อย.เตือนอย่าหลงเชื่อ"เอนไซม์-น้ำเห็ดสกัด 6 สายพันธุ์"รักษาสารพัดโรค

เมื่อวันที่ 20 มกราคม ภญ.ศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากการเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคไม่ให้ตกเป็นเหยื่อโฆษณาหลอกลวง พบการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางสื่อต่าง ๆ เช่น แผ่นพับ วิทยุ เว็บไซต์ โดยเฉพาะทางคลื่นวิทยุชุมชนเคเบิ้ลทีวี และจานรับสัญญาณดาวเทียม รวมทั้งในรูปแบบขายตรง โดยนำผู้อ้างว่ามีประสบการณ์มาบรรยายถึงสรรพคุณในการรักษาโรค ต่าง ๆ พบผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าเป็นเอนไซม์ ได้แก่ เอนไซม์เจนิฟู้ด เอนไซม์ลี่เป่า เอนไซม์หว้างเหวียนเป่า ซึ่งขอขึ้นทะเบียนกับ อย. เป็นเครื่องดื่มพืชผักผลไม้ผสม แต่โฆษณาว่าเป็น “เอนไซม์” มีข้อความโฆษณาอวดอ้างการบำบัดโรค เช่น “ ป้องกัน ยับยั้ง ต่อต้าน ทำลายโรคต่าง ๆ เป็นทางเลือกที่ได้ผลสูง ” โดยนำบทสัมภาษณ์ผู้ป่วย อาทิ ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนเบาหวาน ความดัน ไขมันอุดตัน อัมพฤกษ์ ริดสีดวงทวาร นิ่ว มะเร็งเต้านม หัวใจตีบ ฯลฯที่รับประทานผลิตภัณฑ์เอนไซม์ดังกล่าวแล้วอาการป่วยดีขึ้น หรือหายจากอาการป่วย หรือนำผู้ที่มีชื่อเสียง พิธีกรที่เป็นที่รู้จักนำเสนอ เพื่อจูงใจให้ตัดสินใจซื้อ


นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์อาหารอื่น ๆเช่น น้ำสมุนไพรเฮคาร่า มีข้อความโฆษณาอวดอ้างในลักษณะ จากที่เดินไม่ค่อยได้ในตอนแรก ก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ ร่างกายแข็งแรงขึ้น เป็นต้น รวมถึงมีการไปเยี่ยมบ้าน และสัมภาษณ์ผู้มีประสบการณ์การรับประทานน้ำสมุนไพร ทั้งประชาชนทั่วไป รวมถึงพระภิกษุสงฆ์เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารซัน คลาร่า โดยระบุข้อความโฆษณา เช่น “...ผิวสวย หน้าใส ภายในกระชับ ช่วยให้ผนังเส้นเลือดโดยเฉพาะเส้เลือดดำ (veins) มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น ต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันเบาหวาน ช่วยให้น้ำหนักลดลง ป้องกันความผิดปกติของผิวหนังป้องกันโรคพาร์กินสันและอัลไซเมอร์...” “... เพิ่มขนาดความเต่งตึงของทรวงอก ลดอาการปวดท้องประจำเดือน กระชับมดลูกภายในช่องคลอด...”เป็นต้น ผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้ โฆษณาว่าสามารถแก้โรคปวดข้อปวดกระดูกให้หายได้ และ ผลิตภัณฑ์น้ำเห็ดสกัดเพื่อสุขภาพ อวดอ้างว่าสกัดจากเห็ด 6 สายพันธุ์ มีสรรพคุณในการช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับร่างกาย ป้องกันการติดเชื้อ ป้องกันไข้หวัดทำให้สุขภาพแข็งแรงดี ไม่เจ็บป่วยง่าย เป็นต้น ทั้งนี้ อย.ได้ตรวจสอบข้อความโฆษณาดังกล่าวปรากฏว่าไม่ได้รับอนุญาตโฆษณาจาก อย. แต่อย่างใด ดังนั้น ถือว่ามีความผิดตามกฎหมายในข้อหาโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท พร้อมระงับการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดังกล่าวในทุกสื่อ ซึ่งดำเนินการแล้ว


รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวต่อไปว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ใช่ยารักษาโรค มีสรรพคุณเพื่อบำรุงร่างกายทั่วไป ไม่ได้ช่วยป้องกัน ยับยั้ง ต่อต้าน หรือทำลายโรคต่าง ๆ ได้ ขอให้ผู้บริโภคใช้วิจารณญาณพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่สำคัญอย่าได้หลงเชื่อสรรพคุณว่าสามารถป้องกันหรือรักษาโรคนอกจากเสียเงิน โดยไม่จำเป็นแล้ว หากท่านมีโรคประจำตัวอาจได้รับผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อร่างกายโดยคาด ไม่ถึง ในส่วนของผู้ประกอบการ ขอให้เห็นแก่ความปลอดภัยของผู้บริโภค ดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม อย่าโฆษณาด้วยวิธีการต่าง ๆในลักษณะที่เกินเลยความเป็นจริง มิฉะนั้น อย.จะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเข้มงวดและเด็ดขาดหากผู้บริโภคพบเห็นการอวด อ้างสรรพคุณผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเกินจริงผ่านทางสื่อต่างๆ หรือโฆษณาหลอกลวงให้ผู้บริโภคหลงเชื่อโดยการขายตรง ขอให้แจ้งร้องเรียนมายังสายด่วน อย. 1556หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดเพื่อทางราชการจะได้ตรวจสอบและ ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

............................................................................................................................................................................................

ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ  วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555 เวลา 10:57:05 น.

พิมพ์ อีเมล

ผ่าชีวิต ‘คนเลี้ยงไก่’ในเกษตรพันธะสัญญา แฉเจอขูดทุกเม็ด แทบไม่เหลืออะไร หวังแค่ ‘ขี้ไก่’ เป็นอาหารปลา-แหล่งรายได้ของจริง

เปิดชีวิตคนเลี้ยงไก่ใต้พันธะสัญญาทาส เลี้ยง 4 เดือน 4,500 ตัว หักกลบลบหนี้ค่าอาหาร ค่ายา ค่าลูกพันธุ์ เหลือเงินแค่ 80 บาท ขณะที่ราคาเนื้อไก่ในตลาดกิโลละ 90 บาท แต่ต้องทนเลี้ยงเพราะทำมานาน และสิ่งที่หวังคือ ขี้ไก่ ที่ต้องใช้เป็นอาหารปลาสวาย ซึ่งขายรายได้ดีกว่าเลี้ยงไก่มหาศาล

อ่านต่อ

พิมพ์ อีเมล

สร้างสุขภาพไม่ต้องพึ่งอาหารเสริม

หลายคน คงจำได้ ว่าเมื่อสองสามปีที่ผ่านมาเราถกเถียง เรื่องคุณประโยชน์ของน้ำลูกยอและราคาที่แพงหูฉี่ของน้ำลูกยอจากต่างประเทศ แต่วันนี้ก็อาจจะมีคำถามมากมายเรื่องสาหร่ายสไปรูไลน่า ว่ารักษาโรคได้จริงหรือไม่ มีกรดยูริคสูงจริงหรือไม่ ทำให้มีปัญหากับผู้ที่มีโรคประจำตัวประเภทข้อเข่าต่าง ๆ หรือไม่

อ่านต่อ

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน