ร่วมเปิดปฏิบัติการประชาชน ทวงคืนท่อก๊าซจาก ปตท.

ร่วมฟ้องคดี ทวงคืนท่อก๊าซจาก ปตท. กับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายประชาชนผู้รักความเป็นธรรม เริ่มตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม 2555  ยื่นฟ้องศาลปกครองวันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม 2555

ทำไมเราต้องฟ้องคดีทวงคืนระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ

1.เหตุที่ต้องฟ้องคดี

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2550 ศาลปกครองกลาง ได้มีคำตัดสินในคดีที่ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  นางสาวรสนา  โตสิตระกูล  นางสาวสายรุ้ง  ทองปลอน  นางภินันทน์  โชติรสเศรณี และนางสาวบุญยืน  ศิริธรรม  ได้ยื่นฟ้อง คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน  และ บริษัท ปตท จำกัด(มหาชน) ต่อศาลปกครองสูงสุดและขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2544 และพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่ง ประเทศไทย พ.ศ. 2544 ซึ่งเกี่ยวกับการแปลงสภาพการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเป็นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542

 

ในวันนั้นศาลปกครองกลางพิพากษาว่า “ให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ ร่วมกันกระทำการแบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน  สิทธิการใช้ที่ดินเพื่อวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ รวมทั้งแยกอำนาจและสิทธิในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชนของรัฐออกจากอำนาจและสิทธิ ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4  ทั้งนี้ ให้เสร็จสิ้นก่อนการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550  ส่วนคำขอตามคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีทั้งห้า ที่ขอให้เพิกถอนพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 และพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่ง ประเทศไทย พ.ศ.2544 นั้นให้ยก”

แม้ว่าคำพิพากษาจะส่งผลให้บมจ.ปตท ไม่ถูกเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่จะต้องโอนคืนที่ดินและระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติที่มีการก่อสร้างขึ้นก่อน การแปรรูป ปตท. เมื่อปลายปี 2544 ให้กับกระทรวงการคลัง โดยยังมีสิทธิในการใช้ท่อส่งก๊าซแต่ต้องจ่ายค่าตอบแทนเป็นรายได้แผ่นดินตาม ที่กระทรวงการคลังกำหนด หลังศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาได้ 4 วัน คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ 18 ธันวาคม 2550 ให้กระทรวงพลังงานและกระทรวงการคลัง ดำเนินการเรียกคืนทรัพย์สินจาก บมจ.ปตท. โดยให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ตรวจสอบความถูกต้อง และให้คณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นผู้ชี้ขาดข้อโต้แย้งที่หากจะมีขึ้น

ต่อมา บมจ.ปตท. ได้ทำการโอนมอบทรัพย์สินให้กระทรวงการคลังมีมูลค่าประมาณ 15,139 ล้านบาท ประกอบไปด้วยที่ดินที่การปิโตรเลียมฯ ได้มาโดยการใช้อำนาจเวรคืนและได้โอนให้กับ บมจ. ปตท. จำนวน 32 ไร่ มูลค่า 7 ล้านบาท, สิทธิเหนือที่ดินเอกชนมูลค่า 1,124 ล้านบาทและทรัพย์สินที่เป็นท่อส่งก๊าซธรรมชาติและอุปกรณ์ที่ประกอบกันเป็น ระบบขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ ส่วนที่เป็นท่อก๊าซเส้นที่ 1 และ 2 เฉพาะส่วนที่อยู่บนบก มูลค่า 14,008 ล้านบาท ส่วนท่อเส้น 1 และ 2 ที่อยู่ใต้น้ำ (บริเวณอ่าวไทย) และท่อเส้นที่ 3 ทั้งบนบกและในน้ำไม่ยอมโอนคืนให้ก็ให้สิทธิ ปตท. ได้ใช้ท่อต่อไปโดยคิดค่าเช่าท่อก๊าซทั้งหมด 30 ปี จำนวน 8,800 ล้านบาท ให้ทยอยจ่ายปีละ 200 กว่าล้านบาท

หลังการโอนคืนทรัพย์สิน บมจ.ปตท ได้รายงานต่อศาลปกครองว่าคืนทรัพย์สินครบถ้วนแล้ว ซึ่งศาลมีคำสั่งคำร้องว่า ผู้เกี่ยวข้องได้ดำเนินการคืนทรัพย์สินตามคำพิพากษาเรียบร้อยแล้ว เมื่อ 26 ธ.ค.2551 แต่ สตง.มีรายงานว่า คืนทรัพย์สินไม่ครบถ้วน เพราะ บมจ.ปตท.ต้องคืน ระบบท่อก๊าซที่สร้างก่อนการแปรรูปทั้งหมด แต่ บมจ.ปตท.คืนให้บางส่วนเฉพาะ 3 โครงการที่กล่าวถึงในคำพิพากษาเท่านั้น แต่กระทรวงการคลังในฐานะผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินกลับไม่พยายามติดตามทวงคืน เลย และอ้างแต่คำสั่งศาลปกครองที่ออกมาเมื่อวันที่ 26 ธ.ค.2551 ว่าได้มีการส่งคืนทรัพย์สินครบถ้วนแล้ว และยอมไม่ส่งเรื่องให้กฤษฎีกา ขณะที่กฤษฎีกาเองก็แจ้งว่าต้องให้ศาลชี้ขาด จึงเท่ากับว่า กระทรวงการคลังซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของรัฐไม่ปฏิบัติหน้าที่ และไม่มีทางอื่นจึงต้องให้ศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าพนักงานปฏิบัติ

 

2. ใครสามารถเป็นผู้ฟ้องคดีได้บ้าง
ผู้ริเริ่มฟ้องคดีนี้คือ  1. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค   2. น.ส.รสนา โตสิตระกูล 3.น.ส.สารี  อ๋องสมหวัง(เป็นผู้ฟ้องในคดีขอให้เพิกถอนการแปรรูป ปตท.) ทั้งนี้ ประชาชนในฐานะผู้ใช้ไฟฟ้าและใช้ก๊าซมีสิทธิในการฟ้องคดีได้ ซึ่งสิทธิในการฟ้องคดีนี้คือ (1) เป็นคดีเกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะ  และ(2) เป็นผู้ใช้ก๊าซ ใช้ไฟฟ้า ที่ต้องเสียค่าผ่านท่อทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านทางค่าก๊าซและค่าไฟฟ้า

 

3. เราจะฟ้องกับใคร
เราจะฟ้องกับศาลปกครองกลาง โดยกำหนดนัดหมายยื่นฟ้องในวันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2555 เวลาประมาณ 11.00 น.

 

4. เราจะฟ้องใคร
ผู้ถูกฟ้องประกอบด้วย 1. คณะรัฐมนตรี  2. นายกรัฐมนตรี  3. กระทรวงพลังงาน 4. บมจ.ปตท.  และ 5. กระทรวงการคลัง

 

5. เราฟ้องเพื่ออะไร
เราฟ้องเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องทั้งหมดร่วมกันดำเนินการ ติดตามท่อก๊าซบนบก และในทะเล ที่มีก่อน 1 ตุลาคม 2544 ทั้งหมด + ท่อก๊าซเส้นที่ 3 ส่วนที่อยู่ในทะเล (เริ่มดำเนินการปี 2550 แต่วางท่อในทะเลก่อนการแปรสภาพ) เพราะมีหนังสือโต้ตอบระหว่างกระทรวงการคลัง กับ สตง. กล่าวถึง มูลค่าประมาณ 47,664 ล้านบาท

6. หากเราไม่ฟ้อง จะมีความเสียหายอย่างไร
(1) รัฐขาดรายได้ จากค่าผ่านท่อก๊าซที่ บจม.ปตท.ได้รับประมาณปีละประมาณ 23,000 ล้านบาท แต่รัฐได้ค่าเช่าเท่าส่วนที่ บมจ.ปตท คืนเพียง 180-550 ล้านบาทต่อปีเท่านั้น

(2) บมจ.ปตท.ผูกขาดการค้าก๊าซธรรมชาติทำให้ไม่เกิดการกลไกตลาด ผู้บริโภคจึงต้องใช้ก๊าซในราคาที่ไม่มีการแข่งขัน  รัฐบาลขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 84 (5)

(3) บมจ.ปตท. ได้โอกาสที่จะประเมินมูลค่าท่อก๊าซใหม่แล้วขึ้นราคาค่าผ่านท่อโดยไม่เป็น ธรรมกับผู้บริโภค ทั้งๆที่ไม่ได้ลงทุนเอง (เพราะสร้างสมัยเป็น ปตท.ใช้เงินภาษีสร้าง)

 

สาระสำคัญการฟ้องคดีทวงคืนระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ 

ผู้ฟ้องคดี หรือ ผู้มีสิทธิฟ้องคดีปกครอง

1. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค   2. น.ส.รสนา โตสิตระกูล และผู้ใช้ไฟฟ้าและใช้ก๊าซ  สิทธิในการฟ้องคดีคือ

(1) เป็นคดีเกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะ

(2) เป็นผู้ใช้ก๊าซ ใช้ไฟฟ้า ที่ต้องเสียค่าผ่านท่อทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านทางค่าก๊าซและค่าไฟฟ้า

ผู้ถูกฟ้อง

1. คณะรัฐมนตรี  2. นายกรัฐมนตรี  3. กระทรวงพลังงาน 4. บมจ.ปตท.  5. กระทรวงการคลัง

เหตุที่ฟ้อง

มติ ครม.18 ธ.ค.2550 ให้กระทรวงพลังงานและกระทรวงการคลัง ดำเนินการเรียกคืนทรัพย์สิน ให้ สตง.ตรวจสอบความถูกต้อง ให้ คณะกรรมการกฤษฎีกา(กฤษฎีกา) ชี้ขาดข้อโต้แย้ง บมจ.ปตท.รายงานศาลว่าคืนทรัพย์สินครบถ้วนแล้ว ศาลมีคำสั่งคำร้องว่า ผู้เกี่ยวข้องได้ดำเนินการคืนทรัพย์สินตามคำพิพากษาเรียบร้อยแล้ว เมื่อ 26 ธ.ค.2551 แต่ สตง.มีรายงานว่า คืนทรัพย์สินไม่ครบถ้วน เพราะ บมจ.ปตท.ต้องคืน ระบบท่อก๊าซที่สร้างก่อนการแปรรูปทั้งหมด แต่ บมจ.ปตท.คืนให้บางส่วนเฉพาะ 3 โครงการที่กล่าวถึงในคำพิพากษา แต่กระทรวงการคลัง ไม่ติดตามทวงคืน เพราะอ้างคำสั่งศาลวันที่ 26 ธ.ค.2551 และไม่ส่งเรื่องให้กฤษฎีกา ขณะที่กฤษฎีกาแจ้งว่าต้องให้ศาลชี้ขาด จึงเท่ากับว่า เจ้าพนักงานรัฐไม่ปฏิบัติหน้าที่และไม่มีทางอื่นจึงต้องให้ศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าพนักงานปฏิบัติ

ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่ง

ให้ผู้ถูกฟ้องทั้งหมดร่วมกันดำเนินการติดตามท่อก๊าซบนบก และในทะเล ที่มีก่อน 1 ตุลาคม 2544 ทั้งหมด + ท่อก๊าซเส้นที่ 3 ส่วนที่อยู่ในทะเล (เริ่มดำเนินการปี 2550 แต่วางท่อในทะเลก่อนการแปรสภาพ) เพราะมีหนังสือโต้ตอบระหว่างกระทรวงการคลัง กับ สตง. กล่าวถึง

คำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีแดงที่ ฟ.35/2550 และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (คดีฟ้องยกเลิกการแปรรูป ปตท.)

(1) ระบบท่อก๊าซเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินเพราะ

(1.1)ได้มาด้วยอำนาจมหาชนตาม ม.30 แห่ง พรบ.ปิโตรเลียม 2521 (1.2) ใช้เงินของ ปตท.ในการให้ได้มา

 

(2) ท่อก๊าซมีลักษณะติดตรึงตราถาวรกับที่ดิน เป็นอสังหาริมทรัพย์                                                  (3) นิยาม"ระบบท่อก๊าซ" = ระบบที่ใช้ในการรับส่งก๊าซจากแหล่งผลิตก๊าซ หรือจุดจ่ายก๊าซจนถึงระบบจำหน่ายก๊าซ.......=ต้องคืนทั้งหมด                                                  .

(4) ระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อเป็นทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งบังคับคดี + ทรัพย์สินของรัฐบาลไม่อาจถูกยึดหรือบังคับคดี = ระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลจึงไม่ถูกบังคับคดี

ความเสียหายที่รัฐและคนไทยได้รับจากการไม่คืนท่อก๊าซ

(1) รัฐขาดรายได้ จากค่าผ่านท่อที่ บจม.ปตท.ได้รับประมาณปีละประมาณ 23,000 ล้านบาท แต่รัฐได้ค่าเช่าเท่าส่วนที่ บมจ.ปตท คืนเพียง 180-550 ล้านบาทต่อปี

(2) บมจ.ปตท.ผูกขาดการค้าก๊าซธรรมชาติทำให้ไม่เกิดการกลไกตลาด ผู้บริโภคจึงต้องใช้ก๊าซในราคาที่ไม่มีการแข่งขัน  รัฐบาลขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 84 (5)

(3) ประเมินมูลค่าท่อก๋าซใหม่แล้วขึ้นราคาค่าผ่านท่อโดยไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค ทั้งๆที่ไม่ได้ลงทุนเอง (เพราะสร้างสมัยเป็น ปตท.ใช้เงินภาษีสร้าง)

 

{xtypo_rounded3}วิธีการร่วมฟ้องคดี
1.ลงนามมอบอำนาจให้ทนายความผู้ทำคดีในหนังสือมอบอำนาจฟ้องคดีพร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชน พร้อมลายมือชื่อ


2.ติดอากรแสตมป์ราคา 30 บาท (ไม่แน่ใจว่าเป็นแบบไหนอย่าเพิ่งซื้อให้ดูรูปประกอบ ถ้า กรุงเทพและปริมณฑล สามารถซื้อได้ที่ สำนักงานเขตและสรรพากรเขต ทุกแห่ง  ส่วนต่างจังหวัดซื้อได้ที่ ที่ว่าการอำเภอหรือสรรพากร ) ให้แปะในที่ว่างด้านล่างของหนังสือมอบอำนาจ

3.ส่งเอกสารใบมอบอำนาจและสำเนาบัตรประชาชนให้ทีมงานทนายความอาสา ผู้ฟ้องคดี ทางไปรณษณีย์ได้ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เลขที่ 4/2 ซ.วัฒนโยธิน แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 (ฟ้องคดีทวงคืนท่อก๊าซ)

4.ร่วมแสดงพลังความเดือดร้อนของ ประชาชน ยื่นฟ้องที่ศาลปกครอง ถ.แจ้งวัฒนะ วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม 2555 เวลา 10.00 น. (หากไม่สะดวก ไม่ต้องมาก็ได้ เพราะถือว่าได้มอบอำนาจแล้ว แต่ถ้ามาด้วยได้ก็จะเยี่ยมมากๆ){/xtypo_rounded3}

รวบรวมรายชื่อผู้ร่วมฟ้องจนถึงวันที่ 14 ตุลาคม 2555 เท่านั้น อย่าพลาด ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์สานต่ออุดมการณ์ประชาธิปไตย 14 ตุลาคม 2516 

{xtypo_warning}"หยุดอำนาจเผด็จการทุกรูปแบบ หยุดระบบผูกขาดทุนนิยมสามานย์"{/xtypo_warning}

 {xtypo_sticky}สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  อิฐบูรณ์  อ้นวงษา 089-4552710{/xtypo_sticky}

จำนวนผู้เข้าชม = {hits}2488{/hits} ครั้ง

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน