โดย กสทช.ตั้งราคาเริ่มต้นไว้ที่ 4.5 พันล้านบาท โดยผู้ชนะการประมูล คือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เนทเวอร์ค จำกัด หรือ เอดับบลิวเอ็น ชนะการประมูลในราคา 1.46 หมื่นล้านบาท บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด และ บริษัท เรียลฟิวเจอร์ จำกัด ชนะการประมูล 1.35 หมื่นล้านบาท โดยได้รับใบอนุญาตตลอดระยะเวลา 15 ปี
อย่างไรก็ตาม "ฐานเศรษฐกิจ" ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ภายหลังบินตรงจากกรุงเทพฯมายังประเทศญี่ปุ่น (เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2555 ที่ผ่านมา) เพื่อพบปะสื่อมวลชน เนื่องจากสื่อมวลชนกว่า 15 ฉบับได้รับเชิญจากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ไปดูเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ 4 จีในประเทศญี่ปุ่น และ รัฐมนตรีไอซีที ได้เป็นแขกรับเชิญในงานนี้ด้วย ติดตามบทสัมภาษณ์ได้ในบรรทัดถัดจากนี้!!
**คิดอย่างไรกับการประมูล 3 จี ของ กสทช.
ก็น่าจะเรียบร้อยเพราะว่าคนที่ดำเนินการในเรื่องนี้ (หมายถึง กสทช.) เหมือนเป็นประเด็นเรื่องที่เป็นสปอตไลต์คนที่ได้รับมอบหมายก็ต้องถูกกดดัน และก็กลัวถูกตรวจสอบแต่ขึ้นอยู่กับมิติไหนเท่านั้นหาก กสทช. เปลี่ยนสูตรการประมูลแบ่งคลื่นความถี่เป็น 10-15-20 เมกะเฮิรตซ์ (จากคลื่นความถี่มีทั้งหมด 45 เมกะเฮิรตซ์) ก็โดนถูกหยิบยกเป็นประเด็นอีกเช่นเดียวกัน ดังนั้นหยิบยกประเด็นไหน กสทช. ก็ถูกโจมตี ถ้าหากมีการมองข้อเสียอย่างเดียว แต่ทุกอย่างต้องมองภาพโดยรวม และ ภาพหลัก สุดท้ายสิ่งที่ กสทช. ต้องพูดมากที่สุดแต่กลับไปพูดน้อยจนเกินไปนั่นก็คือ เรื่องอัตราค่าบริการ ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี เป็นสิ่งที่ กสทช.ต้องพูดออกสื่อให้มากที่สุด เพราะอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในขณะนี้อยู่ในอัตรา 899 บาทต่อเดือน เพราะฉะนั้นถ้าวันนี้บอกว่าปรับอัตราค่าบริการลดลงมา 15 และ 20% มองเห็นว่าปลายน้ำ หมายถึง ผู้บริโภค คือ ใช้บริการที่ถูกลงก็จบ เงินที่บอกว่ารัฐเสียประโยชน์ก็ไม่ได้เสียคือไปรับภาระให้กับผู้ใช้บริการ แทน
** แต่ กสทช.ไม่พูดเรื่องนี้
เพราะฉะนั้น กสทช. ต้องพูดเรื่องอัตราค่าบริการให้มากกว่านี้ ถ้าหากหยิบเรื่องกระบวนการ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่กิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทร คมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา ก็ถือว่าเป็นแนวทางที่ให้ กสทช.นำไปปฏิบัติตามแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม เพราะกระบวนการหรือขั้นตอนต่าง ๆ ใน พ.ร.บ.กำหนดให้มีการทำประชาพิจารณ์ และ กระบวนการประมูลก็ชัดเจน ถ้า กสทช. เป็นหน่วยงานรัฐบาลก็ต้องทำ อี-ออกชัน เป็นไปตามระเบียบพัสดุ หรือเป็นไปตามระเบียบเป็นสำนักนายกรัฐมนตรี ถ้าหากไม่ใช่ก็ต้องอธิบายเหตุผลว่าเพราะอะไร การประมูลแบบ อี-ออกชันของรัฐบาลเป็นการประมูลโดยมีการตั้งราคากลางผู้ประมูลเสนอเงื่อนไข ถูกสุดก็ได้งานไป แต่ว่า อี-ออกชัน ของ กสทช. ตรงกันข้ามผู้ประมูลขอถูกสุด แต่ความเห็นคนทั่วไปการประมูลอี-ออกชัน ของ กสทช.ต้องการราคาแพงสุด ซึ่งความจริงไม่ได้เป็นคำตอบที่ราคาต้องแพงสุด
**ทำไมไม่ต้องการราคาแพง
สิ่งเหล่านี้จะย้อนกลับไป คือ เรื่องต้นทุน เพราะสุดท้ายปลายน้ำประชาชนผู้ใช้บริการ 3 จี และ ให้บริการได้เต็มคุณภาพจะได้ใช้ค่าบริการในราคาเท่าไหร่
** แต่ค่าบริการไม่ถูก
ก็ กสทช.ก็พูดไปแล้วว่าจะปรับลดอัตราค่าบริการลงมา 15%
*** แล้ว 3 จีของ ทีโอที กับ แคท ผลักดันอย่างไร
เรื่องของ ทีโอที 3 จี ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่เกิดขึ้น คือ การให้บริการ 3 จี ของ ทีโอที ในปัจจุบันตอบสนองเรื่องการให้บริการครบถ้วนหรือไม่อย่างไรก็ต้องตอบว่ายัง ไม่ครบถ้วนและได้แสดงความคิดเห็นหลายครั้ง
*** เพราะอะไร ทีโอที ถึงช้า
เนื่องจากการขยายเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี ของ ทีโอที คือ เป็นเรื่องของเฟสที่หนึ่ง ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเฟสที่หนึ่ง เพราะฉะนั้นวันนี้ กสทช.ได้ออกใบอนุญาตโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี ให้กับ 3 โอเปอเรเตอร์ไปแล้ว เราถือว่าสิ่งที่เราเดินไปก่อนหน้าโอเปอเรเตอร์ปกติของ ทีโอที เองมีความก้าวหน้าไประดับหนึ่งเราก็คิดถึงเรื่องการทำเครือข่ายระบบ 3 จีที่มีคุณภาพ เราไม่ผูกยึดติดอยู่ว่าการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี เราจะไม่พูดโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 จี เฟสที่สองแต่เราจะพูดถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่เฟสที่สอง
อย่างไรก็ตามเรื่องเทคโนโลยีจะเห็นว่าการให้บริการในเทคโนโลยีโทรศัพท์ เคลื่อนที่ระบบ 3 จี ในคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ยังมีการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4 จีในย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่ง ทีโอที สามารถให้บริการได้อยู่แล้ว
*** นั่งเก้าอี้ รมต.ไอซีที สมัยที่ 2 สานต่อนโยบายอย่างไร
สำหรับนโยบายนั้นต้องรอการแต่งตั้งบอร์ด ทีโอที เสียก่อนและจะให้นโยบาย ซึ่งโจทย์ในขณะนี้เราได้เตรียมการเอาไว้อยู่แล้วรอให้บอร์ดใหม่ แต่งตั้งให้แล้วเสร็จก่อน
** แต่รายได้สัมปทานต้องให้ กสทช.
ปีหน้ารายได้สัมปทานต้องส่งให้ กสทช. คือ ใครมองว่า ทีโอที สูญเสียสัมปทานและกลายเป็นจุดอ่อนต้องมองใหม่สักนิดหนึ่ง ทั้งทีโอทีและแคท สิ่งที่ 2 บริษัทมีอยู่น่าจะเป็นข้อได้เปรียบมากทีเดียวคือสิ่งที่เป็นโครงสร้างพื้น ฐาน ถ้า ตั้งคำถามง่าย ๆ คือ การติดตั้งเสาโทรคมนาคมในโลเกชันเหมือนกันหมด แต่ความยากง่ายต่างกันหมด เพราะกฎหมายมีเงื่อนไขมีมากมายรวมไปถึงระยะเวลาและสภาพแวดล้อม การตั้งเสาไม่ใช่มีเงินแล้วตั้งได้ แต่ ทีโอที และ แคท เป็นรัฐวิสาหกิจการทำแบบลักษณะจีทูจี เสาโทรคมนาคมไม่ใช่เสาโทรศัพท์ เช่น สถานีตำรวจ ทุกตำบลมีสถานีตำรวจและทุกตำบลมีเสาสัญญาณ ถ้า ทีโอที ใช้ศักยภาพในการบริหารจัดการเรื่องโครงสร้างพื้นฐานของรัฐที่เข้าตาม พ.ร.บ.กสทช.ด้วยวิธีการแชร์โครงข่ายใช้ร่วมกันได้เราได้เปรียบเอกชน เพราะเอกชนต้องดูสถานที่ และทำประชาพิจารณ์
*** แต่ซีอีโอ ทีโอที ยังไม่มี
ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการบอร์ด ทีโอที นโยบายการปรับแผน ครั้งนี้วางวัตถุประสงค์ไว้แล้วการเปลี่ยนบอร์ดก็เป็นเรื่องของนโยบาย คือ ในวันนี้ต้องเร่งเรื่องการขยายเครือข่ายในเฟสที่สอง วันนี้ ทีโอที มีธุรกิจ 3 ก้อนใหญ่ ก้อนที่หนึ่ง คือ ระบบโทรศัพท์พื้นฐาน และ บรอดแบนด์ (อินเตอร์เน็ต) ซึ่งทำกำไรให้เห็นชัด ๆ แต่อีกก้อนหนึ่งที่กินเลือดและไหลอยู่ คือ ก้อนโมบาย แต่ผมยืนยันว่าไม่มีใครทำโมบายแล้วขาดทุน
*** แต่ทีโอทีและแคทขาดทุน
แต่ผมจะทำให้ได้กำไรในสมัยผมนี้แหละ แต่เฟสที่หนึ่งต้องเร่งให้เสร็จภายในสิ้นปี 2555 แต่วันนี้อะไรที่เป็นปัญหาอุปสรรคต้องปลดล็อกให้เสร็จภายในสิ้นปี รอให้บอร์ด ทีโอที แต่งตั้งอย่างเป็นทางการก่อนผมจะเน้น ทีโอที เรื่องของบรอดแบนด์ และ ฟิกซ์ไลน์ด้วย
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,788 วันที่ 1-3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555