก็ไม่เข้าอยู่ในเกณฑ์ใดๆ เลย สถานการณ์จึงมีแนวโน้มน่าวิตกอย่างยิ่ง” ผศ.ดร.นิยดากล่าว

ผศ.ดร.นิยดา กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ ที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่าจะพัฒนาข้อเสนอของคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ในคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ให้ทุกฝ่ายได้แสดงความคิดเห็น เพื่อนำไปสู่การออกกฏหมายว่าด้วยการควบคุมการส่งเสริมการขายยาเพื่อให้บริษัทยาต้องแจกแจงบัญชีงบประมาณที่ใช้ในการส่งเสริมการขาย เช่น ใช้เงินเท่าไรในการพาบุคลากรทางการแพทย์คนใดไปประเทศใด ซึ่งถือปฏิบัติกันแล้วในหลายประเทศ

“อย่างไรก็ตาม ในระหว่างนี้จะ แผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) จะร่วมกับ คณะอนุกรรมการฯ โรงพยาบาล และและสถาบันการศึกษา ในการนำเกณฑ์เหล่านี้นำร่องใช้เพื่อควบคุมการเบิกจ่ายยาในสถานพยาบาล, สนับสนุนให้สถานพยาบาลมีฟรีโซนห้ามการส่งเสริมการขายยา ไม่ให้พริตตี้ขายยาเข้าพบแพทย์ และผลักดันให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และบริษัทยาที่โปร่งใสเป็นหนึ่งในข้อกำหนดของการประกันคุณภาพโรงพยาบาล” ผศ.ดร.นิยดากล่าว


ข้อมูลจาก นสพ.ผู้จัดการ 29/04/52

พิมพ์ อีเมล

ขนมกรุบกรอบดูดเงินจากเด็กมากกว่าค่าเรียน

สธ.ดึงผู้ผลิตขนมร่วมโครงการอาหารลดน้ำตาล  ไขมัน  โซเดียม  หวังปกป้องเด็กไทยไม่อ้วนกลายเป็นคนขี้โรค  พบขนมที่มีน้ำตาลสูงสุดคือ  บิสกิตสอดไส้  มันฝรั่งทอดกรอบมีไขมันสูงสุด  ส่วนปลาเส้นมีโซเดียมสูงสุด  เผยเด็กใช้เงินซื้อขนมกรุบกรอบปีละเกือบหมื่นบาท

นายวิทยา   แก้วภราดัย  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  เปิดแถลงข่าวเมื่อวันที่  22  เมษายนนี้  ถึงการจัดทำโครงการตรวจสัญลักษณ์รับรองอาหารลดน้ำตาล  ไขมัน  และโซเดียม  25%  ว่า  กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกันกับบริษัทผู้ผลิตขนมกรุบกรอบ  6  บริษัท  คือ  1.บริษัท  วาไรตี้  ฟูดส์  อินเตอร์เนชั่นแนล  จำกัด  2.บริษัท   โรงงานแม่รวย  จำกัด  (โก๋แก่)  3.บริษัท  เวิร์ลฟูลด์  อินเตอร์เนชั่นแนล  จำกัด  4.บริษัท  อุตสาหกรรม  ส.ขอนแก่น  จำกัด  (มหาชน)  5.บริษัท  ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์  จำกัด   (มหาชน)  และ  6.บริษัท  อัลฟ่า  เจ  จำกัด  ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารลดน้ำตาล   ไขมัน  โซเดียม  ร้อยละ  25

รมว.สาธารณสุขกล่าวว่า   ได้มีการกำหนดตราสัญลักษณ์อาหารลดน้ำตาล  ไขมัน  โซเดียม  4  แบบ  ตามชนิดของการลด  คือ  1.อาหารลดน้ำตาล  ไขมัน  โซเดียม  2.อาหารลดน้ำตาล   ไขมัน  3.อาหารลดน้ำตาล  โซเดียม  และ  4.อาหารลดไขมัน  โซเดียม  โดยต้องมีข้อความ  "บริโภคแต่น้อยและออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ"  ติดที่บรรจุภัณฑ์  เพื่อให้ผู้บริโภครับรู้และมีทางเลือกในการซื้อขนมเพื่อสุขภาพ  พร้อมทั้งกระตุ้นให้ผู้ผลิตและผู้จำหน่าย  ผลิตและจำหน่ายอาหารที่ดีต่อสุขภาพของประชาชนเพิ่มขึ้น  นอกจากนี้เป็นการปรับพฤติกรรมการบริโภคให้มีการบริโภคอาหารที่รสไม่หวานจัด  เค็มจัด  อีกด้วย|

"มีผู้แทนจำหน่ายที่ให้ความร่วมมือเป็นตัวแทนในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้รับตราสัญลักษณ์รับรองอาหารลดน้ำตาล  ไขมัน  และโซเดียม  25%  อาทิ  บริษัท  ซีพีออลล์  บริษัท  สยามแมคโคร  (มหาชน)  บริษัท  เทสโก้โลตัส  ซึ่งคาดว่าในเดือนพฤษภาคม  2552  จะเริ่มเข้าสู่ตลาดและมีการจำหน่าย  สำหรับผู้ประกอบการรายอื่นที่สนใจ  สามารถยื่นใบสมัครร่วมโครงการได้"  นายวิทยากล่าว

นพ.ณรงค์ศักดิ์   อังคะสุวพลา  อธิบดีกรมอนามัย  กล่าวว่า  ปัจจุบันพบว่าประเทศไทยมีเด็กอ้วนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  โดยจะพบเด็กอ้วน  1  ใน  4  คน  ขณะที่  30-80%  เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็ยังคงมีสภาวะอ้วน   และป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด  โรคเบาหวาน   โรคความดันโลหิตสูง

จากการสำรวจการบริโภคขนมกรุบกรอบของเด็กและเยาวชนในปี  2549  พบเด็กไทยมีการใช้เงินซื้อขนบกรุบกรอบเฉลี่ยวันละ  26  บาทต่อวัน  หรือคิดเป็น  40%  ของค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน  และหากคิดเป็นค่าใช้จ่ายต่อปี  พบมีการใช้เงินสูงถึง  9,800  บาท  ส่วนค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาตกปีละ  3,024  บาทต่อคนเท่านั้น  ขณะที่ขนมส่วนใหญ่ที่เด็กซื้อมาบริโภค  90%  จะประกอบด้วยแป้ง  น้ำตาล  โซเดียม  ทำให้เด็กได้รับแป้งและน้ำตาลจากขนมมากเกินไป

ดร.ชนินทร์  เจริญพงศ์  นักวิชาการสำนักงานคณะกรรมการอาการและยา  (อย.)  กล่าวว่า  อย.ตรวจสอบพบว่ากลุ่มขนมที่มีปริมาณน้ำตาลสูงสุด  ได้แก่  ขนมบิสกิตสอดไส้ในปริมาณ  30  กรัม  พบน้ำตาลเฉลี่ย  10.4  กรัม  ไขมัน  6.3  กรัม  โซเดียม  138  กรัม  หากลดปริมาณลงร้อยละ  25  จะเหลือน้ำตาล  7.8  กรัม  ไขมัน  4.8  กรัม  โซเดียม  103.5  กรัม  ส่วนกลุ่มขนมที่มีไขมันสูงสุด  ได้แก่  มันฝรั่งทอดกรอบ  30  กรัม  พบน้ำตาล  0.3  กรัม  ไขมัน  9.7  กรัม  โซเดียม  116.3  กรัม  หากลดปริมาณลงร้อยละ  25  จะเหลือน้ำตาล  0  กรัม  ไขมัน  7.3  กรัม  โซเดียม  87.3  กรัม  ส่วนขนมที่มีโซเดียมสูงสุด  ได้แก่  ปลาเส้นปริมาณ  30  กรัม  พบน้ำตาลเฉลี่ย  7.5  กรัม  ไขมัน  0.5   กรัม  โซเดียม  717  กรัม  หากลดปริมาณลงร้อยละ  25  จะเหลือน้ำตาล  5.6  กรัม   ไขมัน  0.4  กรัม  โซเดียม  537.8  กรัม

นายสมนึก  งามนิธิพร  กรรมการผู้จัดการใหญ่  บริษัท  วาไรตี้  ฟูดส์  อินเตอร์เนชั่นแนล  จำกัด  กล่าวว่า  ในการผลิตขนมที่ต้องมีการลดน้ำตาล  ไขมัน  และโซเดียม  ทำให้ต้องเพิ่มปริมาณนม  แป้งหรือถั่วแดงแทน  ซึ่งในทางธุรกิจไม่สามารถคาดหวังถึงผลกำไรได้  เพราะต้นทุนเพิ่มขึ้น  ราคาคงปรับสูงกว่าราคาขนมปกติไม่เกิน  10%  แต่คิดว่าเป็นการทำบุญให้แก่เด็กไทยได้บริโภคขนมที่มีประโยชน์.

{mxc}

ข้อมูลจาก นสพ.ไทยโพสต์ 23/4/52

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน