ดร.นัวลีน เฮย์เซอร์ เลขาธิการ UNESCAP ระบุว่า แผนกระตุ้นเศรษฐกิจและการเงินจำนวนเงินมหาศาลเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตการเงินยังสามารถนำมาใช้ให้เกิดผลในด้านที่ดีเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเพื่อสร้างประโยชน์กับการพัฒนาที่หลากหลายสาขามากยิ่งขึ้นได้ด้วย เช่น ในการทำงานของ เอสแค็ปที่ทำร่วมกับประเทศในภูมิภาคนี้ ตามแผนแก้ไขปัญหา 64/3 เรื่องส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานและการพัฒนาอย่าง ยั่งยืนในเอเชีย-แปซิฟิก
ขณะเดียวกันต้องยอมรับว่า การตั้งเป้าหมายการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอกับ สถานการณ์ในปัจจุบัน
ดังนั้นในรายงานดังกล่าวจึงได้กล่าวถึงความจำเป็นของการนำผลข้อตกลงมาปฏิบัติใช้ ด้วยการลงทุนขนาดใหญ่ ในโครงการใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อลดการปล่อยก๊าซ ซึ่งจะเป็นรูปแบบการทำงานที่เน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการใช้ทรัพยากรด้านพลังงานครั้งใหญ่
รวมทั้งการลดอุปสรรคด้านการถ่ายโอนเทคโนโลยี หรือข้อจำกัดจากการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็นอุปสรรคการขยายการใช้เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน
โดยปัจจุบันประเทศที่มีรายได้สูงกลับเป็นผู้ถือครองสิทธิบัตรเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนไว้มาก ขณะที่ประเทศรายได้น้อยกลับมีผลในทางตรงข้าม
ในรายงานจึงมีข้อเสนอให้มีการแบ่งปันสิทธิในการใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการลดภาวะโลกร้อน หรืออาจใช้ข้อยืดหยุ่นใน ข้อตกลงทริปส์ของ WTO เพื่อให้ประเทศ รายได้น้อยได้เข้าถึงการใช้เทคโนโลยี ลดโลกร้อนได้เพิ่มขึ้น เป็นต้น
นสพ. ประชาติธุรกิจ 7 / 9 /52