7 ต.ค. ที่หอศิลปะและวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหนคร ถนนพระราม1 มีการเสวนาเรื่อง "รวมพลคนร่วมฟ้อง คดีทวงคืนท่อก๊าซจาก ปตท."และเปิดให้ประชาชนร่วมลงชื่อมอบอำนาจให้ทนายความฟ้องศาลปกครองสูงสุดให้คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี กระทรวงพลังงาน บริษัท ปตท.และกระทรวงการคลังร่วมกันติดตามท่อก๊าซบนบกและในทะเลคืนกลับมาเป็นของรัฐ
ทั้งนี้เป็นทรัพย์สินที่มีมาก่อน 1 ต.ค. 2544 ทั้งหมด ท่อก๊าซเส้นที่3 ส่วนที่อยู่ในทะเลที่เริ่มดำเนินการปี2550 แต่วางท่อในทะเลก่อนแปรสภาพ ซึ่งมีหนังสือโต้ตอบระหว่างกระทรวงการคลังกับสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินมีมูลค่าประมาณ 47,664 ล้านบาท โดยเครือข่ายจะยื่นฟ้องศาลปกครองสูงสุดในวันที่ 15 ต.ค. เวลา 11.00 น.
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดชัดเจนว่าให้แบ่งทรัพย์สินกลับคืนมาเป็นของรัฐและให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบทรัพย์สิน โดย ปตท. คืนเงินให้ 1.6 หมื่นล้านบาททั้วๆที่ต้องคืน 5.2 หมื่นล้านบาท จึงยังไม่ครบมูลนิธิและเครือข่ายได้ยื่นฟ้องศาลปกครองสูงสุดเพื่อบังคับคดี แต่ศาลเห็นว่าไม่ใช่ผู้เสียหายเป็นเพียงผู้ร้องเท่านั้น
นางสาวสารีกล่าวว่า จากนั้นเครือข่ายได้ไปยื่นเรื่องที่กระทรวงการคลังและพลังงานเพื่อให้นำทรัพย์สินคืนมา แต่กลับไม่มีหน่วยงานไหนดำเนินการ และต่อมามา ปตท.เอาท่อที่ต้องคืนตามคำพิพากษาไปตีมูลค่าใหม่เพื่อหาประโยชน์จากกานให้เช่า ทำให้ผู้บริโภคต้องเสียค่าใช้ค่าไฟฟ่าแพงขึ้น หลังจากจัดเวทีเสวนาไป10 ครั้ง จึงได้ตัดสินใจเดินหน้าบังคับคดีเพื่อเอาทรัพย์สินกลีบคืนมา
"เงินเหล่านี้ควรนำมาเป็นเงินเพื่อกิจการสาธารณะ เบี้ยบำนาญประชาชน ไม่ควรตกไปเป็นของคนไม่กี่คน" นางสาวสารีกล่าว
ด้าน น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.สรรหา และประธานคณะอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาล กล่าวว่า แม้ศาลจะบอกว่าการแปรรูป ปตท.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ก็มีกฎหมายกำกับกิจการด้านพลังงานออกมาบังคับใช้แล้วก่อนศาลตัดสินเพียง 4 วันในเดือนธันวาคม2550 และขณะนั้นมีกระแสการต่อสู้ทางสังคมว่าหากศาลเพิกถอนการแปรรูปเหมือนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตรัฐจะต้องจ่ายเงินสามถึงสี่แสนล้านบาท สังคมเกิดอาการอ่อนไหว เมื่อเกิดรัฐประหารกฎหมายกำกับกิจการพลังงานที่มีกว่า 100มาตรา ก็ผ่านการพิจารณาในเวลาเพียงสามเดือน หากดป็นช่วงปกติไม่มีทางที่กฎหมายที่มากว่า100 มาตราจะผ่านการพิจารณาได้ภายในเวลา3 เดือน
ทั้งนี้ศาลเห็นว่าการที่รัฐบาลออกพรบ.กำกับกิจการพลังงานสามารถเยียวยาความเสียหายได้ โดยศาลแยกทรัพย์สินก่อนที่จะมีการออกกฎหมายกำกับกิจการพลังงานออกมาประกอบด้วย 1.ทรัพย์สินสาธารณะ 2.สิทธิการใช้ที่ดิน และ3.ปตท.ไม่สามารถใช้อำนาจมหาชนได้อีกต่อไป แต่ ปตท.คืนทรัพย์สินที่อยู่บนบกเท่านั่น แต่ในทะเลกลับไม่คืนให้รัฐ ซึ่งสตง.ตรวจพบว่ามีมูลค่าทางบัญชี 5.2 หมื่นล้านบาท
"เรื่องนี้เป็นการคอรัปชั่นทางนโยบายอย่างมโหฬาร ปล้นกลางแดด ตีทรัพย์สินในราคาถูกแล้วนำไปให้เช่าในราคาที่แพง" น.ส.รสนากล่าว
น.ส.รสนากล่าวจนถึงขณะนี้ไม่มีใครติดคุก เพราะไม่ได้ดำเนินการส่งทรัพย์สินคืน ปตท.อ้างคำว่าศาลรับทราบว่าคืนทรัพย์สินแล้ว แต่ความจริงคืนไม่ครบ และอย่าไปสนใจเรื่องตัวเงิน เพราะเราต้องการท่อก๊าซคืนทั้งระบบ และขณะนี้ทรัพย์สินมีมูลค่า1.2 แสนล้านบาทไปตกอยู่ในมือเอกชนแบบผูกขาดและส่อขัดรัฐธรรมนูญที่รัฐต้องคุ้มครองผู้บริโภค
ด้านนางสาวบุญยืน ศิริธรรม ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค กล่าวว่า ปตท.ไม่รับผิดชอบต้นทุน เพราะรัฐจ่ายให้ทั้งหมด เมื่อมีความผันแปรก็ปรับเปลี่ยนค่าเอฟทีทำให้ประชาชนจ่ายค่าไฟแพงขึ้น รัฐบอกเราว่ามีพลีงงานน้อยต้องประหยัด แล้วทำไมต้องอนุญาตให้มีการส่งออก อนุญาตให้เอกชนต่างชาติเข้ามาขุดพลังงานแล้วแบ่งส่วนแบ่งให้ประเทศน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ
{gallery}action/energy/551007_energy-gas/{/gallery}