หลังการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 2.1 GHz เพื่อให้บริการ 3G ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 16 ต.ค.ที่ผ่านมา ด้วยการเคาะราคาเพียง 7 รอบ และสลอตคลื่น 6 ใน 9 ที่นำมาประมูล ราคาไม่ได้ขยับขึ้นจากราคาต้น (4,500 ล้านบาท) แม้แต่น้อย
สิ้น สุดการประมูล ราคาที่ได้จึงสูงกว่าราคาตั้งต้นแค่ 2.7% จึงไม่น่าแปลกที่ "กสทช." จะโดนกระแสกดดันจากรอบทิศทางด้วยเหตุที่ว่า กระบวนการประมูลไม่ก่อให้เกิดการแข่งขัน ทำให้รัฐเสียประโยชน์มหาศาล
นัก วิชาการจากหลายสำนักออกมาวิพากษ์อย่างเผ็ดร้อน มีการรวบรวมรายชื่อโดยเครือข่ายภาคประชาชนสารพัดกลุ่ม เพื่อยื่นเรื่องให้วุฒิสภาถอดถอน 11 กสทช.ออกจากตำแหน่ง รวมไปถึงการเดินหน้าตรวจสอบการทำงานของ กสทช.
แทบ เรียกว่าจากคณะกรรมาธิการวุฒิสภาทุกคณะที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ไปจนถึงสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปรามปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ผู้ตรวจการแผ่นดิน รัฐสภา ทำให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) โต้โผหลักในการจัดประมูลต้องเดินสายรายวัน มอบเอกสารชี้แจงและให้ถ้อยคำเพิ่มกับคณะกรรมาธิการ ป.ป.ช. และผู้ตรวจการแผ่นดิน รัฐสภา
"พ.อ.เศรษฐ พงค์ มะลิสุวรรณ" ประธาน กทค. ระบุว่า การเข้ายื่นเอกสารเพิ่มเติมเพื่อแสดงถึงความพร้อมของ กทค. ในการให้ทุกหน่วยงานตรวจสอบการประมูล ซึ่งการเรียกไปชี้แจงข้อมูลส่วนใหญ่เน้นว่า การประมูลนี้เข้าข่าย พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 หรือ พ.ร.บ.ฮั้วหรือไม่ โดยเฉพาะการที่ผู้ประกอบการเอกชนไม่เคาะราคาเพิ่มเลย หรือการตั้งราคาตั้งต้นต่ำเกินไปหรือไม่ แต่ตนขอยืนยันว่าทุกอย่างดำเนินไปตามขั้นตอนและกรอบของกฎหมาย
ขณะ ที่สถานการณ์เริ่มกดดัน น่าแปลกที่จุดยืน "กสทช." ที่เคยแข็งขันกลับเปลี่ยนไป "ฐากร ตัณฑสิทธิ์" เลขาธิการ กสทช. เคยประกาศในวันรับรองผลการประมูล (18 ส.ค. 2555) ว่า จะเร่งดำเนินการออกใบอนุญาตประกอบกิจการให้ผู้ชนะประมูลในทันที เมื่อผู้ชนะชำระค่าประมูลงวดแรก 50% เรียบร้อยแล้ว โดยสำนักงาน กสทช.จะทำเรื่องเข้าที่ประชุมบอร์ด กทค. เพื่อพิจารณาออกใบอนุญาตให้ภายใน 7 วัน
หลัง โดนวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก 22 ต.ค.ที่ผ่านมา "กทค." ลดกระแสด้วยการออกแถลงการณ์ประกาศเจตนารมณ์คุ้มครองผู้บริโภค ด้วยการกำหนดเงื่อนไขในการรับใบอนุญาตแก่ผู้ที่ยอมลดราคาค่าบริการลง 15-20% จากปัจจุบัน รวมถึงมีแผนรับผิดชอบต่อสังคม และแผนคุ้มครองผู้บริโภคเท่านั้น พร้อมตั้งคณะทำงานตรวจสอบพฤติกรรมการเคาะราคาของผู้เข้าร่วมประมูลด้วย โดยดึง "สุวิจักขณ์ นาควัชระชัย" เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมาเป็นประธาน คาดว่าจะใช้เวลา 15 วันในการตรวจสอบ
ล่า สุด 30 ต.ค. เลขาธิการ "กสทช." ประกาศชัดอีกครั้งว่า การออกใบอนุญาตให้ผู้ชนะประมูลทั้ง 3 ราย ต้องรอให้คณะทำงานตรวจสอบพฤติกรรมการเคาะราคาของทุกรายเสร็จสิ้น และได้แจ้งข้อสรุปให้สำนักงาน กสทช.ทราบ เพื่อเสนอให้ที่ประชุม กทค.พิจารณาพร้อมกันทั้ง 3 ราย กรอบเวลาทำงานของคณะทำงานจะสิ้นสุด 10 พ.ย.นี้ แต่ขอขยายเวลาเพิ่มได้อีก 15 วัน
"คณะ ทำงานตรวจสอบพฤติกรรมการเคาะราคาของสำนักงาน กสทช. เป็นการตั้งเพื่อตรวจสอบพฤติกรรมผู้เข้าประมูลว่าฮั้วกันหรือไม่ ประเด็นที่ต้องดูคือ การไม่เคาะราคา ผิด พ.ร.บ.ฮั้ว ผิดระเบียบพัสดุสำนักนายกรัฐมนตรีหรือไม่ การไม่เคาะเกิดขึ้นจากการฮั้วหรือไม่ ต้องเข้าใจว่า แม้การประมูลของ กสทช.จะไม่อยู่ภายใต้ระเบียบอี-ออกชั่นของคลังหรือสำนัก
นายกฯ แต่ต้องดูว่าการประมูลที่เกิดขึ้น
แม้ เงื่อนไขประมูลจะให้สิทธิ์ไม่ต้องเคาะราคาได้ แต่การกระทำดังกล่าวผิด พ.ร.บ.ฮั้ว ผิดระเบียบพัสดุหรือไม่ เป็นเรื่องที่เอกชนต้องรู้ เพราะเป็นกฎหมายที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว"
ส่วน เรื่องความถูกต้องของหลักเกณฑ์การประมูลที่ กสทช.ประกาศใช้ เป็นหน้าที่ของ ป.ป.ช.เป็นคนตรวจสอบ หากคณะทำงานตรวจสอบพฤติกรรมที่ กสทช.ตั้งขึ้นได้ข้อสรุปแล้ว "กสทช."จะส่งรายงานให้ ป.ป.ช.รับทราบด้วย
"การ ตั้งคณะทำงานตรวจสอบไม่ได้ตั้งขึ้นโดยมีธงผลสอบไว้อยู่แล้ว หากผลสอบออกมาเป็นด้านลบ ผมพร้อมเสนอให้ กทค. ยกเลิกการประมูล แต่หากผลออกมาเป็นด้านบวก ผมก็ขอสงวนสิทธิ์ที่จะเข้าไปตรวจสอบอีกครั้ง"
อย่าง ไรก็ตาม ยังต้องจับตาผลการพิจารณาเรื่องที่มีการร้องเรียนไปยัง "ผู้ตรวจการแผ่นดิน รัฐสภา" ด้วยว่าจะมีข้อสรุปอย่างไร โดย "ผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ" ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวว่า มีการร้องเรียนเกี่ยวกับการประมูล 3G ของ กสทช. ทั้งจากกลุ่มนายสุริยะใส กตะศิลา และกลุ่มอดีตสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.ทีโอที และกลุ่ม 10 ส.ว. นำโดยนายไพบูลย์ นิติตะวัน คาดว่าภายในสัปดาห์หน้าจะได้ข้อสรุปว่าจะส่งเรื่องต่อให้ศาลไต่สวนหรือไม่
สำหรับการออกใบอนุญาตให้ผู้ชนะประมูลได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของ กสทช.