สังคมไทยในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตอย่างมากมาย โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนในสังคม จากที่เคยอาศัยเพียงปัจจัยสี่ในการดำรงชีพ แต่ในปัจจุบันหลายคนต่างมีสิ่งที่จำเป็นมากมายกว่าปัจจัยสี่ ซึ่งเป็นเครื่องช่วยอำนวยให้เกิดความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตและการติดต่อ สื่อสาร ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือเหล่านั้นก็คือ “สื่ออิเล็กทรอนิกส์”
หากจะกล่าวว่า หลายคนอาจอยู่ไม่ได้ในโลกนี้ถ้าปราศจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก็คงไม่เกินจริง นักกับสังคมไทย เพราะหากพิจารณาให้ดีแล้วจะเห็นได้ว่า สิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันมีมากมายเหลือเกิน เราอยากจะรู้เรื่องอะไรก็เข้าไปค้นหาทางอินเทอร์เน็ต อยากจะคุยกับใครที่อยู่ห่างไกลก็ใช้โทรศัพท์ที่คุยแล้วสามารถเห็นหน้ากันได้ เหล่านี้ถือเป็นในแง่ที่เกิดประโยชน์ แต่เมื่อมีประโยชน์ก็อาจมีโทษเหมือนกัน ดังนั้น จึงอาจมีความจำเป็นต้องมีกฎหมายหรือมาตรการมาควบคุมการใช้งานสิ่งเหล่านี้ ไม่ให้เกิดปัญหาที่จะเป็นการละเมิดหรือกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ด้วยเหตุที่กฎหมายเป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในสังคม นอกเหนือจากศีลธรรม วัฒนธรรม ศาสนา และจารีตประเพณี ซึ่งมุ่งให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข กฎหมายจึงมีลักษณะที่เป็นทั้งข้อห้ามมิให้กระทำหรือฝ่าฝืน และมีสภาพบังคับให้ปฏิบัติตามหากใครฝ่าฝืนไม่เชื่อฟังก็จะถูกกฎหมายบังคับ หรือลงโทษได้
เมื่อเราลองพิจารณาเฉพาะในแง่ที่เป็นปัญหาจะเห็นว่า ปัจจุบันบุคคลถูกละเมิดความเป็นส่วนตัวจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์จนส่งผลให้เกิด เป็นปัญหาอยู่บ่อยครั้ง และการถูกละเมิดความเป็นส่วนตัวในหลายกรณีก็เกิดจากบุคคลนั้นเองเป็นผู้มี ส่วนทำให้เกิดการละเมิดสิทธิดังกล่าวโดยไม่รู้ตัว ในเบื้องต้นเราอาจแบ่งการพิจารณาสิทธิความเป็นส่วนตัวออกเป็นสองประเภท ได้แก่ ประเภทแรกคือ ความเป็นส่วนตัวที่เกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภค เช่น สิทธิในความเป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลของผู้ ให้บริการออนไลน์ของสถาบันการเงิน ห้างร้าน หรือบริษัทประกันชีวิต การส่งต่อหรือซื้อขายข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าไปยังบุคคลที่สามถือเป็นเรื่อง ผิด แต่บางครั้งก็เป็นตัวเราเองที่ยินยอมให้ข้อมูลส่วนตัวไปโดยไม่ได้ระมัดระวัง
ประการที่สอง คือ ความเป็นส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เช่น การเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อกล่าวหาหรือโจมตีบุคคลที่มีความคิดเห็นต่าง กันทางการเมือง หรือใช้ข้อมูลเพื่อกลั่นแกล้งให้บุคคลอื่นเสียหาย ซึ่งหากพิจารณาแล้วจะพบว่า ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่จะนำมาใช้บังคับป้องปราม การละเมิดความเป็นส่วนตัวได้โดยตรง
จากตัวอย่างข้างต้นนี้อาจชี้ให้เห็นได้ว่า ปัญหาการละเมิดความเป็นส่วนตัวในปัจจุบันสะท้อนถึงภาพรวมของกระบวนการไหล เวียนของข้อมูลส่วนตัว ซึ่งบ่งชี้ตัวบุคคลได้ เช่น ชื่อ นามสกุล อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่ ที่ทำงาน เลขบัญชีธนาคาร ฯลฯ กระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ คนส่วนใหญ่อาจไม่ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการที่มีผู้เข้าถึงและนำ ข้อมูลส่วนตัวของเราไปใช้ประโยชน์โดยที่เราไม่ยินยอม รวมทั้งผลกระทบจากการที่ข้อมูลของเราไปอยู่ในสื่อสาธารณะโดยไม่รู้ตัวและไม่ อาจควบคุมได้
จากงานวิจัยของนักวิชาการที่สำรวจสถานการณ์การละเมิดความเป็นส่วนตัวใน โลกสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในสังคมไทย ระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน 2556 จำนวน 6 กรณีตัวอย่าง พบว่า ปัญหาการละเมิดสิทธิดังกล่าวแบ่งออกเป็นสามรูปแบบ ได้แก่ แบบแรก การละเมิดความเป็นส่วนตัวของธุรกิจเอกชน เช่น การกรอกแบบสอบถามในการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือ การเผยแพร่อีเมลของลูกค้าโดยไม่ตั้งใจ แบบที่สอง การละเมิดความเป็นส่วนตัวจากหน่วยงานของรัฐ และแบบที่สาม การละเมิดความเป็นส่วนตัวระหว่างผู้ใช้บริการออนไลน์ด้วยกันเอง เช่น การถ่ายภาพบุคคลอื่น แล้วนำมาโพสต์โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือการส่งต่อภาพถ่ายส่วนตัวเพื่อกลั่นแกล้งหรือประจานผู้อื่น
จากกรณีข้างต้น ล้วนเป็นปัญหาที่สะท้อนว่าควรมีกฎหมายออกมาป้องปรามมากกว่าที่จะออกกฎหมายมา เพื่อปราบปราม สิ่งเหล่านี้คือปัญหาที่กระทบต่อสังคมแน่นอน เพียงแต่จะกระทบในมิติใด ผู้เขียนหวังว่าผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวจะนำมาตรการไม่ว่าจะ เป็นรูปแบบใดมาใช้อย่างจริงจังเพื่อให้สังคมไม่มีการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลจน เกินความพอดี และหน่วยงานของรัฐจะต้องมีนโยบายที่ชัดเจนในการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐไป ดำเนินการ ขออย่าให้เป็นเพียงความหวังเลยครับ
ที่มา: เว็บไซต์คมชัดลึก วันที่ 30 กันยายน 2556 www.komchadluek.net
โดยจุมพล ชื่นจิตต์ศิริ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์