“Digital TV” สมบัติชาติ-ผลประโยชน์ประชาชน

อีกไม่นานประชาชนชาวไทยคงได้โบกมือลาสัญญาณโทรทัศน์เก่า หรือ "แบบอะนาล็อก" ซึ่งเป็น สัญญาณโทรทัศน์ที่เราใช้กันมานานจนคุ้นเคย เนื่องจากประเทศไทยเรามีโครงการจะก้าวเข้ามาสู่ยุคโทรทัศน์แบบดิจิตอล ซึ่งผู้บริโภคควรมีความรู้ในเรื่องต่างๆไว้บ้างในทุกบริบท เพื่อเป็นความรู้พื้นฐาน ตลอดจนการเตรียมการในการที่จะรับสัญญาณแบบใหม่นี้

ณ ขณะนี้บ้านเรามี คณะกรรมการ กิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และ กิจการโทรคมนาคม (กสทช.) เป็นผู้จัดการ และจัดสรรคลื่นความถี่ทั้งระบบ อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ และเป็นความคาดหวังใหม่ของสังคม โดยเฉพาะในส่วนของผู้บริโภค ที่ไม่ต้องการการถูกเอารัดเอาเปรียบจากภาคธุรกิจเหมือนอย่างในอดีตที่ผ่านมา นอกจากการควบ คุมกิจการในด้านนี้แล้ว ภารกิจที่สำคัญ อย่างหนึ่งก็คือ การให้ความรู้ความเข้า ใจเบื้องต้นกับผู้บริโภค เพื่อเตรียมความ พร้อมในการก้าวเข้าสู่ยุคทีวีดิจิตอลที่จะเดินเข้ามาหาเราในเร็วๆ นี้

เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการจัดเสวนาเรื่อง "Digital TV ขุมทรัพย์แสนล้าน ใครได้?" ที่ ห้องประชุมสภา อาคาร 10 ชั้น 6 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

"วิษณุ ตัณฑวิรุฬห์" ที่ปรึกษาคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่าปัจจุบันงบโฆษณา สื่อฟรีทีวี มีมูลค่ากว่า 6 หมื่นล้านบาท การจัดสรรคลื่นฟรีทีวีดิจิตอล ประเภทธุรกิจอีก 24 ช่อง ซึ่งมีใบอนุญาต 15 ปี มูลค่าของอุตสาหกรรมสื่อที่เกี่ยวข้องและเงินค่าโฆษณาจะมีมูลค่าสูงถึง 1 ล้านล้านบาท

กสทช.มีหน้าที่ในการออกแบบหลักเกณฑ์การประมูลอย่างรอบคอบ อีกทั้งหลักเกณฑ์ที่มีความสำคัญในการออกใบอนุญาต จะต้องนำไปสู่การทำประชาพิจารณ์ ตามมาตรา 28 ของ พ.ร.บ.กสทช. ในปี 2553 ด้วย ซึ่งบอร์ดกสทช. 5 คน ยังมีความคิดเห็นแตกต่าง หลากหลายในการกำหนดกรอบการให้ใบอนุญาต

โดยคณะอนุกรรมการส่งเสริมและกำกับการแข่งขัน เสนอให้ผู้ประกอบการ 1 ราย ประมูลได้ 2 ช่อง พร้อมเงื่อนไข ห้ามประมูลช่องข่าวและวาไรตี้คู่กัน ส่วนคณะอนุกรรมการดีเอสโอ เสนอให้ผู้ประกอบ การ 1 ราย ประมูลได้ 3 ช่อง ครบทุกประเภททั้งช่องเด็ก ข่าวและวาไรตี้

ซึ่งภายใต้กรอบการศึกษาของคณะอนุกรรมการส่งเสริมและกำกับการแข่งขัน เห็นว่า การเปลี่ยนสู่คลื่นความถี่ทีวีดิจิตอล ควรเพิ่มผู้ประกอบการทั้งรายกลางและราย เล็กให้มากที่สุด เพื่อกระจายการถือครองคลื่น และไม่ให้เกิดการครอบงำทางความคิด และเกิดการเปลี่ยนแปลงการนำเสนอสื่อที่จะสะท้อนมุมมองของสังคมอย่างแท้จริง จึงต้องส่งเสริมให้เกิดผู้เล่นที่หลากหลาย ต่างจากคลื่นความถี่โทรคมนาคมที่มองเรื่องความคุ้มค่าและมูลค่าทางการเงิน เป็นหลัก

"เทพชัย หย่อง" กรรมการผู้จัดการ บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มองว่าการจัดสรรคลื่นความถี่ ทีวีดิจิตอล ของ กสทช. มีที่มาจากแนวทางการปฏิรูป สื่อตั้งแต่รัฐธรรมนูญ ปีพ.ศ.2540 ที่ต้อง การให้มีการเรียกคืนคลื่นความถี่วิทยุและโทรทัศน์ ที่อยู่ในการดำเนินงานของหน่วย งานภาครัฐ และระบบสัมปทานที่ผู้ประกอบการที่มีอำนาจเพียงไม่กี่รายที่ได้ประโยชน์ เพื่อนำไปสู่กระบวนการจัดสรรคลื่น ความถี่ใหม่ ภายใต้ระบบใบอนุญาตที่มีระยะเวลาการประกอบกิจการ และก่อให้เกิดการเพิ่มจำนวนผู้เล่นที่หลากหลาย ทั้งผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดเล็ก ในช่องบริการสาธารณะ

นอกจากนี้ "เทพชัย หย่อง" ยังมีความเห็นเพิ่มเติมว่า กสทช. จะต้องมีหลักเกณฑ์การพิจารณาอย่างเหมาะสม ตามความจำเป็นของหน่วยงานที่ต้องใช้คลื่นความถี่ และรับฟังความคิดเห็นจากสังคม เพราะถึงแม้ กสทช. จะเป็นองค์กร อิสระ แต่ก็ไม่ควรเป็นอิสระจากสังคม เพราะการจัดสรรคลื่นความถี่ทีวีดิจิตอลจะเกิดขึ้นภายใต้การดำเนินงานของ กสทช. ชุดแรก ที่จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง ของ ภูมิทัศน์สื่อ และจะเกิดผลกระทบต่อสังคม โดยรวมทั้งประเทศ

ในขณะที่ "มานะ ตรีรยาภิวัฒน์" รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยนักวิชาการด้านวารสารศาสตร์ และเชี่ยวชาญด้าน New Media มีความเห็น ว่าการประมูลทีวีดิจิตอลที่จะเกิดขึ้นครั้งนี้ จะมีหน่วยงานรัฐที่เตรียมเข้ามาทำธุรกิจกับช่องทีวีบริการสาธารณะจำนวนมาก โดยทุกหน่วยงานต่างมีงบประชาสัมพันธ์สูงมาก ที่จะต้องจับตา เพราะอาจเป็นช่อง ทางที่จะเกิดการใช้งบประมาณที่ไม่ถูกต้อง และเกิดปัญหาคอร์รัปชั่นขึ้นได้ จึงต้องมีการจัดสรรให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง เพื่อให้เกิดการปฏิรูปสื่อไม่ให้ภาครัฐเข้ามา ผูกขาดในธุรกิจสื่อ เพื่อให้ประเทศไทยหลุด จากวังวนของการถูกครอบงำทางความคิด โดยการถูกจำกัดการเผยแพร่สื่อจากหน่วย งานรัฐ

สำหรับการประมูลช่องบริการธุรกิจ 24 ช่อง คาดการณ์ว่าจะมีผู้ประกอบการรายเดิมที่เป็นกลุ่มทุนใหญ่เข้ามาทั้งหมด (ช่อง 3 5 7 9) และกลุ่มทุนสื่อหนังสือพิมพ์ ส่วนผู้ประกอบการรายกลางและรายเล็กคงเข้ามาร่วมประมูลไม่ได้

ส่วนช่องบริการชุมชน 12 ช่องที่เปิดให้ขอใบอนุญาตนั้น คาดว่าจะเป็น กลุ่มนักการเมืองท้องถิ่น จะเข้ามาขอใบอนุญาตทั้งหมดจึงเป็นโจทย์ใหญ่ที่กสทช.จะต้องพิจารณาการออกหลัก เกณฑ์การเป็นเจ้าของคลื่นความถี่ โดยคำนึงถึงแนวทางการปฏิรูปสื่อ ที่กระจายความเป็นเจ้าของให้ผู้ประกอบการ รายกลางและรายเล็ก มีโอกาสเข้ามาประมูลใช้พื้นที่สื่ออย่างเท่าเทียมกัน

"ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง" รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหา วิทยาลัยหอการค้าไทย นักวิชาการด้าน นิติศาสตร์และเชี่ยวชาญด้านกฎหมายธุรกิจเทคโนโลยีและการสื่อสาร ได้กล่าว ถึงการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี ของทีวีดิจิตอลครั้งนี้ว่าไม่ใช่การเปลี่ยน แปลงทางเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ครั้งใหญ่ ซึ่งเมื่อธุรกิจโทรทัศน์ไทย เข้าสู่การ ให้ใบอนุญาตและประมูลแล้ว กสทช.จะต้องทำแผนการนำคลื่นความถี่อะนาล็อก จากหน่วยงานเดิมกลับมาบริหารงานและสร้างมูลค่าเพิ่มให้ประชาชน ตามหลักการสามารถนำไปใช้สำหรับคลื่น wireless broadband ได้ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน และแน่นอนว่าระบบอะนาล็อกจะสามารถปิดตัวลง เมื่อไหร่ เพราะขึ้นอยู่กับสัมปทาน และคาดว่าจะไม่สำเร็จใน 5 ปี

การดำเนินงานส่วนนนี้ กสทช. จำเป็นต้องพิจารณาวางกฎเกณฑ์ให้ชัดเจน เพราะการเปลี่ยนเป็นทีวีดิจิตอล จะเกิดประโยชน์ทั้งประชาชน ที่จะมีทางเลือกในการรับชมมากขึ้น รวมถึงคุณภาพ ความสะดวกที่ดีขึ้น รวมถึงประโยชน์ต่อผู้ประกอบการที่จะเพิ่มช่อง ทางการทำธุรกิจ และมีระบบโครงสร้าง ที่ทันสมัย รวมถึงในแง่เศรษฐศาสตร์ที่จะสร้างผลกำไรให้องค์กร โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เดิมและมีช่องทาง การเผยแพร่มากขึ้น

จริงอยู่ที่ว่าตัวเลขแสนล้านเป็นเพียงตัวเลขประเมินที่ยังไม่ได้เป็นผลตอบ แทนที่แท้จริง แต่เราต้องยอมรับว่าเรามีประสบการณ์จากการประมูลค่าสัมปทานคลื่นความถี่มา หลายรอบแล้ว ทั้ง 3G หรือ broadcast ซึ่งอยู่ในอำนาจของกสทช.ทั้งสิ้น สำหรับเรื่อง ของ Digital TV จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลก ที่จะต้องถูกจับตาจากสังคม เพราะคลื่น ความถี่ถือเป็นสมบัติของชาติ และผลประโยชน์ของประชาชน เราจึงควรต้องช่วยกันเฝ้าระวัง

"อ.ปิยะบุตร" ได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า "dividend" หรือการปัน ผลเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นในเชิงธุรกิจ การกินรวบก็ไม่ใช่ว่าไม่มี แต่เกิดจากการแข่งขันในเชิงการค้า ส่วนประเทศไทยการกินรวบเกิดจาก..สัมปทาน!!!

นสพ.สยามธุรกิจ
ประจำวันที่ 6 มี.ค. 2556 ถึง 8 มี.ค. 2556

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน