กสท.เคาะ2ช่อง’ทีวีสาธารณะ

560911_news

บอร์ด กสท. เห็นชอบคุณสมบัติ 2 ช่องทีวีสาธารณะ ประเภท 2 “เพื่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยสาธารณะ” กรอบโฆษณา 10 นาทีต่อชั่วโมง

 

 

หลัง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ออกประกาศหลักเกณฑ์คุณสมบัติ “ทีวีสาธารณะ” ช่องแรก ลำดับที่ 10 “ช่องส่งเสริมและสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐกับประชาชน” หรือช่องรัฐสภา โดยเปิดรับฟังความเห็นสาธารณะไปเมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ล่าสุดได้จัดทำหลักเกณฑ์คุณสมบัติ ทีวีสาธารณะ ประเภท2 เพิ่มเติมอีก 2 ช่อง

 

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช.และประธานกรรมการกิจการกระจายสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่าบอร์ด กสท. “เห็นชอบ” คุณสมบัติผู้ขอใบอนุญาตทีวีดิจิทัล สาธารณะ ประเภท2 จำนวน 2 ช่อง คือลำดับช่องที่ 8 และช่องที่9 ซึ่งเป็นการพิจารณาคุณสมบัติจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องรวม 24 ฉบับ โดย “ช่อง8″ เพื่อความมั่นคงของรัฐ จะต้องเป็น “องค์กรของรัฐ” ที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านความมั่นคง

 

พร้อม กันนี้ได้กำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติม ช่องทีวีสาธารณะ เพื่อความปลอดภัยสาธารณะ ลำดับ “ช่อง9″ ประกอบด้วย 1.กระทรวง ทบวง กรม องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐที่ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ 2. สมาคม มูลนิธิ หรือนิติบุคคล ที่จัดตั้งตามกฎหมาย ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อความปลอดภัยสาธารณะ

 

ทั้ง นี้ ได้กำหนด “นิยาม” ของผู้มีคุณสมบัติขอใบอนุญาต “ทีวีเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ” ต้องมีหน้าที่ 5 องค์ประกอบคือ 1. ดูแลการกระทำผิดอาญาทั้งปวงต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน เสรีภาพ ชื่อเสียง ความสงบสุขของประชาชน ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม 2. การเดินทาง การจราจร การขนส่ง การติดต่อสื่อสารและสารสนเทศ การดำรงชีวิตประจำวัน 3. การทำงาน การประกอบอาชีพ อุตสาหกรรม สารเคมี สารพิษ หรือวัตถุอันตราย 4.ปัญหาสุขภาพ อนามัย อาหารและยา โรค โรคระบาดทั้งมนุษย์และสัตว์ แมลงและศัตรูพืช 5. อัคคีภัย วาตภัย ตลอดจนภัยพิบัติธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและอุบัติภัยทั้งปวง

 

กำหนดโฆษณา10นาทีต่อชั่วโมง

นอก จากนี้ได้กำหนดให้ “ช่อง 9″ เพื่อความปลอดภัยสาธารณะ ออกอากาศรายการที่กำหนดไว้ในนิยามของผู้มีคุณสมบัติดังกล่าวไม่น้อยกว่า 70% โดยกำหนดให้ ช่องความปลอดภัยสาธารณะ หารายได้จากโฆษณาเชิงพาณิชย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมกันชั่วโมงละไม่เกิน 10 นาที และเมื่อรวมเวลาออกอากาศทั้งวันไม่เกิน 8 นาทีต่อชั่วโมง

 

“การ กำหนดเวลาโฆษณาทีวีสาธารณะ ประเภท2 ที่ชั่วโมงละ 10 นาที ให้หลักเกณฑ์พิจารณาจากช่องฟรีทีวี ปัจจุบันโฆษณาได้ชั่วโมงละ 12 นาที และเพย์ทีวี ชั่วโมงละ 6 นาที โดยช่องทีวีสาธารณะ อยู่ตรงการระหว่าง2 ประเภททีวีดังกล่าว” พ.อ.นที กล่าว

 

ทั้ง นี้ การหารายได้ทีวีสาธารณะประเภท 2 จากโฆษณาเชิงพาณิชย์ จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ตามพ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 คือ ต้องหารายได้แบบพอเพียง และไม่แสวงหากำไร

 

ดัง นั้นกำหนดให้ช่องทีวีสาธารณะประเภท 2 จะต้องส่งบัญชีผลประกอบการให้ กสทช.พิจารณาทุกปี และมีการพิจารณาปรับเงื่อนไขหลักเกณฑ์การดำเนินช่องทีวีสาธารณะ ประเภท2 ทุก 3 ปี ดังนั้นหากช่องทีวีสาธารณะ ประเภท2 มีรายได้จากโฆษณาในอัตราสูง กสทช.จะปรับ “ลด” เวลาโฆษณาลง

 

ขั้น ตอนหลังจากนี้จะจัดทำประกาศหลักเกณฑ์การขอใบอนุญาต ทีวีสาธารณะ เพื่อความปลอดภัย ช่อง 9 ในเดือน ต.ค.นี้ เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ หลังจากนั้นจะสรุปเนื้อหาประกาศในไตรมาสแรกปีหน้า และเปิดให้ผู้มีคุณสมบัติมายื่นขอใบอนุญาตในไตรมาส2 ปีหน้า

ตั้งคณะทำงาน4ชุดดูแลประมูล

 

กสทช.ได้ เปิดจำหน่ายซองประมูลทีวีดิจิทัล ประเภทธุรกิจ 24 ช่อง ระหว่างวันที่ 10-12 ก.ย.นี้ ระหว่างเวลา 9.30-16.00 น. โดยขายซองวันนี้ (10 ก.ย.) เป็นวันแรก ทั้งนี้ เพื่อให้กระบวนการต่างๆ มีความชัดเจน สำนักงาน กสทช.ได้ตั้งคณะทำงาน 4 ชุด เพื่อดูแลการประมูล ได้แก่ คณะทำงานจำหน่ายเอกสาร ดูแลอำนวยความสะดวกสถานที่จัดประมูล 2.คณะทำงานรับแบบคำขอเข้าร่วมประมูล 3.คณะทำงานพิจารณาผลการตรวจคุณสมบัติ ผู้ยื่นซองเข้าร่วมประมูล และ 4.คณะทำงานเตรียมการประมูล โดยทั้ง 4 คณะ มีระยะเวลาทำงานไม่เกิน 6 เดือน มีผลตั้งแต่วันที่ตั้งแต่ 4 ก.ย.เป็นต้นไป

 

สำหรับ ขั้นตอนการขายเอกสารประมูลระหว่างวันที่ 10-12 ก.ย.นี้ เชื่อว่าจะมีผู้ประกอบการสนใจซื้อซองมากกว่าจำนวนช่องที่จะจัดประมูลรวมที่ 24 ช่อง โดยผู้ประกอบการสามารถซื้อซองประมูล “จำนวนกี่ซองก็ได้” ราคาซองละ 1.07 ล้านบาท ทั้งนี้ นิติบุคคลที่มาซื้อซอง จะต้องเป็นบริษัทเดียวกับที่ยื่นซอง ภายใต้เงื่อนไขการประมูล บริษัทเดียวประมูลช่องรายการเต็มเพดาน 3 ช่อง โดยห้ามประมูลช่องเอชดีและข่าวคู่กัน เบื้องต้นคาดว่าจำนวนผู้ซื้อซองมากกว่า 30 ราย

 

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 10 ก.ย. 2556

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน