“วรรณรัตน์” บี้ปตท.ตรวจซ่อมบำรุงท่อก๊าซธรรมชาติหลังมีปัญหาหยุดจ่ายก๊าซหลายครั้ง ป้องกันไม่ให้ขาดแคลน
นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบดูแลระบบท่อก๊าซธรรมชาติไม่ ให้มีปัญหาต่อระบบการจัดส่ง หลังเกิดเหตุหยุดจ่ายก๊าซในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาถึง 4 ครั้ง ซึ่งหากพบว่าจุดใดมีรอยรั่วก็ต้องรีบซ่อมแซมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา ก๊าซธรรมชาติขาดแคลน
“ปัญหาการหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติเป็นเรื่องของระบบท่อ ซึ่งได้สั่งให้เข้าไปตรวจสอบมากขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยง และไม่ต้องการให้เกิดปัญหาขาดแคลน กรณีของแหล่งบงกชได้รับการยืนยันจะปล่อยก๊าซเข้าระบบได้ในวันที่ 19 ต.ค. แน่นอน” นพ.วรรณรัตน์ กล่าว
สำหรับต้นทุนเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นจากการใช้น้ำมันเตาและดีเซลแทน ก๊าซธรรมชาตินั้น จะไม่ผลักภาระให้ประชาชนแน่นอน โดยฝ่ายจัดหาก๊าซธรรมชาติและผู้ผลิต ต้องเข้ามาร่วมกันรับผิดชอบ ซึ่งเรื่องนี้อยู่ระหว่างสอบสวนหาข้อเท็จจริงว่าใครจะรับภาระต้นทุนผลิต ไฟฟ้าที่เกิดขึ้น
นายเติมชัย บุนนาค ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายวางแผน บริษัท ปตท. กล่าวว่า ขณะนี้ปตท. กำลังเร่งดำเนินการซ่อมแซมท่อส่งก๊าซธรรมชาติที่เชื่อมมาจากแหล่งบงกชให้ แล้วเสร็จ ซึ่งต้องใช้เวลาเพราะรอสั่งอุปกรณ์ใหม่จากต่างประเทศ ขณะเดียวกันปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากท่อรั่ว แต่เกิดสึกกร่อนของท่อก๊าซที่อยู่ใต้ผิวซีเมนต์ที่เคลือบไว้ป้องกันไฟไหม้ ซึ่งถือเป็นจุดบอดของการตรวจสอบ เพราะเป็นเทคโนโลยีของผู้รับเหมาที่ใช้มาตั้งแต่เริ่มต้นเมื่อ 14 ปีที่แล้ว
“ปัญหาการหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติเป็นเรื่องของระบบท่อ ซึ่งได้สั่งให้เข้าไปตรวจสอบมากขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยง และไม่ต้องการให้เกิดปัญหาขาดแคลน กรณีของแหล่งบงกชได้รับการยืนยันจะปล่อยก๊าซเข้าระบบได้ในวันที่ 19 ต.ค. แน่นอน” นพ.วรรณรัตน์ กล่าว
สำหรับต้นทุนเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นจากการใช้น้ำมันเตาและดีเซลแทน ก๊าซธรรมชาตินั้น จะไม่ผลักภาระให้ประชาชนแน่นอน โดยฝ่ายจัดหาก๊าซธรรมชาติและผู้ผลิต ต้องเข้ามาร่วมกันรับผิดชอบ ซึ่งเรื่องนี้อยู่ระหว่างสอบสวนหาข้อเท็จจริงว่าใครจะรับภาระต้นทุนผลิต ไฟฟ้าที่เกิดขึ้น
นายเติมชัย บุนนาค ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายวางแผน บริษัท ปตท. กล่าวว่า ขณะนี้ปตท. กำลังเร่งดำเนินการซ่อมแซมท่อส่งก๊าซธรรมชาติที่เชื่อมมาจากแหล่งบงกชให้ แล้วเสร็จ ซึ่งต้องใช้เวลาเพราะรอสั่งอุปกรณ์ใหม่จากต่างประเทศ ขณะเดียวกันปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากท่อรั่ว แต่เกิดสึกกร่อนของท่อก๊าซที่อยู่ใต้ผิวซีเมนต์ที่เคลือบไว้ป้องกันไฟไหม้ ซึ่งถือเป็นจุดบอดของการตรวจสอบ เพราะเป็นเทคโนโลยีของผู้รับเหมาที่ใช้มาตั้งแต่เริ่มต้นเมื่อ 14 ปีที่แล้ว
โพสต์ทูเดย์ วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2552