นายสมบูรณ์ อารยะสกุล รองผู้ว่าการพัฒนาการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าแผนสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ ปี 2551-2564 หรือพีดีพี 2007 ขณะนี้มีปัญหาในการสำรวจพื้นที่เป้าหมาย 14 แห่ง เนื่องจากมีกลุ่มมวลชนในลักษณะองค์กรเอกชนร่วมกับชุมชนในพื้นที่ต่อต้าน อาจทำให้ไม่สามารถสรุปพื้นที่ก่อสร้างได้ทันภายในปี 2553 จนต้องเลื่อนแผนนำโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เข้าระบบ
อย่างไรก็ตาม กฟผ.จะพยายามคัดเลือกพื้นที่ให้ทันตามแผนที่กำหนดไว้ หากไม่ทันอย่างน้อยตามแผนพีดีพีจะต้องมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 1 แห่ง ขนาด 1,000 เมกะวัตต์ เริ่มเข้าระบบได้ในปี 2564 จากปัจจุบันที่กำหนดไว้จะมี 2 แห่ง เริ่มเข้าระบบในปี 2563 จำนวน 1 แห่ง และปี 2564 อีก 1 แห่ง
“จากการลงพื้นที่สำรวจ ชาวบ้านห่วงเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับแรก เกรงจะมีอันตรายทั้งสารกัมมันตรังสี แหล่งน้ำมีสิ่งปนเปื้อน พื้นที่ไหนเจอแรงต้านก็ต้องหยุดสำรวจ” นายสมบูรณ์ กล่าว
ปัจจุบันไทยพึ่งพาการใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้ามากเกินไปในสัดส่วน 70% จำเป็นต้องหาแหล่งเชื้อเพลิงอื่นมาทดแทน ที่ผ่านมาช่วงที่มีปัญหาก๊าซฯ หยุดจ่าย เริ่มมีสัญญาณที่ไม่ดี เพราะทำให้เกิดความเสี่ยงด้านความมั่นคงพลังงาน กฟผ.ไม่ต้องการให้เกิดปัญหาไฟฟ้าดับในวงกว้าง เนื่องจากจะทำให้เกิดความเสียหาย โดยผลศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า หากเกิดไฟฟ้าดับทั่วประเทศ เศรษฐกิจจะเสียหายเฉลี่ยชม.ละ 1,000 ล้านบาท
นายสมบูรณ์ กล่าวถึงการทบทวนแผนพีดีพีรอบ 3 ว่า กระทรวงพลังงานได้ตั้งคณะอนุกรรมการ 1 ชุด มีนายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน มีผู้แทนจากหลายฝ่ายทำหน้าที่ทบทวนแผน เป็นครั้งแรกที่มีภาคประชาชนเข้ามาร่วมพิจารณาเต็มรูปแบบ คาดว่าจะสรุปแผนได้ไตรมาสแรกปี 2553
ดังนั้น การทบทวนแผนพีดีพีรอบนี้ จะพยายามเพิ่มสัดส่วนของพลังงานทดแทนให้ได้ 10% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด ในระยะ 15 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันที่มีการใช้พลังงานทดแทนผลิตไฟฟ้าเพียง 2% นอกจากนี้จะลดสัดส่วนการใช้ก๊าซฯ โดยหันไปพึ่งถ่านหินและนิวเคลียร์
อย่างไรก็ตาม กฟผ.จะพยายามคัดเลือกพื้นที่ให้ทันตามแผนที่กำหนดไว้ หากไม่ทันอย่างน้อยตามแผนพีดีพีจะต้องมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 1 แห่ง ขนาด 1,000 เมกะวัตต์ เริ่มเข้าระบบได้ในปี 2564 จากปัจจุบันที่กำหนดไว้จะมี 2 แห่ง เริ่มเข้าระบบในปี 2563 จำนวน 1 แห่ง และปี 2564 อีก 1 แห่ง
“จากการลงพื้นที่สำรวจ ชาวบ้านห่วงเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับแรก เกรงจะมีอันตรายทั้งสารกัมมันตรังสี แหล่งน้ำมีสิ่งปนเปื้อน พื้นที่ไหนเจอแรงต้านก็ต้องหยุดสำรวจ” นายสมบูรณ์ กล่าว
ปัจจุบันไทยพึ่งพาการใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้ามากเกินไปในสัดส่วน 70% จำเป็นต้องหาแหล่งเชื้อเพลิงอื่นมาทดแทน ที่ผ่านมาช่วงที่มีปัญหาก๊าซฯ หยุดจ่าย เริ่มมีสัญญาณที่ไม่ดี เพราะทำให้เกิดความเสี่ยงด้านความมั่นคงพลังงาน กฟผ.ไม่ต้องการให้เกิดปัญหาไฟฟ้าดับในวงกว้าง เนื่องจากจะทำให้เกิดความเสียหาย โดยผลศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า หากเกิดไฟฟ้าดับทั่วประเทศ เศรษฐกิจจะเสียหายเฉลี่ยชม.ละ 1,000 ล้านบาท
นายสมบูรณ์ กล่าวถึงการทบทวนแผนพีดีพีรอบ 3 ว่า กระทรวงพลังงานได้ตั้งคณะอนุกรรมการ 1 ชุด มีนายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน มีผู้แทนจากหลายฝ่ายทำหน้าที่ทบทวนแผน เป็นครั้งแรกที่มีภาคประชาชนเข้ามาร่วมพิจารณาเต็มรูปแบบ คาดว่าจะสรุปแผนได้ไตรมาสแรกปี 2553
ดังนั้น การทบทวนแผนพีดีพีรอบนี้ จะพยายามเพิ่มสัดส่วนของพลังงานทดแทนให้ได้ 10% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด ในระยะ 15 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันที่มีการใช้พลังงานทดแทนผลิตไฟฟ้าเพียง 2% นอกจากนี้จะลดสัดส่วนการใช้ก๊าซฯ โดยหันไปพึ่งถ่านหินและนิวเคลียร์
นสพ.โพสต์ทูเดย์ นพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552