โครงการมายกก-ถ่านหิน หรือมายกรรมของชาวบ้าน

" ทำไมการขนถ่านหินจากชายแดนไทย-พม่า ซึ่งมีการขนจากภาคเหนือไปยังจ.สระบุรี ทำไมต้องขนส่งในระยะทางที่ไกล อีกทั้งโครงการขนถ่านหินดังกล่าวทำลายทรัพยากรและสุขภาพของประชาชนมาก มายมหาศาล"

กระบวนการจัดทำแผนพีดีพี(PDP) 2010 หรือแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า เป็นประเด็นทางสังคมที่ต้องหันมองกันถ้วนหน้า เมื่อการจัดทำแผนพีดีพี ภายใต้การทำงานของคณะอนุกรรมาธิการทบทวนแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า ที่ถูกสังคมตรวจสอบอย่างหนัก เนื่องจากความน่าเชื่อถือจากการคาดการณ์ความต้องการไฟฟ้าที่มีสูงมากเกิน จริง และรัฐบาลไทยยังให้ความสนใจกับพลังงานหมุนเวียน อย่างพลังงานจากแสงอาทิตย์ พลังงานจากลม ที่มีความมั่นคง และสะอาด ในสัดส่วนที่น้อยมาก

ล่า สุด กระทรวงพลังงานประกาศจัดทำแผนพีดีพี 2010 ซึ่งร่างแผนพีดีพี 2010 โดยมีการอนุมัติโครงการพลังงานขนาดใหญ่ แบ่งเป็นโรงไฟฟ้าเอกชน (IPP) 4 โรง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เสนอจาก 4 โรงเป็น 5 โรง โรงละ 1,000 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าถ่านหินอีก 13 โรง โรงละ 800 เมกะวัตต์  อีกทั้ง 1 ใน 13 โรง ยังมีโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินมาย-กก หากมองย้อนกลับไปพร้อมกับคำถามที่ว่า "ทำไมถึงเกิดโครงการใหญ่ยักษ์เหล่านี้ขึ้นมาได้"  สืบ เนื่องจากรัฐบาลไทยและรัฐบาลสหภาพพม่า ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2540 ที่จะรับซื้อไฟฟ้าจากสหภาพพม่าในปริมาณกว่า 1,500 เมกะวัตต์ ภายในปี 2553 และเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2552 คณะอนุกรรมการประสานความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้าระหว่างไทยกับประเทศเพื่อน บ้าน ได้ร่างบันทึกความเข้าใจการรับซื้อไฟฟ้า (Tariff MOU) โครงการมาย-กก  โดยบริษัท อิตาเลียนไทย เพาเวอร์ จำกัด (IPC) และผู้ร่วมลงทุนรายอื่น เป็นผู้พัฒนาโครงการมาย- กก ซึ่งตั้งอยู่ที่รัฐฉาน ประเทศพม่า อยู่ห่างจากชายแดนไทย อ.แม่สาย จ.เชียงราย ประมาณ 80 กิโลเมตร และโครงการดังกล่าวเป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนในบริเวณปากเหมือง มีการใช้ถ่านหินลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิง

ทั้งนี้การร่าง Tariff MOU มี การทำข้อตกลงระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กับบริษัท อิตาเลียนไทย เพาเวอร์ จำกัด และผู้ร่วมลงทุนรายอื่น โดยจัดตั้งบริษัทและเจรจากับพม่าเพื่อให้สัมปทานพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าดัง กล่าว โดยสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจะมีอายุ 25 ปี ทั้งนี้หากผู้ร่วมทุน มีการดำเนินโครงการ จะต้องขออนุมัติและดำเนินโครงการต่าง ๆ โดยจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม EIA และ SIA การประเมินผลกระทบทางสังคม ประกอบการดำเนินการโครงการอีกด้วย

กรณีการทำข้อตกลงระหว่างไทยกับพม่าเป็นผลเปิดช่องทางให้กับบริษัทเอกชนในหลาย ๆ แห่ง เพื่อดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลประโยชน์  แม้กระทั่งการขนถ่านหินจากฝั่งพม่าเข้าสู่ไทย เพื่อป้อนให้กับบริษัทที่ใช้เชื้อเพลิงจากถ่านหิน  ล่า สุด ประเด็นร้อนในพื้นที่จ.เชียงราย ชาวบ้านทราบข่าวการเตรียมขนถ่านหินลิกไนต์เข้าไทย โดยผ่านพื้นที่จ.เชียงรายไปยังจ.สระบุรี ภายใต้การดำเนินการของบริษัท สระบุรีถ่านหิน สร้างความวิตกกังวลต่อชาวบ้านในพื้นที่ ทว่ามีการขนถ่านหินมากกว่า 5,000 ตันผ่านพื้นที่ของชาวบ้าน  ทั้งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของคนในชุมชน

เมื่อ ต้นปี 2551 ที่ผ่านมา บริษัทสระบุรีถ่านหิน เข้าพบผู้ว่าราชการจ.เชียงราย ขอปรึกษาเรื่องการเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราว ในพื้นที่บ้านม้งเก้าหลัง ต.เทอดไท อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย เนื่องจากรัฐบาลทหารพม่าไม่ยินยอมให้ใช้เส้นทางผ่านด่านขี้เหล็ก  ทั้ง นี้บริษัทสระบุรีถ่านหิน ได้เซ็นสัญญาสัมปทานกับรัฐบาลพม่า มีระยะเวลาพัฒนาเหมือง 18 เดือน ระยะสัมปทานถ่านหินช่วงแรกกว่า 10 ปี ซึ่งจะต้องต่ออายุได้ครั้งละ 5 ปี และบริษัทฯ ได้วางแผนขนถ่านหินวันละ 5,000 ตัน ราวปีละ1.5 ล้านตัน ช่วงเดือนเมษายน 2551 บริษัทสระบุรีถ่านหิน ได้ทำหนังสือเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราว เพื่อนำเข้าถ่านหินจากประเทศพม่า จากนั้นผู้ว่าราชการจ.เชียงรายได้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาการเปิดจุดผ่านแดน ชั่วคราวเฉพาะราย เดือนกันยายน 2551 การประชุมคณะกรรมการพิจารณาการเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวเฉพาะราย กรณีบริษัทสระบุรีถ่านหิน จำกัด โดยมีนายบุญสม ศรีสุริยะชัย ปลัดจังหวัดเชียงรายเป็นประธานพร้อมคณะกรรมการ มีความเห็นว่า การสร้างเส้นทางของบริษัท จากจุดผ่านแดนชั่วคราว มายังบ้านปางมะหัน ไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ลุ่มน้ำชั้น 1A แต่ เมื่อเดือน ธันวาคม 2551 คณะกรรมการพิจารณาเปิดจุดผ่านแดน โดยนายถวิล เปลี่ยนศรี รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เป็นประธาน พร้อมคณะกรรมการได้ประชุมพิจารณาประเด็นเรื่อง แนวเขตแดน ปัญหากองกำลังชนกลุ่มน้อย ซึ่งในที่ประชุมสรุปความเห็นชอบเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวตามที่บริษัทสระบุรี ถ่านหินเสนอ และ ในเดือนมีนาคม 2553 ที่ผ่านมา โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินมาย-กก ถูกบรรจุในแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้า PDP 2010 ซึ่งกำหนดจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์เข้าระบบในปี 2559

ล่า สุด ชาวบ้านจ.เชียงราย คัดค้านโครงการขนถ่านหินของบริษัทสระบุรีถ่านหิน จำกัด ซึ่งทางบริษัทฯ ได้ทำเรื่องผ่านกระทรวงมหาดไทยไปยังสภาความมั่นคง ขอเปิดจุดผ่านแดนในการขนส่งถ่านหินในพม่าได้ 2 แปลง คือพื้นที่เมืองกก และพื้นที่ติดกับอ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี กรณีจ.เชียงราย จากเมืองกกมาชายแดน ใช้เส้นทางวิ่งรถหมายเลข 1 หน้ามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เพราะเป็นทางหลวงหลัก อีกทั้งการขนถ่านหินจากฝั่งพม่า ทางบริษัทได้ขอใช้เส้นทางผ่านบ้านม้งเก้าหลัง ทว่าพื้นที่เหล่านั้นเป็นย่านชุมชน สภาพถนนเล็กและเป็นภูเขา ไม่สะดวกต่อรถขนส่ง

สมพงษ์  เขมวงค์ รองนายกอบต.เทอดไท เล่าถึงความกังวลต่อโครงการกับประชาธรรมว่า ที่ผ่านมาการทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ทางบริษัทได้เข้ามาชี้แจงกับชาวบ้าน เรื่องที่มาที่ไปของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินและพูดเพียงข้อดีเท่านั้น ซึ่งชาวบ้านได้รับข้อมูลเพียงด้านเดียวเรื่อยมา  จาก การประชาคมหมู่บ้านเทอดไท ชาวบ้านทั้งหมดคัดค้านการเข้ามาดำเนินการขนถ่านหินของบริษัทเอกชน เนื่องจากการขนถ่านหินจากรัฐฉานเขตพม่า มาบรรจบเขตแนวชายแดนบริเวณด้านหลังหมู่บ้านเทอดไท จากนั้นเขาจะทำถนนอ้อมหมู่บ้านเทอดไท หมู่ที่1 และจะใช้ถนนร่วมกับชาวบ้านห้วยผึ้ง ซึ่งถนนที่จะตัดผ่านเป็นแหล่งน้ำของชาวบ้านใช้อยู่กว่า 80 เปอร์เซนต์ อีกทั้งชาวบ้านยังไม่เห็นถึงประโยชน์ที่ชาวบ้านจะได้รับจากโครงการดังกล่าว

อย่างไรก็ตามชาวบ้านกังวลถึงผลกระทบที่จะตามมา หากมีรถกว่า  200-300 คันมาวิ่งในหมู่บ้านเทอดไท อาจก่อให้เกิดปัญหาตามมา ทั้งด้านเศรษฐกิจการท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่จะมีการเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ  ด้านสุขภาพพลานามัย  และด้านความปลอดภัยในการเดินทาง

สมพงษ์ ยังกล่าวอีกว่า "ข้อเสนอของชาวบ้าน ต้องการให้ทางบริษัทขนถ่านหินจากรัฐฉานผ่านเส้นทางอื่น ไม่ต้องการให้มีการตัดถนนผ่านในพื้นที่เขต ต.เทอดไท  บ้านแม่สลองนอก  แม่สลองใน  และเขตอ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย อีกทั้งพื้นที่ยังไม่มีการทำ EIA และ SIA ที่ ชัดเจน และพื้นที่สร้างถนนยังกินบริเวณเขตป่าสงวนอีกด้วย ล่าสุด ทางอาจารย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้มีการประสานงานให้หลายกลุ่มที่เกี่ยว ข้องออกมาศึกษาข้อมูลและเหตุผล เพื่อใช้ในการคัดค้านโครงการโดยจะนำข้อมูลชี้แจงกับบริษัทเจ้าของโครงการต่อ ไป"

จุฑามาศ  ราชประสิทธิ์  ผู้ จัดการมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา จ.เชียงราย เปิดเผยกับประชาธรรมว่า โครงการขนส่งถ่านหิน เป็นโครงการที่บริษัทขนส่งถ่านหิน จะมีการขนจากฝั่งพม่า รัฐฉาน เข้ามาในประเทศไทย ผ่านเขตชายแดนไทย-พม่า และผ่านชุมชนไทยใหญ่ นอกจากนี้ยังผ่านเขตพื้นที่ป่าซึ่งเป็นป่าต้นน้ำ และพื้นที่ดังกล่าวยังไม่มีการสร้างถนน แต่ทางบริษัทต้องการก่อสร้างถนน โดยตัดถนนใหม่ในพื้นที่ดังกล่าว เป็นระยะทาง 4 ก.ม. ระหว่างชายแดนไทย-พม่า ทั้งนี้ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรป่าไม้ในประเทศไทยอย่างมหาศาล

ล่า สุดทาง สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ได้พิจารณาอนุมัติโครงการดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว และมอบหมายให้หน่วยงานในพื้นที่เป็นผู้พิจารณา และดำเนินการจัดทำรายงานความคิดเห็น จากชาวบ้านในพื้นที่ว่า เห็นด้วยหรือไม่ ซึ่งทางชาวบ้านในพื้นที่นั้นได้ทำประชาพิจารณ์ ร้อยละ 90 เป็นผลชาวบ้านในหมู่บ้านไม่เห็นด้วยที่จะให้บริษัทสระบุรีถ่านหิน ขนถ่านหินผ่านเส้นทางชุมชน

เมื่อ วันที่ 17 ก.ค. 53 ที่ผ่านมา ทางหน่วยงานพัฒนาทั้งภาครัฐ เอกชน ชาวบ้าน และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ได้จัดประชุมพูดคุย ปรึกษาหารือกัน เพื่อนำข้อมูลเสนอไปยังจังหวัดเชียงราย โดยให้ยุติโครงการขนส่งถ่านหินลิกส์ไนต์ผ่านจ.เชียงราย  ซึ่ง ข้อเสนอทั้งหมดเราได้ยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายเรียบร้อยแล้ว และยังไม่มีความคืบหน้าจากทางจังหวัดเชียงรายว่าจะดำเนินการอย่างไร

"เรา ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่า ทำไมการขนถ่านหินจากชายแดนไทย-พม่า ซึ่งมีการขนจากภาคเหนือไปยังจ.สระบุรี ทำไมต้องขนส่งในระยะทางที่ไกล ซึ่งแต่เดิมบริษัทเอกชนก็ใช้ถ่านหินที่นำเข้าจากอินโดนีเซียอยู่แล้ว ซึ่งถ่านหินที่นำเข้าจากอินโดนีเซียถูกนำไปกองไว้ที่จ.อยุธยา แต่ทางบริษัทอ้างว่าถ่านหินลิกส์ไนต์ที่ขนส่งจากฝั่งพม่านั้นมีคุณภาพสูง กว่าถ่านหินที่นำเข้าจากอินโดนีเซียที่ใช้อยุ่ในปัจจุบันนี้"จุฑามาศกล่าว

ผจก. พัฒนาชุมชนและเขตภูเขา กล่าวถึงผลกระทบที่ตามมาจากโครงการอีกว่า หากโครงการนี้มีการดำเนินการขนส่งถ่านหินเป็นผลสำเร็จ จะส่งผลทำให้เกิดเขม่าควันที่เป็นพิษจากลิกไนต์ระเหยสู่อากาศ สามารถทำลายชั้นบรรยากาศ ทำลายสภาพอากาศของจังหวัดเชียงราย ส่งผลกระทบให้ต้นไม้หรือทัศนียภาพสองข้างทาง และบ้านเรือนของชาวบ้านจะถูกปกคลุมด้วยเขม่าควันของถ่านหิน ขณะที่ดำเนินการขนถ่านหินผ่านระยะทางต่าง ๆ

อีก ทั้งการขนส่งถ่านหินดังกล่าว มีการใช้พื้นที่ในการกองแร่หรือพักถ่านหินไว้ในพื้นที่ ต.ป่าซาง อ.แม่จัน จ.เชียงราย ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวทางบริษัทได้ขอเช่าพื้นที่กว่า 300 ไร่  ห่างจากชุมชนเพียง 500 เมตรเท่านั้น  เป็นผลทำให้เกิดผลกระทบอย่างมหาศาล ทั้งคุณภาพชีวิต สุขภาพ ความปลอดภัยของชาวบ้านอำเภอแม่จันอีกด้วย.

 

วันที่ 30 ส.ค. 2553 เวลา : 10:25 น.

http://www.prachatham.com/detail.htm?code=r1_30082010_01

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน