กระทรวงพลังงานห่วงโรงไฟฟ้าใหม่ โดนม็อบต้าน สร้างไม่ได้ อาจกระทบแผนผลิตไฟฟ้าของประเทศ
นายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (พีดีพี) 2007 ว่า ขณะนี้การก่อสร้างโรงไฟฟ้า แห่งใหม่ตามแผนพีดีพี กำลังถูกต่อต้านจากกลุ่มองค์กรเอกชน ที่ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้าน ซึ่งสังเกต ได้ว่าโรงไฟฟ้าทุกประเภทไม่ได้รับการสนับสนุน ไม่ใช่เพียงแค่ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรือถ่านหิน เท่านั้น แต่ยังรวมถึงโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลด้วย
“ทั้งนี้ ล่าสุดที่มีการออกมาเคลื่อนไหวคือ โรงไฟฟ้าพลังงานลมที่เขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา ซึ่งจัดเป็นพลังงานทางเลือกที่สะอาด และยังช่วยลดภาวะโลกร้อน ก็ยังถูกต่อต้าน ควรจะคำนึงถึงการผลิตไฟฟ้าองประเทศในอนาคตด้วย ซึ่งปัจจุบันตัวเลขสำรองไฟฟ้าที่ระบุไว้ว่ามี 29% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด แต่ถ้าพิจารณาถึงกำลังการผลิตจริงไม่ได้สูงขนาดนั้น โดยเรื่องนี้คงต้องมีการทำความเข้าใจกันให้มากขึ้น” นายพรชัย กล่าว
นายสมบัติ ศานติจารี ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ยอมรับว่า ขณะนี้โครงการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากพลังงานลมที่เขื่อนลำตะคองของกฟผ . ที่ได้เปิดขายซองประมูล ไปเมื่อวันที่ 4 เดือนพ.ย.ที่ผ่านมา มีผู้ซื้อซองจำนวน 10 กว่าราย กำลังถูกต่อต้านจากกลุ่มนักเคลื่อนไหวในท้องที่ โดยเรียกร้องให้มีการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ก่อนที่จะยื่นประกวดราคา
ทั้งนี้ ตามระเบียบวิธีประมูลต้องเปิดขายซองราคาก่อน หลังจากนั้นจึงจะให้เวลาเตรียมตัว ดำเนินการตามเงื่อนไขคุณสมบัติของผู้ลงทุนในโครงการ และจะเปิดให้ยื่น รายละเอียดของโครงการ และ อีไอเอ ภายใน 45 วัน ซึ่งคาดว่าจะพิจารณาตัดสินใจเลือกผู้ลงทุนได้ในช่วงต้นปี 2553
“ขั้นตอนหลังคัดเลือกจะต้องเสนอครม. เห็นชอบ และโครงการที่ได้ก็จะต้องผ่านขั้นตอนการทำ อีไอเอ หากทำไม่ผ่านก็ไม่สามารถเดินหน้าก็จะเป็นเรื่องปกติแบบนี้” นายสมบัติ กล่าว
“เราใช้ก๊าซฯ ผลิตไฟ 70% มีความเสี่ยงทั้งความมั่นคงและราคา จึงต้องกระจายแหล่งเชื้อเพลิง ซึ่งในที่สุดไทยก็ไม่ต่างจากประเทศอื่นๆ ในโลกที่อาจหนีพ้นนิวเคลียร์” นายสมบัติ กล่าว
นสพ. โพสต์ทูเดย์ 23/11/52
นายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (พีดีพี) 2007 ว่า ขณะนี้การก่อสร้างโรงไฟฟ้า แห่งใหม่ตามแผนพีดีพี กำลังถูกต่อต้านจากกลุ่มองค์กรเอกชน ที่ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้าน ซึ่งสังเกต ได้ว่าโรงไฟฟ้าทุกประเภทไม่ได้รับการสนับสนุน ไม่ใช่เพียงแค่ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรือถ่านหิน เท่านั้น แต่ยังรวมถึงโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลด้วย
“ทั้งนี้ ล่าสุดที่มีการออกมาเคลื่อนไหวคือ โรงไฟฟ้าพลังงานลมที่เขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา ซึ่งจัดเป็นพลังงานทางเลือกที่สะอาด และยังช่วยลดภาวะโลกร้อน ก็ยังถูกต่อต้าน ควรจะคำนึงถึงการผลิตไฟฟ้าองประเทศในอนาคตด้วย ซึ่งปัจจุบันตัวเลขสำรองไฟฟ้าที่ระบุไว้ว่ามี 29% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด แต่ถ้าพิจารณาถึงกำลังการผลิตจริงไม่ได้สูงขนาดนั้น โดยเรื่องนี้คงต้องมีการทำความเข้าใจกันให้มากขึ้น” นายพรชัย กล่าว
นายสมบัติ ศานติจารี ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ยอมรับว่า ขณะนี้โครงการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากพลังงานลมที่เขื่อนลำตะคองของกฟผ . ที่ได้เปิดขายซองประมูล ไปเมื่อวันที่ 4 เดือนพ.ย.ที่ผ่านมา มีผู้ซื้อซองจำนวน 10 กว่าราย กำลังถูกต่อต้านจากกลุ่มนักเคลื่อนไหวในท้องที่ โดยเรียกร้องให้มีการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ก่อนที่จะยื่นประกวดราคา
ทั้งนี้ ตามระเบียบวิธีประมูลต้องเปิดขายซองราคาก่อน หลังจากนั้นจึงจะให้เวลาเตรียมตัว ดำเนินการตามเงื่อนไขคุณสมบัติของผู้ลงทุนในโครงการ และจะเปิดให้ยื่น รายละเอียดของโครงการ และ อีไอเอ ภายใน 45 วัน ซึ่งคาดว่าจะพิจารณาตัดสินใจเลือกผู้ลงทุนได้ในช่วงต้นปี 2553
“ขั้นตอนหลังคัดเลือกจะต้องเสนอครม. เห็นชอบ และโครงการที่ได้ก็จะต้องผ่านขั้นตอนการทำ อีไอเอ หากทำไม่ผ่านก็ไม่สามารถเดินหน้าก็จะเป็นเรื่องปกติแบบนี้” นายสมบัติ กล่าว
“เราใช้ก๊าซฯ ผลิตไฟ 70% มีความเสี่ยงทั้งความมั่นคงและราคา จึงต้องกระจายแหล่งเชื้อเพลิง ซึ่งในที่สุดไทยก็ไม่ต่างจากประเทศอื่นๆ ในโลกที่อาจหนีพ้นนิวเคลียร์” นายสมบัติ กล่าว
นสพ. โพสต์ทูเดย์ 23/11/52