นิตยสารฉลาดซื้อแถลง ‘ผลการเปรียบเทียบแพคเกจประกันชีวิต เจ้าไหนให้ประโยชน์มากกว่ากัน’ แนะ ก่อนเลือกประกันชีวิตควรสอบถามค่าการคำนวณผลตอบแทนจากการลงทุน (IRR)
กลุ่มผู้เสียหาย เปิดโปง 2 บริษัท ธุรกิจสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ คิดดอกเบี้ยเกินกม. กำหนด
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดแถลง ‘เปิดโปง 2 บริษัท’ ธุรกิจสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ คิดดอกเบี้ยเกินกม. กำหนด หวังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าจัดการปัญหาในเชิงนโยบาย
เตือนภัยผู้บริโภค! ซื้อประกันรถยนต์ทางโทรศัพท์กับโบรคเกอร์ เสี่ยงถูกหลอก!
ผู้บริโภคเข้าร้องทุกข์ ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เหตุถูกบุคคลอ้างเป็นตัวแทนบริษัทนายหน้าประกัน โทรมาเสนอโปรโมชั่นชำระเบี้ยประกันราคาถูกและผ่อนบัตรเครดิตได้ ล่าสุดพบผู้เสียหายแล้วกว่า 30 ราย
จากกรณีผู้เสียหายรายหนึ่งโพสต์กระทู้ในเว็บไซต์พันทิป อ้างว่าตนได้ขอยกเลิกการทำประภันภัย กับ S.M.P. INSURE โบรคเกอร์ประกันภัยรถยนต์ที่มาเสนอขายประกันผ่านทางโทรศัพท์ เนื่องจากในการตกลงซื้อขาย ผู้เสียหายได้ขอแบ่งชำระเบี้ยประกันผ่านบัตรเครดิตเป็น 6 งวด แต่ภายหลังพบว่ามียอดแจ้งจากบัตรเครดิตเป็นการชำระยอดเต็ม จึงได้แจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน และมาทราบข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) สาขา จ.สงขลา ว่าบริษัทโบรคเกอร์ดังกล่าวนั้น ไม่ได้จดทะเบียนใบอนุญาตกับ คปภ.
https://pantip.com/topic/36780280
สอดคล้องกับทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ที่ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้เสียหายจำนวน 3 ราย เข้ามาทางศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค พบว่าคู่กรณีเป็นบริษัทโบรคเกอร์ชื่อเดียวกันนี้ และมีการพูดคุยเชิญชวนในลักษณะคล้ายกัน โดยผู้เสียหายได้ให้ข้อมูลว่า ตนได้รับโทรศัพท์จากบุคคลที่อ้างว่าเป็นตัวแทนบริษัทผู้จำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อหนึ่ง โทรมาแจ้งว่าประกันภัยรถยนต์กำลังจะหมดอายุ และเสนอขายโปรโมชั่นเบี้ยประกันราคาถูกและเชิญชวนให้ต่อประกัน โดยเสนอให้แบ่งชำระเป็นงวดๆ ได้ แต่มาพบในภายหลังว่ามีการตัดบัตรเครดิตเป็นยอดเงินเต็มจำนวน เมื่อผู้เสียหายโทรไปขอยกเลิกทำประกัน และขอเงินคืนก็พบว่าถูกบ่ายเบี่ยงมาโดยตลอด
นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ให้ความเห็นว่า การที่ผู้บริโภคเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ผ่านบริษัทโบรเกอร์ทางโทรศัพท์นั้นมีความเสี่ยงที่จะถูกหลอก ควรซื้อกับบริษัทประกันโดยตรงจะ แม้ว่าการชำระเบี้ยประกันผ่านโบรคเกอร์อาจมีโปรโมชั่นเบี้ยประกันที่ถูกกว่า และสามารถผ่อนชำระผ่านบัตรเครดิตได้ ซึ่งเป็นที่ล่อใจเป็นอย่างมาก แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะถูกหลอกจนเกิดความเสียหายได้ ดังนั้นหากจะเลือกซื้อประกันผ่านบริษัทนายหน้าหรือโบรคเกอร์ ผู้บริโภคควรตรวจสอบทะเบียนใบอนุญาต กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. โดยสามารถตรวจสอบได้ที่ eservice.oic.or.th
“หากทราบว่าบริษัทนายหน้าไม่ชอบมาพากลแล้ว แนะนำให้ผู้บริโภคทำหนังสือขอยกเลิกสัญญา และขอให้บริษัทดำเนินการคืนเงินเข้าระบบบัตรเครดิต รวมทั้งทำหนังสือแจ้งบริษัทผู้ให้บริการบัตรเครดิตเป็นลายลักษณ์อักษร และส่งเป็นจดหมายลงทะเบียนตอบรับเก็บไว้เป็นหลักฐาน” นางนฤมลกล่าวเสริม
ล่าสุดได้มีการตั้งกลุ่มไลน์ รวบรวมผู้เสียหายจากบริษัทดังกล่าว พบผู้เสียหายแล้วกว่า 30 คน และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยผู้บริโภคท่านใดที่เพิ่งทราบข่าวและได้รับความเสียหายจากบริษัทเดียวกันนี้ สามารถติดต่อเข้าร้องทุกข์ได้ที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โทร. 02 248 3737 หรืออีเมล์ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
ธปท.เอาจริง คุมสินเชื่อบัตรเครดิต หวังลดหนี้ครัวเรือน
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด ระบุ นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้แจ้งให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบว่าธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. มีแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน โดยเตรียมออกเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลใหม่ ซึ่งจะจำกัดวงเงินสินเชื่อจากเดิมที่เคยปล่อยสูงถึง 5 เท่าของฐานเงินเดือน
ธปท.คุมเข้มแบงก์รัฐขายประกันพ่วง
ธปท.ส่งหนังสือเวียนคุมเข้มแบงก์รัฐขายประกันพ่วงผลิตภัณฑ์การเงินอื่น โดยกำหนดให้คำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภคและชี้แจงให้ลูกค้าเข้าใจถึงรูปแบบประกันโดยละเอียด
เนื้อหาอื่นๆ...
- ธปท.สั่งแบงก์เติม"บัตรเอทีเอ็ม-เดบิต"ชนิดธรรมดาเข้าสาขาให้เพียงพอ
- บริษัทประกันไม่รับผิดชอบผู้บริโภคดีพอ เครือข่ายผู้บริโภค ไม่หนุนกระทรวงการคลังทำประกันคนจน 99 บาท
- สำรวจข้อมูลบัตรเอทีเอ็ม-เดบิตของธนาคารไทย รองรับระบบชิปแบบใหม่แค่ไหน
- เปิดสาระสำคัญ พ.ร.บ.ทวงหนี้ 2558 ลูกหนี้ต้องดู-เจ้าหนี้ต้องรู้
- คนกรุงกว่าครึ่งชำระบัตรเครดิตแค่ขั้นต่ำ