องค์กรผู้บริโภคต้าน“ฮั้ว”ประมูล 3G

ปิดเวทีรับฟังความเห็นสาธารณะ 3 จี ครั้งที่ 2 ระอุแดด ตัวแทนองค์กรเครือข่ายประชาชนโผล่ป่วนเวทีประชาพิจารณ์แทบล่ม  เอ็นจีโอบุกป่วนผู้บริหารทีโอที-กสทหายหัว ....

เปิดเวทีรับฟัง ความเห็นสาธารณะ 3 จี ครั้งที่ 2 ระอุแดด ตัวแทนองค์กรเครือข่ายประชาชนโผล่ป่วนเวทีประชาพิจารณ์แทบล่ม ด้านค่ายมือถือกลัวตกขบวนลุ้น กทช. เดินหน้าเต็มพิกัด ขณะ 2 หน่วยงานรัฐ"ทีโอที-กสท" กลับไร้เงาผู้บริหารเข้าร่วม

ผู้สื่อ ข่าวรายงานจากศูนย์การประชุมแห่งชาติ สิริกิติ์ วานนี้ (12 พ.ย.) คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ได้จัดประชุมรับฟังความเห็นสาธารณะต่อร่างสรุปข้อสนเทศ (Draft Informa' tion Memoradum) การจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 (IMT หรือ 3G and beyond) ครั้งที่ 2 โดยผู้มีสนใจเข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นกว่า 100 คน โดย พล.อ.ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ ประธาน กทช. กล่าวว่า การเปิดรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ กทช.จะรับข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นจากที่ประชุมไปพิจารณาประกอบการออกใบ อนุญาต 3 จี อย่างไร ก็ตาม ขอยืนยันว่าการดำเนินการออกใบอนุญาต 3 จี กทช.ได้ดำเนินการตามขั้นตอนมาตั้งแต่ปี 48 ไม่ได้ รวบรัดขั้นตอนแต่อย่างใด เพราะ กทช.ก็ต้องทำงานภายใต้กฎหมายและรัฐธรรมนูญปี 50 เช่นกัน ซึ่งคาดว่าไม่เกินไตรมาสแรกของปี 53 น่าจะเปิดประมูลได้

นายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร เลขาธิการ กทช. กล่าวว่า ในการรับฟังความเห็นสาธารณะครั้งนี้ได้นำประเด็นที่ ครม.เศรษฐกิจตั้งข้อสังเกตมารวมไว้ในการรับฟังความเห็นด้วย เช่นการกำหนดมูลค่าขั้นต้น ราคาเริ่มประมูล เงื่อนไขการประมูลและการอนุญาต การโอนลูกค้าจาก 2 จีไป 3 จี และการกำหนดเงื่อนไขสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับสัญญาร่วมการงานภายใต้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จะเข้าร่วมประมูลได้หรือไม่ การกำหนดอัตราค่าบริการ เป็นต้น 

ต่อมาเมื่อเวลา 11.00 น. กทช.ได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นโดยนายอนันต์ วรธิติพงศ์ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ได้กล่าวสนับสนุนการออกใบอนุญาต 3 จีของ กทช. เพราะจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและทำให้มีธุรกิจต่อเนื่องในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม อย่างมากมาย พร้อมยกตัวอย่างการก่อสร้างรถไฟฟ้าบีทีเอสของกรุงเทพมหานครตัดสินใจเดินหน้า โครงการโดยไม่สนใจรัฐบาล ทำให้คนไทยสะดวกสบาย ดังนั้น กทช.ก็ควรจะเดินหน้าประมูลใบอนุญาต 3 จี ตามขั้นตอนที่ถูกต้อง

หลัง นายอนันต์กล่าวจบได้มีตัวแทนองค์กรเครือข่ายภาคประชาชนลุกขึ้นพูดแสดงความคิดเห็น แต่ กทช.แจ้งว่าขอให้เป็นไปตามคิวแต่ทางตัวแทนองค์กรเครือข่ายภาคประชาชนไม่ ยินยอมยังคงดึงดันที่จะแสดงความคิดเห็นจนทางทีมงาน กทช.ต้องปิดไมโครโฟน ทางตัวแทนองค์กรเครือข่ายกว่า 10 คนจึงลุกฮือพร้อมถือป้ายโจมตี กทช.เดินไปทั่วห้องสัมมนา สร้างความปั่นป่วนให้กับเวทีประชาพิจารณ์ ไปชั่วขณะ

นายสมเกียรติ ตั้งกิจวาณิช รองประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ไม่เข้าใจว่า กทช.จะเปิดประชาพิจารณ์ทำไมเพราะหัวข้อและประเด็นยังไม่ชัดเจน โดยเฉพาะโครงสร้างตลาดโทรคมนาคมไม่ชัดเจน ดังนั้น ควรไปทำโครงสร้างตลาดโทรคมนาคมให้ชัดเจน แล้วนำมาประชาพิจารณ์อีกครั้ง "ยอมรับว่าสิ่งที่ดีสำหรับไทยคือการแปรสัญญาสัมปทานแต่เป็นเรื่องยาก ดังนั้น การเปิดประมูลใบอนุญาต 3 จี จึงเป็นทางเลือก แต่ควรจะทยอยเปิดประมูลเพื่อให้เกิดการแข่งขัน และ กทช.ต้องทำโครงสร้างการตลาดให้ ชัดเจน"

ในส่วนของภาคเอกชน นายสมประสงค์ บุญยะชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เรียกร้องให้การเปิดประมูล 3 จีเกิดขึ้นโดยเร็วเพราะยืดเยื้อมาหลายปีแล้ว และขณะนี้มีกว่า 100 ประเทศทั่วโลกต่างมีโอกาสใช้ 3 จีกันแล้ว การผลิตอุปกรณ์และเทคโนโลยีโทรคมนาคมทั้งหมด ก็ผลิตเพื่อรองรับ 3 จีกันหมดแล้ว หากเรายังคงยึดอยู่กับ 2 จีอยู่ก็เป็นตัดโอกาสในการใช้ เทคโนโลยีของตัวเอง

"ประเด็นที่มองกันว่าเอกชนจะได้ครอบครองคลื่น ความถี่หลังได้ใบอนุญาตไปแล้วนั้น อยากให้ มองว่าการประมูลไม่ใช่การขายใบอนุญาตเพื่อให้ได้ สิทธิ์นำคลื่นความถี่ไปสร้างประโยชน์ ซึ่งรัฐจะได้ รายได้และเป็นกลไกเสริมสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจ ส่วนเรื่องการแปรสัญญาสัมปทานส่วนตัวเห็นว่าเป็นคนละเรื่องกับการเปิดประมูล ใบอนุญาต 3 จี ถ้าเอามาผูกกันไม่มีทางทำสำเร็จ"

ส่วนนายทอเร่ จอห์นเซ่น ประธานเจ้าหน้าที่ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า ดีแทคและผู้ถือหุ้นยืนยันจุดยืน ที่ว่าอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงบนเทคโนโลยี 3 จีจะเป็นอนาคตของดีแทค ก็อยากให้ กทช.ออกกฎระเบียบอย่างเสรีและเป็นธรรมตั้งแต่เริ่มต้น และดีแทคยืนยันว่าใบอนุญาต 3 จี ที่จะได้มาอยู่ภายใต้การแข่งขันที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศไทย และขอให้ประเทศไทยโชคดีที่จะฉวยโอกาสนี้ไว้ เพราะจะเป็นโอกาสการลงทุนครั้งใหญ่ที่จะช่วยกระตุ้น เศรษฐกิจในประเทศอย่างแน่นอน ไม่ใช่แค่อุตสาหกรรม โทรคมนาคมเท่านั้น แต่ทุกกลุ่มได้รับประโยชน์เช่นเดียวกัน

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เห็นด้วยกับแนวคิดที่จะให้มีการแปรสัญญาสัมปทานควบคู่ไปกับการเปิดประมูลใบ อนุญาต 3 จี โดยหลังจากแปรสัญญาสัมปทานแล้ว เอกชนอาจจ่ายค่าเช่าใช้โครงข่ายเป็นผลตอบแทน ทำให้รัฐวิสาหกิจ จะยังคงมีรายได้อยู่

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่าการรับฟังความ คิดเห็นครั้งนี้มีการตั้งข้อสังเกตว่าผู้บริหารทีโอทีและกสท ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการเปิดประมูลใบอนุญาต 3 จี กลับไม่ได้มาแสดงความคิดเห็น แต่เป็นเพียงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น.

ข้อมูลจาก นสพ.ไทยรัฐ 13/11/52

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน