‘ ธีระชัย ’ ชี้เปิดช่องตัวแทนผู้บริโภคกำกับดูแล-แนะสัมปทานรอบที่ 21 ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ หากการคลังของประเทศเสียหาย ประชาชนอาจร้อง ป.ป.ช.ตรวจสอบ

Therachai
วานนี้ (1 ก.พ./ที่มหาวิทยาลัยรังสิต) ศูนย์วิจัยนโยบายพลังงานและทรัพยากร มหาวิทยาลัยรังสิต (ศวพท.) ได้จัดงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2558

เพื่อเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะ ภายในงานได้มีการเสวนาในหัวข้อเรื่อง “สืบสารพระราชปณิธาน การจัดการทรัพยากรเพื่อประเทศไทย” โดย นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ดร.กมก กมลตระกูล อนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดร.ณรงค์ โชควัฒนา นักธุรกิจและนักวิชาการอิสระ ดร.นพ.สัตยาศัย วิศวกรอาวุโสและประธานชมรมจามจุรีเพื่อปฏิรูปประเทศไทย มีผู้เข้าร่วมเวทีกว่าพันคน

นายธีระชัย กล่าวปาฐกถาว่า หลักในการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดีของทุกประเทศต้องมี 3 ดี คือ 1.ต้องมีกระบวนการคัดเลือกคนเข้ามาหาประโยชน์ทำธุรกิจในทรัพยากรนั้น 2.ทรัพยากรที่นำขึ้นมาใช้ต้องเป็นธรรมกับประชาชน ไม่ผูกขาดบริษัทใดบริษัทหนึ่ง และ 3.การกำกับดูแลให้ตัวแทนภาคประชาชนเข้ามากำกับการแบ่งปันผลประโยชน์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมของประชาชน นอกจากนี้ยังต้องยกเลิกระบบภาษีแบบตายตัวเปลี่ยนมาใช้ระบบการเสียภาษีแบบขั้นบันได เพื่อประโยชน์ของประเทศ

นายธีระชัย เน้นย้ำว่า ความยุติธรรมไม่ได้อยู่ภายใต้กฎอัยการศึก หากกระทรวงพลังงานเดินหน้าเป็นผลให้การคลังของประเทศเสียหาย ประชาชนอาจร้องให้ ป.ป.ช.ตรวจสอบได้ และหวังว่ากระทรวงพลังงานจะพิจารณาการเปิดสัมปทานรอบที่ 21 อย่างรอบคอบ

“ความยุติธรรมไม่ได้อยู่ภายใต้กฎอัยการศึก หากมีการประกาศยกเลิก เชื่อว่าประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนต้องออกมาเรียกร้องความยุติธรรม มั่นใจว่าถ้าหากว่ากระทรวงพลังงานเดินหน้าแล้วมีผลให้การคลังของประเทศเสียหาย ผมต้องแจ้งข้อสังเกตนี้ไปให้ ป.ป.ช.และมั่นใจว่าประชาชนจะดำเนินการคล้ายกัน แล้วกฎอัยการศึกหายไปเมื่อไหร่ประชาชนก็อาจจะเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องชดใช้” นายธีระชัย กล่าว

ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ผอ.ศวพท. เผยการได้ศึกษาทั้งไทยและต่างประเทศพบว่า นโยบายการบริหารจัดการเพื่อนำทรัพยากรของชาติมาใช้ประโยชน์นั้น รัฐต้องตระหนักถึงการรักษากรรมสิทธิ์เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินเป็นอันดับแรก เพราะความมั่นคงทางพลังงานที่แท้จริงต้องต้องเป็นของรัฐและเป็นไปตามหลักสากลที่นานาประเทศใช้กันอย่างแพร่หลายเฉพาะในกลุ่มอาเซียน ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นครั้งแรกที่ไทยพบน้ำมันดิบ รัฐบาลน้อมนำพระบรมราโชบายการจัดการทรัพยากรของกษัตริย์มาใช้ เพื่อความมั่นคงของชาติมากกว่าวัตถุประสงค์

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน